ภาพรวมตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ

พุธ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๗:๑๖
พื้นที่ค้าปลีกรวมในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ ณ สิ้นปีพ.ศ.2559 อยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตารางเมตรโดยเป็นพื้นที่ของศูนย์การค้าประมาณ 58% ศูนย์การค้าขนาดใหญ่เติบโตแซงคอมมูนิตี้มอล

นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เรนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า พื้นที่ค้าปลีกรวมในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ ณ สิ้นปีพ.ศ.2559 อยู่ที่ประมาณ 7,537,820 ตารางเมตร โดยในปีพ.ศ.2559 มีพื้นที่ค้าปลีกเปิดให้บริการใหม่ประมาณ 130,380 ตารางเมตร โดยเป็นคอมมูนิตี้มอลล์มากที่สุดคือประมาณ 85,380 ตารางเมตรรองลงมาคือสเปเชี่ยลตี้ สโตร์ที่มีพื้นที่รวมประมาณ 41,000 ตารางเมตร แม้ว่าคอมมูนิตี้มอลล์จะมีพื้นที่เปิดขายใหม่มากที่สุดในปีที่ผ่านมาแต่ลดลงจากปีก่อนหน้านี้แบบเห็นได้ชัดเพราะมีหลายโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีแผนจะพัฒน่าคอมมูนิตี้มอลล์จึงเริ่มทบทวนแผนการพัฒนาใหม่ ศูนย์การค้าที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่จะเริ่มมีโครงการเปิดให้บริการใหม่มากขึ้นในปีพ.ศ.2560 – 2563 จากที่ชะลอไปในปีพ.ศ.2559 และมีบางโครงการที่เลื่อนมาจากปีพ.ศ.2559

พื้นที่ค้าปลีก ณ สิ้นปีพ.ศ.2559 ถ้าแยกตามประเภทจะสามารถแยกได้ ดังนี้

ที่มา : ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

พื้นที่ค้าปลีกรวมในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ ณ สิ้นปีพ.ศ.2559 อยู่ที่ประมาณ 7,537,820 ตารางเมตรโดยเป็นพื้นที่ของศูนย์การค้าประมาณ 58% จากพื้นที่ทั้งหมดเพราะศูนย์การค้ามีพื้นที่ขนาดใหญ่และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาศูนย์การค้าใหม่ๆ ที่เปิดให้บริการจะพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รวมบริการและร้านค้าที่สามารถรองรับคนทุกเพศทุกวัยไว้ในพื้นที่เดียวกันขนาดพื้นที่จึงใหญ่มาก คอมมูนิตี้มอลล์มีพื้นที่รวมมากเป็นลำดับที่สองเพราะการขยายตัวที่มากอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนมีพื้นที่รวมมากกว่าซูเปอร์สโตร์ มอลล์ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตที่มีโครงการใหม่น้อยมาก

โครงการค้าปลีกใหม่ที่กำลังก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วง 1 – 3 ปีข้างหน้าส่วนใหญ่เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่อยู่ชานเมือง หรือว่าเมืองชั้นนอกในขณะที่คอมมูนิตี้มอลล์ลดลง โดยมีพื้นที่ค้าปลีกอีกมากกว่า 723,000 ตารางเมตรที่กำลังก่อสร้างและมีกำหนดสร้างเสร็จในช่วงปีพ.ศ.2560 – 2561 ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกที่มีรูปแบบของโครงการพื้นที่ค้าปลีกหลากหลายมีความพยายามในการขยายหรือเพิ่มจำนวนสาขาโครงการค้าปลีกของตนเองในทุกรูปแบบโดยเฉพาะในกลุ่มของพื้นที่ค้าปลีกขนาดเล็ก เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อโดยรูปแบบที่เป็นที่นิยมในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะได้รับความสนใจต่อไปคือ ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กและร้านสะดวกซื้อในศูนย์บริการน้ำมันเพื่อรองรับกำลังซื้อของคนที่เดินทางและคนในชุมชนโดยรอบโดยสังเกตได้จากแต่ละผู้ให้บริการปั๊มน้ำมันจะมีพันธมิตรหรือว่าร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในการเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กหรือร้านสะดวกซื้อในศูนย์บริการน้ำมันของตนเอง

ศูนย์บริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต

ปตท จิฟฟี่ และเซเว่น อีเลฟเว่น

บางจาก ใบจากมาร์ท มินิบิ๊กซี และ SPAR

ซัสโก้ ลอว์สัน 108 และ Suria

พีที แม็กซ์มาร์ท

เชลล์ ซีเลคท์

คาลเท็กซ์ เอส มินิมาร์ท และท็อปส์ เดลี่

เอสโซ่ เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส และเอส มินิมาร์ท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ