อธิบดีกรมควบคุมโรค ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ศุกร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๓๐
นายแพทย์เจษฏา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค ลงพื้นที่ประสบอุทกภัย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างขวัญและกำลังใจ แก่เจ้าหน้าที่ โดยตรวจเยี่ยมสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมโรงเรียนเสมาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนายแพทย์บัญชา ค้าของ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช นายพงศ์สินธุ์ เสนพงค์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครศรีธรรมราช นายชิษณุพงศ์ สุวรรณ รองปลัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราชและคณะ เป็นผู้รับการตรวจเยี่ยม และได้สนับสนุนรองเท้าบู้ท ยาทากันยุง ยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา ให้แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และประชาชนศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมโรงเรียนเสมาเมือง

นพ.เจษฎา กล่าวว่า จากภาวะอุทกภัยทำให้ประชาชนแช่น้ำ และต้องอพยพมาที่ศูนย์พักพิงหลายๆพื้นที่ จึงควรระมัดระวังตนเองและเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพทีมากับน้ำท่วม ระวังเรื่องไฟฟ้าดูด สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและส่งโรงพยาบาลทันท่วงที ระวังโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ แนะนำกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ทั้งนี้หลังจากน้ำท่วมจะทำให้มียุงตามมา ซึ่งต้องเฝ้าระวังและรณรงค์โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ โรคปวดข้อยุงลาย โดยใช้การรงค์ 3 เก็บคือ เก็บบ้านให้สะอาดไม่ให้ยุงเกาะพัก เก็บขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และเก็บน้ำ ไม่ให้ยุงวางไข่ทำติดต่อทุกสัปดาห์ตลอดทั้งปี และให้ป้องกันตนเอง อย่าแช่น้ำนาน อาจทำให้น้ำกัดเท้า ซึ่งเสี่ยงกับโรคเลปโตสไปโรซิส

แพทย์หญิงศิริลักษณ์ ไทยเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช เผย สถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 1-6 ธันวาคม 2559 ในพื้นที่เขต11 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ชุมพร และระนอง รวม 46 อำเภอ 302 ตำบล 2,192 หมู่บ้าน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 4 ราย และจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 ราย ซึ่งสาเหตุเกิดจากการจมน้ำ พลัดตกน้ำ และออกหาปลากลางทะเล ทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เตรียมความพร้อมรับอุทกภัย ทั้งระยะก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ โดยมีทีม เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์โรค และพยากรณ์อากาศ เตรียมทีมปฏิบัติการสอบสวน และควบคุมโรค สำรอง ยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา และได้มีการสื่อสารความเสี่ยง ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพที่มากับ น้ำท่วม และหลังน้ำลด ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ทั้งสื่อออนไลน์ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสนับสนุนแผ่นพับให้กับเครือข่ายประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ