สมาคมธนาคารไทยจับมือ “กาชาด – มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม” ครั้งแรก! จ้างงาน-สร้างอาชีพคนพิการครั้งใหญ่ 900 อัตรา 76 จังหวัดทั่วประเทศ

ศุกร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๑๗ ๐๙:๕๗
สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือ สภากาชาดไทยและมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมตั้ง "โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" ประเดิมจ้างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการครั้งแรก และครั้งใหญ่ 900 อัตรา กระจาย 76 จังหวัดทั่วประเทศ มุ่งส่งเสริม-พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้ทำงานเหมาะสม ใกล้บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า "โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมธนาคารไทย สภากาชาดไทย และมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมครั้งแรกซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากภาครัฐทั้งกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้มีงานทำ และได้ทำงานในชุมชนที่อาศัยอยู่ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

"สมาชิกของสมาคมธนาคารไทยซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 14 สถาบัน ส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม มาตรา 34 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ด้วยการส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นจำนวน 109;500 บาท/คน/ปี เนื่องจากติดข้อจำกัดที่ไม่สามารถจ้างงานคนพิการในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนพนักงานขององค์กร ตามข้อกำหนดในมาตรา 33 ได้ ด้วยสาเหตุบางประการ เช่น จัดหาคนพิการในพื้นที่มาทำงานตรงตามพื้นที่นั้นๆ ไม่ได้ และบางครั้งตำแหน่งงานไม่เหมาะกับคุณสมบัติของคนพิการ ส่งผลให้ยอดสะสมในกองทุนฯ เพิ่มขึ้นทุกปี ทางสมาคมฯ จึงมองหาความเป็นไปได้ที่จะนำเงินซึ่งใช้สมทบทุกๆ ปี มาสร้างประโยชน์ให้กับคนพิการโดยตรง ด้วยการสร้างโอกาส งานและอาชีพ ที่เหมาะสมกับความสามารถ ซึ่งมาตรา 35 เปิดโอกาสให้มีการจัดจ้างเหมางานให้คนพิการไปทำงานในสถานประกอบการอื่นได้โดยรวมถึงองค์กร สาธารณกุศลเพื่อสังคม ประกอบกับสมาคมฯ ได้พันธมิตรอย่างสภากาชาดไทยกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมเข้าร่วมแสดงความจำนงครั้งนี้อย่างลงตัว ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 14 สถาบันภายใต้สมาคมธนาคารไทยลงมติเป็นทิศทางเดียวกันที่จะสนับสนุนการจ้างงานและสร้างอาชีพแก่คนพิการประมาณ 900 คน เพื่อให้คนพิการได้ทำงานตรงตามความถนัด และสามารถเลี้ยงดูตนเองได้และยังสามารถทำงานในหน่วยงานที่สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย" นายปรีดีกล่าว

ด้าน คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิก สภากาชาดไทย กล่าวว่า สภากาชาดไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ โดยมุ่งหวังว่าการเปิดโอกาสให้คนพิการเข้ามาทำงานกับสภากาชาดไทยซึ่งเป็นองค์กรที่มีเกียรติ มีชื่อเสียง และเป็นองค์กรที่ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม จะเสริมสร้างความภูมิใจ และการมีส่วนร่วมในสังคมให้กับคนพิการ โดยจำนวนคนพิการที่สภากาชาดไทยจะรับเข้าทำงานตามโครงการนี้มีทั้งสิ้น 676 คน (จากจำนวนประมาณ 900 คน) โดยจะเข้าไปช่วยทำงานในสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด 76 แห่งในทุกจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภออีก 240 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ของสภากาชาดไทยซึ่งจัดสรรไปตามภูมิลำเนาของผู้พิการ

นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย กล่าวว่า การทำประโยชน์เพื่อคนพิการถือเป็นพันธกิจของสภากาชาดไทยประการหนึ่ง โดยในส่วนของการทำงานกับโครงการฯ สภากาชาดไทยได้ร่วมศึกษาและออกแบบโครงการจ้างเหมางานคนพิการกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ตลอดจนกำหนดคุณสมบัติ เสาะหา และคัดเลือกคนพิการที่เหมาะสม จัดสรรตำแหน่งงาน รวมถึงจัดหาวิทยากรและการอบรมที่จำเป็นให้ด้วย อาทิ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ และเสริมสร้างทัศนคติเพื่อให้การทำงานในสำนักงานของคนพิการเป็นไปอย่างราบรื่น

นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ในส่วนของคนพิการที่ไม่ได้ทำงานกับสภากาชาดไทย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้ประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ในเครือข่าย อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังมีการส่งเสริมอาชีพอิสระด้วย นับเป็นขวัญและกำลังใจสำคัญที่ทำให้คนพิการรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำงาน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ อีกทั้งยังคงได้รับการพัฒนาทักษะด้านอาชีพเพื่อตรงตามความต้องการในสายอาชีพนั้นๆ ต่อไปด้วย

"โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นับเป็นปรากฏการณ์การจ้างงานคนพิการจากกลุ่มธุรกิจเดียว ที่มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมานับแต่พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้และยังเป็นการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย และหน่วยงานกาชาดทั่วโลกที่มีจำนวนมากที่สุดในครั้งเดียวด้วย นอกจากนี้รูปแบบความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการสร้างตัวอย่างความร่วมมือในการจ้างเหมางานคนพิการตามมาตรา 35 ที่ภาคธุรกิจและหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบได้ ซึ่งตอนนี้การส่งเสริมคนพิการให้มีอาชีพ มีงานทำได้ถูกยกระดับไปเป็นเป้าหมายของคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม ส่งผลให้มีการขยายเวลาดำเนินงานตามมาตรา 35 ไปจนถึง 31 มี.ค. 2560 นับเป็นข่าวดีที่หน่วยงานเอกชนต่างๆ ที่ยังส่งเงินเข้ากองทุน ได้มีทางเลือกในการจ้างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการ โดยหน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม" นายอภิชาติ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ