ออมสิน-ธรรมศาสตร์โมเดล เสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับวิถีไทย

อังคาร ๒๗ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๗
วันนี้ (27 ธันวาคม 2559) ณ หอประชุมเพชรรัตน ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ ธนาคารออมสิน (ออมสิน – ธรรมศาสตร์โมเดล) โดยมี นางสาวจิราพร นุกิจรังสรรค์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและบริหารศูนย์รังสิต ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

นางสาวจิราพร นุกิจรังสรรค์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจหลักของระบบเศรษฐกิจฐานราก ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตนักศึกษาที่กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ ได้นำความรู้มาบูรณาการกับองค์ความรู้และสภาพความจริงที่ธนาคารออมสินได้ดำเนินการมาช้านาน ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทยภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้แนวทางการสร้างเศรษฐกิจฐานรากชุมชนที่เข้มแข็ง ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องเข้มแข็งด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

สำหรับโครงการด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องการเสริมสร้างความรู้ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนา สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตลอดจนเพิ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันในชุมชน ซึ่งตลอดช่วงกิจกรรมที่ผ่านมาที่ธนาคารออมสินได้ร่วมกับมหาวทิยาลัยธรรมศาตร์ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ปรากฏว่าเกิดประโยชน์กับชุมชน จึงได้จัดทำแผนงานปี 2560 โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบ "ออมสิน-ธรรมศาสตร์โมเดล"

ทั้งนี้ ธนาคารฯ ได้คัดเลือกกลุ่มเข้าร่วมโครงการรวม 6 กลุ่ม ในพื้นที่ จ.นครปฐม และ จ.กาญจนบุรี ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากฟักข้าว อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม กลุ่มอาชีพแปรรูปข้าวสาร กลุ่มหัตถกรรมชุมชนตำบลพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี กลุ่มแม่บ้านบ้านทะกระดาน กลุ่มขนมบ้านทุ่งนา อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พร้อมนำนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโททางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 60 คน เพื่อให้ศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาองค์ความรู้ทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย จัดการด้านทรัพยากร รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และตราสินค้า พัฒนากระบวนการผลิต ทำแผนการเงิน และจัดทำบัญชี การวางแผนการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่ายโดยธนาคารออมสินสนับสนุนการจัดกิจกรรมกลุ่มละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 600,000 บาท

ขณะเดียวกัน กิจกรรมทั้งหมดนี้ จะทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถส่งเสริมองค์ความรู้นี้พร้อมๆ กับยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทุนของชุมชน จนก้าวสู่ความพร้อมที่จะแข่งขันเพื่อพัฒนา ที่สำคัญคือ องค์ความรู้ที่ได้สามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มองค์กรชุมชน เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเผยแพร่และขยายผลต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี