มรภ.สงขลา ถกเมืองประวัติศาสตร์สงขลาสู่มรดกโลก

อังคาร ๒๗ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๒๑
มรภ.สงขลา ระดมนักวิชาการร่วมสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลา เตรียมพร้อมข้อมูลขอขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก หวังเยาวชนรุ่นหลังช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรม

นายบรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงงานสัมมนาประวัติศาสตร์สงขลาสู่มรดกโลก ครั้งที่ 1 ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มรภ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของสงขลา ทำให้เห็นถึงคุณค่าและความเจริญรุ่งเรืองของมรดกและวัฒนธรรม ประกอบกับ จ.สงขลา ต้องการผลักดันชุมชนเมืองเก่าเข้าสู่การเป็นเมืองมรดกโลก โดยมีภาคีคนรักเมืองสงขลาเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นพันธมิตรขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ประกอบด้วย เทศบาลนครสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยทักษิณ มรภ.สงขลา รร.มหาวชิราวุธ และสมาคมอิโคโมสไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมืองสงขลาตั้งแต่ยุคโบราณคดีถึงยุคประวัติศาสตร์ สำหรับจัดทำข้อมูลประกอบการขอขึ้นทะเบียนเมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกโลก ตลอดจนเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองสงขลา อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์อีกทางหนึ่งด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา จึงได้จัดสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น

นายบรรจง กล่าวว่า ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อประชากรและกระแสวัฒนธรรมยุคโบราณบนคาบสมุทรมลายู วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ Emmanuel Guillon สถาบันภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก (INALCO Institut national des langues et des civilsations orientales) มหาวิทยาลัยปารีส ผู้เชี่ยวชาญด้านอารยธรรมโบราณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบรรยายพิเศษเรื่องเมืองท่าการค้าโบราณทางฝั่งตะวันออกที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสงขลา วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา นอกจากนั้น ยังมีการสัมมนาในหัวข้อ หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสงขลา ใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1. พลวัติทางสังคม-วัฒนธรรม ระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสงขลา 2. สงขลาในอนุกรมเวลามุมมองผ่านเอกสารโบราณ 3. สงขลาในสมัยประวัติศาสตร์ สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ 4. กายภาพโบราณของสงขลาก่อนการก่อเกิดทรัพยากรและการตั้งชุมชน และ 5. การใช้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์เพื่อขอขึ้นทะเบียนสงขลาเป็นมรดกโลก

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า จากประวัติศาสตร์ สงขลาถือเป็นเมืองสำคัญของภาคใต้ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของสงขลาน่าจะเริ่มพัฒนาขึ้นบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยปรากฏหลักฐานชัดเจนเมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองเรื่อยมาจนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 18-19 โดยได้ค้นพบชุมชนโบราณกระจายอยู่หลายชุมชน ที่สำคัญมี 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนโบราณปะโอ ชุมชนโบราณสทิงพระ ชุมชนโบราณบริเวณเขาคูหา-เขาพะโคะ และชุมชนโบราณสีหยัง ประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาได้เริ่มขึ้นอย่างแท้จริงประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 สามารถแบ่งศูนย์กลางปกครองได้ 3 แห่ง โดยมีลำดับพัฒนาการ ได้แก่ เมืองสงขลาหัวเขาแดง (เมืองสิงขระ) เมืองสงขลาฝั่งแหลมสนและเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง ด้วยความสำคัญดังกล่าว มรภ.สงขลา จึงรวบรวมข้อมูลอันทรงคุณค่าเหล่านี้ไว้ เพื่ออนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรม ตลอดจนอาคารสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่จนถึงชนรุ่นหลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version