ทิศทางอนาคตข้าวไทย หลังคว้าแชมป์ World’s Best Rice 2016

พุธ ๒๘ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๑๔
ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และ ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ข้าวไทย ซึ่งจากการประกวด World's Best Rice 2016 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 จัดโดย The Rice Trader ข้าวหอมไทยครองแชมป์ชนะเลิศอันดับ 1

สำหรับการประกวดดังกล่าว มีข้าวจากหลากหลายประเทศส่งเข้าประกวดมากกว่า 50 ตัวอย่าง โดยการให้คะแนนจะพิจารณาจากความสวยและความสะอาดจากตัวอย่างข้าวที่ยังไม่ได้หุง ร่วมกับการพิจารณาจากข้าวที่หุงแล้วในด้านกลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่ม และรูปร่างลักษณะ ว่าอยู่ในระดับใดแล้วคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย โดยใช้วิธีตัดสินแบบการทดสอบด้วย Blind testing (คือไม่ให้กรรมการทราบว่าเป็นข้าวของประเทศใด) และจากการประกวดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าข้าวหอมไทย มีคู่แข่งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมจากประเทศพม่า กัมพูชา และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยได้รับรางวัลชนะเลิศเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การประกวดล่าสุดตัวแทนประเทศไทยที่ส่งข้าวหอมเข้าประกวดจึงต้องมีการปรับปรุง พัฒนา และเตรียมความพร้อมมากขึ้น โดยมีการพัฒนาคุณภาพข้าว สร้างไซโลเพื่อเก็บรักษาคุณภาพข้าว ความหอม และคัดเลือกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีจากแหล่งปลูกที่มีคุณภาพสูง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยสามารถเอาชนะคู่แข่งและได้รับรางวัลชนะเลิศอีกครั้งหนึ่ง

ตลอดกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิ อันดับ 1 ของโลกมาตลอด แต่ในระยะ 5 ปี มานี้ ข้าวหอมมะลิไทยเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับข้าวหอมที่หลายประเทศส่งเข้ามาแข่งขัน ทำให้ข้าวหอมในตลาดโลกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ซึ่งมีประเทศอินเดีย และปากีสถาน เป็นผู้ผลิตหลัก เป็นที่นิยมบริโภคอย่างมากในตลาดแถบเอเชียใต้และตะวันออกกลาง ส่วนข้าวหอมอีกกลุ่มหนึ่งถูกเรียกว่า ข้าวหอมมะลิ (Jasmine rice) มีแหล่งสำคัญเพาะปลูกอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน โดยปัจจุบัน มีประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญคือ ไทย เวียดนาม และกัมพูชา

สถานการณ์ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 1.4 ล้านตัน โดยในปี 2559 (มกราคม – ตุลาคม) ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิปริมาณ 1.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีปริมาณส่งออก 1.57 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 16% ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และแคนาดา ซึ่งไทยยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดข้าวเป็นอันดับหนึ่งในหลายประเทศ

นอกจากข้าวหอมมะลิ ประเทศไทยยังได้ปรับปรุงมาตรฐานข้าวไทยใหม่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับผู้บริโภค ในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพและส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดส่งออก โดยแยกเป็นมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยและข้าวหอมทั่วไป ประกอบด้วย ข้าวหอมจังหวัดและข้าวหอมปทุม ซึ่งในปี 2559 (มกราคม – ตุลาคม) พบว่า สัดส่วนการส่งออกข้าวเจ้าอื่นมีสัดส่วนมากที่สุด คือ 42% รองลงมาเป็นข้าวเจ้าขาว 5% ข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้าขาว 100% และข้าวหอมปทุม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ