โดยการส่งออกสามารถขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น (ขยายตัวมากสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2555) และอาเซียน รวมถึงประเทศทางตะวันออกกลาง แต่ทั้งนี้ต้องจับตามมองการส่งออกไปจีน (หดตัวต่อเนื่อง 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2557) และอียู ที่อาจชะลอลง
โอกาสการส่งออก ปี 2560 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มทิศทางฟื้นตัว เป็นปัจจัยหลักให้การส่งออกในภาพรวมขยายตัวดีขึ้น , การอ่อนลงของค่าเงินบาท ส่งผลให้ไทยมีความได้เปรียบในด้านราคาส่งออกมากขึ้น อย่างไรก็ตามค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนลงเช่นกัน , ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ไทยส่งออกไปประเทศผู้ส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น , ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย และการค้าชายแดน / ผ่านแดนรวมขยายตัว
ความเสี่ยงการส่งออก ปี 2560 การชะลอตัวเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ไทยส่งออกไปจีนได้ชะลอลง , การกีดกันทางการทางค้าของ Trump ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อไทย , ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยุโรป (เช่น Brexit และการเลือกตั้งของเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี) มีผลให้ไทยส่งออกไป EU ชะลอลง และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลให้ต้นทุนการผลิตของไทยสูงขึ้น
การขยายตัวของการส่งออกไปยังประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นขยายตัว ตลาดจีนชะลอตัวจากนโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และผลกระทบทางอ้อมจากการที่จีนโดนนโยบายด้านการค้าของ Trump ตลาดอาเซียนเดิมและอาเซียนใหม่ยังคงขยายตัวได้ดีจากปัจจัยบวก AEC อย่างไรก็ตาม ไทยมีแนวโน้มพึ่งพาตลาดเดิมอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมากขึ้น แต่ต้องระวังการชะลอตัวในตลาด EU
คาดการณ์ค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยังคงอ่อนไหว ในภาพรวมปี 2560 คาดว่าค่าเงินจะมีทิศทางอ่อนค่าลงค่าเงินหยวนของจีนคาดว่าจะมีทิศทางอ่อนค่าลง จากการที่ปัจจัยที่ยังคงมีเงินทุนไหลออก โดยคาดว่า จีนจะมีค่าเงินอ่อนลง ลำดับที่ 1 ญี่ปุ่น ลำดับที่ 2 และไทย ลำดับที่ 3
ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันนำเข้าเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ส่งออกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ จะต้องจับตามองนโยบายการผลิตของกลุ่ม OPEC และนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานของสหรัฐอเมริกา
ราคาสินค้าเกษตรในปี 2560 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตของสินค้าเป็นหลัก ทั้งนี้ในปี 2559 ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดต่ำลง เนื่องจากผลผลิตที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในปี 2559 โดยในกลุ่มธัชพืชลดล
ถึง -6.8% เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสหรัฐฯ และ ข้าวสาลีในออสเตรเลียและเอเชียกลางที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การส่งออกข้าวของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2560 จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และสต็อกข้าวที่ยังคงเหลืออยู่ โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกไปจีนได้มากขึ้น ตามสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ในปี 2560 คาดว่าประเทศผู้นำเข้า เช่น จีน และ ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มนำเข้าเพิ่มขึ้น
การส่งออกของการค้าชายแดน ปี 2560 คาดว่าจะขยายตัว 3.6% หรือ เป็นมูลค่า 17,858 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7.1% หรือ 651,817 ล้านบาท) ถ้านับรวมการส่งออกของการค้าชายแดน/ผ่านแดนรวม ปี 2560 คาดว่าจะขยายตัว 3.9% หรือ เป็นมูลค่า 20,305 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7.4% หรือ 741,122 ล้านบาท)
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-10 บาท ไม่ส่งผลกรทบต่อต้นทุนการผลิต และการดำเนินธุรกิจมากนัก โดยเพิ่มเพียง 2% แต่อาจจะกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานหลักเล็กน้อย เช่น สิ่งทอ
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีน นโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนนโยบาย Trump ที่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าและบริการจีนเพิ่มเป็น 45% ถ้าจีนยังคงใช้นโยบายค่าเงินอ่อน ส่งผลกระทบให้ไทยส่งออกไปจีนได้ชะลอลง สินค้าหลักที่ได้รับผลกระทบ ทางตรง อาทิ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ทางอ้อมจาก Trump อาทิ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องจักร/เครื่องกล
ผลกระทบนโยบายการค้าของ Trump ต่อการส่งออกไทย การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าและบริการจีนเพิ่มเป็น 45% ถ้าจีนยังคงใช้นโยบายค่าเงินอ่อน สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 21.5% รองลงไปคือเม็กซิโก และ แคนาดา เป็น 13.2% เท่ากัน สหรัฐฯ นำเข้า เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร/เครื่องกล และยานยนต์มากที่สุด คิดเป็น 14.6, 14.4 และ 12.4% ตามลำดับ ในตลาดสหรัฐฯ จีนครองตลาดเครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร/เครื่องกล ส่วนเม็กซิโก ครองตลาดยานยนต์
นโยบาย Trump จะส่งผลกระทบทางอ้อมให้ไทยส่งออกไปจีนได้ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้า เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า (วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ วงจรพิมพ์ เป็นต้น) และเครื่องจักร/เครื่องกล (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และ แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น) ไทยมีโอกาสขยายตลาดในสหรัฐฯ ในกลุ่มเครื่องจักร/เครื่องกล เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า และยางพาราและผลิตภัณฑ์ (นโยบาย Trump ที่พยายามดึงนักลงทุนกลับประเทศจะส่งผลบวกให้สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าขั้นกลางเพื่อเป็นใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น)
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองยุโรป ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยุโรปในปี 2560 กระทบการส่งออกไทย ในปี 2559 ไทยส่งออกไปในตลาด EU (15) ร้อยละ 9.2 หรือประมาณ 19,880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-10 บาท ไม่ส่งผลกรทบต่อต้นทุนการผลิต และการดำเนินธุรกิจมากนัก โดยเพิ่มเพียง 2% แต่อาจจะกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานหลักเล็กน้อย เช่น สิ่งทอ