3 สมาคมโรงงานน้ำตาล ชี้โอกาสดีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย หลังความต้องการบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่ม ดันราคาสูง ช่วยชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น

พฤหัส ๒๙ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๑๔
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ชี้เป็นจังหวะดีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย หลังพืชอ้อยขึ้นแท่นเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มราคาดีเมื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลทราย รับความต้องการซื้อน้ำตาลทรายในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกในหลายประเทศเริ่มดีขึ้น ดันแนวโน้มภาพรวมมีมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้าน มั่นใจชาวไร่อ้อยมีรายได้ที่มั่นคงจากการเพาะปลูก

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า กลุ่มอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยได้ประเมินถึงทิศทางราคาพืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น อ้อย มันสำปะหลังและยางพารา ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าหรือระหว่างปีการเพาะปลูก 2559-2561 พบว่า อ้อยจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่จะช่วยให้เกษตรกรชาวไร่มีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำตาลทรายที่ผลิตมาจากอ้อยในปีนี้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่สูง โดยมีราคาอยู่ที่ 18-20 เซนต์/ปอนด์ ซึ่งส่งผลให้เมื่อนำมาคำนวณเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 จะทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ปีนี้จึงจัดได้ว่าอ้อยเป็นพืชที่สร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ชาวไร่เมื่อเทียบกับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยราคาอ้อยขั้นต้นของฤดูการหีบอ้อยปี 2559/60 ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดราคาอยู่ที่ 1,050 บาทต่อตันอ้อย ที่ความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. ยกเว้นพื้นที่เพาะปลูกเขต 5 ที่กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นอยู่ที่ 980 บาทต่อตันอ้อย ซึ่งสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับราคาอ้อยขั้นต้นของฤดูหีบที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 808 บาทต่อตันอ้อย ส่วนพื้นที่เพาะปลูกเขต 5 ที่กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นในปีก่อนเพียง 773 บาทต่อตันอ้อย ซึ่งจากราคาอ้อยขั้นต้นดังกล่าว ถือเป็นราคาเหมาะสมที่จะทำให้ชาวไร่อ้อยมั่นใจได้ว่า จะมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพื่อจัดส่งให้แก่โรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้น

สำหรับแนวโน้มดังกล่าว 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย มองว่าปีการเพาะปลูกปีนี้ถือเป็นโอกาสดีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยอีกปีหนึ่ง เนื่องจากโรงงานน้ำตาลทรายได้ประเมินปริมาณสต๊อกน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงทำให้หลายประเทศเริ่มสั่งซื้อน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยงให้เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละประเทศ ขณะเดียวกันแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนามีเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวในทางที่ดีขึ้น จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีต่อความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายในตลาดโลกและค่าเงินบาทที่อ่อนลง ยังส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในปีนี้ที่จะมีรายได้จากการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นอีกด้วย

"เดิมโรงงานน้ำตาลทรายได้ประเมินว่าปริมาณอ้อยเข้าหีบฤดูการหีบอ้อยปี 59/60 คาดการณ์ว่า ปริมาณอ้อยจะต่ำกว่าปีก่อนจากภาวะภัยแล้งในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก แต่อย่างไรก็ดี เมื่ออ้อยได้รับน้ำฝนเมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนกรกฎาคม มีฝนกระจายในพื้นที่เพาะปลูกได้ดีขึ้น ทำให้อ้อยฟื้นตัวดีขึ้น และคาดว่า จะช่วยให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบและผลผลิตน้ำตาลทรายปีนี้จะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาน้ำตาลตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยบวกเข้ามาช่วยเสริม จึงทำให้ปีนี้ถือเป็นปีที่ดีให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย" นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน