นายแพทย์ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ลองสังเกตตัวเองสำหรับผู้ที่มีอาการ หอบ เหนื่อย ไม่มีแรง หน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ เนื่องจากลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ กรอบ แข็ง ความยืดหยุ่นน้อย และมีไขมันหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเปิดหรือปิดไม่สนิท ส่วนใหญ่ลิ้นที่มีปัญหา คือ Mitral Valve/Aortic Valve ซึ่งเป็นลิ้นหัวใจฝั่งซ้าย ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มีบางครั้งพบในเด็ก โดยทั่วไปโรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจที่พบบ่อย มี 3 ประเภท คือ1. Rheumatic heart disease เกิดจากการติดเชื้อ เกิดภูมิต้านทานผิดปกติ ทำลายเนื้อเยื่ออื่นๆ รวมทั้งลิ้นหัวใจด้วย เมื่อถูกทำลายก็จะมีพังพืดและแคลเซียมเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจ เปิดปิดไม่ดีเหมือนปกติ หัวใจจึงต้องทำงานหนักมากขึ้น 2.Degenerative การที่ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามอายุ ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อเสื่อมสภาพตามอายุ ทำให้ลิ้นหัวใจผิดรูปเกิดการเปิดปิดที่ไม่สนิท ซึ่งจะทำให้เกิดอาการลิ้นหัวใจรั่ว 3.โรคลิ้นหัวใจจากภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดกล้ามเนื้อตาย มีผลต่อ การทำงานของลิ้นหัวใจทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว ส่วนใหญ่จะเป็นกับคนอายุ 50-60 ปี
ปัจจุบันการรักษาได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้นความเสี่ยงของภาวะแทรก ซ้อนน้อยลงการรักษามี 2 วิธี คือ
1.การซ่อมลิ้นหัวใจ (Vale Repair) ทำได้หลายวิธีตามแต่สาเหตุ กรณี ดังนี้เช่น ลิ้นหัวใจ Rheumatic ลิ้นหัวใจแข็ง มีการตีบ การรั่ว เกิดจากแคลเซียมไปเกาะตัวที่ลิ้นหัวใจทำให้เป็นพังพืด สามารถทำการซ่อมลิ้น โดยการลอกแคลเซียมที่จับตัวออก และหาเนื้อเยื่ออื่นมาซ่อมแทนเพื่อให้ลิ้นหัวใจทำงานได้ใกล้เคียงปกติ หรือเหมือนเดิม Degenerative ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามวัย เช่น เอ็นยึดลิ้นหัวใจที่ยืด หรือขาด ลิ้นหัวใจรั่ว จำเป็นต้องใช้เทคนิคหรือวิธีการผ่าตัดมาซ่อมแก้ไขให้กลับทำงานได้ตามเดิมผลการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ ส่วนใหญ่ทำให้คนไข้อาการดีขึ้น เหนื่อยน้อยลง และผลระยะยาวจะดีกว่า เนื่องจาก ไม่ต้องกังวลกับภาวะแทรกซ้อนจากยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด สิ่งสำคัญในการรักษาไม่ว่าจะเป็นการซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ คือ ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญชำนาญของแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
2. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement) ซึ่งมีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ลิ้นหัวใจที่เป็นโลหะ อายุงานคงทน แต่การเปลี่ยนลิ้นหัวใจชนิดนี้ต้องกินยาละลายลิ่มเลือด เพื่อป้องกันเลือดแข็งตัวไปตลอดชีวิต การกินยาละลายลิ่มเลือดดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงได้หากทานยาไม่ถูกต้อง ลิ้นหัวใจอีกชนิดหนึ่ง เป็นลิ้นที่ทำจากเยื่อหุ้มหัวใจหมูหรือวัว จะทำให้เกิดลิ่มเลือดต่ำเพราะไม่ใช่โลหะ ไม่จำเป็นต้องกินยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิต แต่เนื่องจากเป็นเนื้อเยื่อของสิ่งอื่น จึงทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่อต้าน จนทำให้เกิดพังพืด มีแคลเซียมมาเกาะจนทำให้ลิ้นหัวใจแข็งและลิ้นเสียหายได้ สิ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจคือ ถ้าเปลี่ยนด้วยเนื้อเยื่อ จะมีอายุการใช้งาน 10 – 15 ปี หลังจากนั้นอาจต้องพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอีกครั้ง ในขณะที่เปลี่ยนลิ้นหัวใจที่เป็นโลหะ ต้องทานยาป้องกันการแข็งไปตลอดชีวิต ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในสมองได้สูง ตามเวลาที่ผ่านไป
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีทีมแพทย์ให้การรักษา และมีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ให้การบริการแบบครบครัน พร้อมมีเครือข่ายโรงพยาบาลครอบคลุมทั่วประเทศ สามารถให้คำปรึกษา ทำการผ่าตัดให้ได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังมีแพทย์ในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ด้วยกันอีกด้วย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพกายที่ดีตลอดไป