IRM เผยถึงเวลาผู้ซื้อบ้านจัดสรรตาสว่างเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร

จันทร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๘
IRMเผยถึงเวลาผู้ซื้อบ้านจัดสรรตาสว่างเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร เผยมาตรา 4 เปิดทางผู้ที่ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ร่วมประชุมคัดเลือกกรรมการ

อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์(IRM) เผยถึงเวลาผู้ซื้อบ้านจัดสรรตาสว่าง ชี้กฎหมายจัดสรรมาตรา 4ระบุชัดเจน"ผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินแม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์สามารถร่วมประชุมและเลือกกรรมการ"แต่ภาครัฐและเอกชนยังไม่เข้าใจกฎหมาย ทำให้ผู้ซื้อบ้านจัดสรรที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เสียโอกาสร่วมประชุมจัดตั้งนิติบุคคล

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่าหลังจากที่มีธุรกิจบ้านจัดสรรเกิดขึ้นได้มีการนำเอาประกาศคณะปฏิวัติเข้ามาควบคุมการดำเนินธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ได้ระบุเฉพาะบทบาทของผู้จัดสรรว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร แต่ไม่ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ซื้ออย่างชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเรียกร้องสิทธิในกรณีที่ผู้จัดสรรไม่ทำตามสัญญาและไม่ดูแลสาธารณูปโภค แต่หลังจากมีพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินปี 2543 และปี 2558-2559 โดยกฏหมายฉบับนี้อยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน ซึ่งแต่งตั้งโดยภาครัฐเพื่อทำหน้าที่พิจารณากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายกล่าวคือเมื่อผู้จัดสรรสร้างบ้านและทำการขายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50% ของจำนวนแปลงทั้งหมด ซึ่งกฎหมายระบุเบื้องต้นว่าผู้จัดสรรจะต้องดูแลสาธารณูปโภคอย่างน้อย 1 ปีนับจากก่อสร้างเสร็จหากต้องการจะพ้นจากการหน้าที่ดูแลจะต้องจัดให้ลูกบ้านมีการประชุมใหญ่เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรและรับโอนสาธารณูปโภคมาดูแลเอง โดยผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมจะต้องเป็นไปตามมาตรา 4 คือทั้งผู้ซื้อที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วและผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้จัดสรร

แต่ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ร่วมประชุมใหญ่เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร ทั้งที่มาตรา 4 ระบุชัดเจนว่า "ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรคือผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินจัดสรร แม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้" แต่ปัญหานี้ทั้งภาครัฐและเอกชนยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงคิดว่าเฉพาะผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น จึงทำให้ผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายแต่ยังไม่ได้โอนเสียสิทธิไปด้วย

นายธนันทร์เอกให้ความเห็นว่า ผู้ซื้อบ้านจัดสรรที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วไม่เข้าร่วมประชุม จะเสียโอกาสที่จะรับรู้ว่าโครงการจัดทำสาธารณูปโภคไว้ครบถ้วนหรือไม่ เพราะบางโครงการอาจจะโฆษณาไว้อย่างหนึ่งแต่ทำไม่เป็นไปตามโฆษณาไว้ที่สำคัญยังเสียประโยชน์ไม่มีโอกาสได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการชุดเฉพาะกาลเพื่อตรวจสอบสาธารณูปโภคที่ทำแล้วสมบูรณ์หรือไม่ รวมทั้งอาจหมดสิทธิ์ในการเลือกตั้งคณะกรรมการในครั้งต่อไป และหากมีการประชุมใหญ่ในอนาคตเพื่อจัดเก็บค่าใช้จ่าย ก็จะไม่มีสิทธิ์ร่วมพิจารณาและแสดงความคิดเห็นได้เลย เพราะทุกคนยังเข้าใจผิดว่าอยู่ในประเภทผู้จะซื้อจะขายยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 23 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version