กสร. เร่งสอบเหตุอาคารย่านสุขุมวิททรุดทับคนงานเสียชีวิต เตรียมเอาผิดนายจ้างทันที หากฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัย

จันทร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๑๕
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลงพื้นที่สอบกรณีอาคารที่กำลังรื้อถอนทรุดตัวทับคนงานเสียชีวิต บาดเจ็บและติดอยู่ในอาคาร เร่งสอบนายจ้าง หากพบฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานจะดำเนินดคี ขั้นสูงสุดทันที

นายสุวิทยา จันทวงศ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงเหตุอาคารย่านสุขุมวิททรุดตัวทับคนงานบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อเวลา 9.20 น. วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ว่า อาคารดังกล่าวตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 87 ซึ่งเป็นอาคาร 8 ชั้น ซึ่งจากเดิมเป็นอาคารจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิ และกำลังรื้อถอนเพื่อเตรียมพัฒนาเป็นคอนโดมีเนียม โดยมีบริษัท ไทยยานต์เซลล์แอนด์เซอร์วิส จำกัด เป็นผู้ยื่นขอรื้อถอนอาคารกับกองควบคุมอาคาร สำนักงานโยธา กรุงเทพฯ ขณะเกิดเหตุมีคนงานทำงาน 7 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 2 คน จากการรื้อถอนอาคารดังกล่าวมีการใช้รถแบ็คโฮ ขึ้นไปเจาะอาคารชั้นบน ซึ่งคาดว่ามีแรงสั่นสะเทือนและรื้อถอนผิดขั้นตอน จนเป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย ส่วนหัวหน้างานอีก 1 คน ไม่พบในที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กสร. ได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครเขต 8 และศูนย์ความปลอดภัยในการทำงาน เขต 12 ลงพื้นที่ตรวจสอบทันที และได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาสำนักงานเขตพระโขนงได้แจ้งให้ระงับการรื้อถอนอาคารดังกล่าวเนื่องจากมีการจัดทำมาตรการป้องกันวัสดุ และฝุ่นละอองไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่อยู่ ในสภาพใช้งานได้ดี และสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้พักอาศัยข้างเคียง ตลอดจนประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา และได้กำหนดให้จัดทำมาตรการป้องกันวัสดุและฝุ่นละอองให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน

รองอธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีกฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ เหตุดังกล่าว ดังนี้ กฎกระทรวงฯเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าด้วยเรื่องการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคาร และนายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรกำหนดขั้นตอน วิธีการ และควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้างให้ปลอดภัย ตลอดจนต้องทำการอบรมชี้แจงให้ทราบก่อนการปฏิบัติงานด้วย นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 14 นายจ้างต้องแจ้งอันตรายให้ลูกจ้างทราบก่อนทำงาน และมาตรา 16 นายจ้างต้องจัดการอบรม ให้ลูกจ้างในเรื่อง ความปลอดภัย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กำลังเร่งสอบข้อเท็จจริง และหากพบความผิด นายจ้างจะมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกสร. จะดำเนินการโดยเร็วที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ