สศก. ปูพรม 5 จังหวัดอีสาน สำรวจทัศนคติเกษตรกร สู่การปฏิรูป พัฒนารูปแบบประกันภัยนาปี

พุธ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๐:๑๒
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จับมือ ธ.ก.ส. พร้อมลงพื้นที่ 23 มกราคมนี้ ศึกษารูปแบบความพึงพอใจและทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการประกันภัยข้าวนาปี ลุยปูพรมพื้นที่ 5 จังหวัดอีสาน เจาะกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร 400 ราย สู่การพัฒนารูปแบบการประกันภัยข้าวนาปีให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง "การศึกษารูปแบบความพึงพอใจประกันภัยข้าวนาปีของเกษตรกร" ปีงบประมาณ 2560 โดย สศก. ร่วมมือกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อศึกษารูปแบบความพึงพอใจการประกันภัยข้าวนาปี และทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการประกันภัยข้าวนาปีของเกษตรกร โดยมีกำหนดลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 25 มีนาคม 2560 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด สัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่าง 400 ราย ที่มีการทำประกันภัยข้าวนาปีมากเป็นลำดับต้นของประเทศ ตามรายงานโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 ของ ธ.ก.ส. ซึ่งได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด

สำหรับการประกันภัย ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในการบริหารความเสี่ยง (Disaster Risk Management) ของเกษตรกร ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าทำให้เกษตรกรเตรียมความพร้อมใน เชิงรุกที่จะเผชิญกับภัยธรรมชาติและค้นหาวิธีป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินด้วยตนเอง โดยเกษตรกรสามารถถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังบริษัทประกันภัยในฐานะผู้รับประกันและต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันให้กับผู้รับประกัน เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยทางการเงินหากเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันพัฒนาระบบการประกันภัยในประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพและยั่งยืนวิธีหนึ่ง คือ การทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจต่อระบบประกันภัยที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจที่ผ่านมาของ ธ.ก.ส. พบว่า เกษตรกรบางส่วนมีทัศนคติต่อการประกันภัยพืชผลว่าเป็นเรื่องไกลตัวเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายที่เปล่าประโยชน์ไม่คุ้มค่า ไม่เหมือนกับการได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐบาล แตกต่างจากการประกันภัยพืชผลในต่างประเทศที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นระบบที่เข้ามาเพื่อลดภาระความเสี่ยงที่ครอบคลุมด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง

ดังนั้น การปฏิรูปการประกันภัยพืชผลในประเทศไทยจึงมีความสำคัญอย่างมาก ภายใต้ความเสี่ยงที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เพื่อทำให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นว่าเมื่อพื้นที่การประกันเพิ่มมากขึ้น อัตราเบี้ยประกันภัยจะถูกลงตามกลไกตลาด เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจว่าระบบประกันภัยพืชผลคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย จะใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการประกันภัยข้าวนาปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร จึงขอขอบคุณ และขอความร่วมมือกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างทั้ง 5 จังหวัดในการลงพื้นที่สำรวจครั้งนี้ด้วย โดย สศก.จะรายงานผลการสำรวจให้ทราบในระยะต่อไป หากเกษตรกรและท่านที่สนใจแนวทางการสำรวจในครั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรกร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2579 2982 ในวันและเวลาราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version