ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ตอนที่ 5 แหล่งข้อมูล GI

จันทร์ ๒๓ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๓:๔๗
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) จะประกาศค่าคะแนน Corruption Perceptions Index (CPI) ของปี 2559 ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 นี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ค่าคะแนน CPI ที่วัดดัชนีการรับรู้การทุจริตประเทศไทย โดย TI อาศัยข้อมูลจาก 8 แหล่งข้อมูลและในตอนที่ 5 นี้ จะพูดถึงแหล่งข้อมูล GI

Global Insight Country Risk Ratings (GI) เป็นดัชนีชี้วัดที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท Information Handling Services (IHS) บริษัทนี้ก่อตั้งในปี 1959 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแองเกิลวูด รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการดำเนินธุรกิจ การวิจัยตลาด และการให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ปัจจุบันได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับรัฐบาลและบริษัทเอกชนมากกว่า 165 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 6,000 คน ใน 31 ประเทศทั่วโลก

ค่าดัชนี GI เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนหนึ่งของบริการ Country Risk Analyst ของบริษัท IHS เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก เป็นการประเมินเพื่อให้ลูกค้าหรือนักลงทุนเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของการลงทุนใน 204 ประเทศ เพื่อให้การลงทุนมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยง สามารถวางแผนล่วงหน้า และสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท IHS มีการจัดอันดับความเสี่ยงโดยมีการอัพเดตข้อมูลเพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ในปัจจุบันตลอดเวลา รวมทั้งมีการคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

การวิเคราะห์ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงใน 6 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ภาษี การบริหาร และความมั่นคง โดยจากรายงานเอกสาร Corruption Perceptions Index 2015 : Full Source Description ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติในแหล่งข้อมูล GI ระบุว่า คะแนนความเสี่ยงของการ คอร์รัปชันที่นำมาวิเคราะห์ มาจากการประเมินความเสี่ยงในปัจจัยด้านการบริหารเป็นส่วนใหญ่ เป็นการประเมินจากนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญในแต่ละประเทศ ซึ่งได้รับข้อมูลจากกลุ่มลูกค้า ผู้ทำสัญญากับภาครัฐของประเทศ นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้รับงานอิสระ เครือข่ายนักข่าว และสถานการณ์ที่สำคัญในแต่ละวันจะถูกนำมาประเมินด้วย คำถามของผู้เชี่ยวชาญจะเน้นไปที่การประเมินการคอร์รัปชันที่ส่งผลต่อการดำเนินการของภาคธุรกิจเอกชนเป็นหลัก ซึ่งมาจากมุมมองหรือประสบการณ์ของนักธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญจะสอบถามเพื่อประเมินการคอร์รัปชันในประเด็น ดังนี้

1) ปัญหาการคอร์รัปชันที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจ และเน้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้านการเมืองและเศรษฐกิจต่อปัญหาดังกล่าว

2) ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชันที่ส่งผลต่อการขอใบอนุญาตทางธุรกิจ และนโยบายที่เอื้อประโยชน์และการตัดสินใจวางแผนต่อการดำเนินธุรกิจ

การประเมินเพื่อให้คะแนนจะแบ่งเป็นช่วง ตั้งแต่เป็นการให้สินบนในระดับเล็กน้อยจนถึงระดับสูงคือการคอร์รัปชันของภาคการเมือง ค่าคะแนนของ GI จะอยู่ในช่วง 1 ถึง 5 คะแนน โดยค่าคะแนน 1 หมายถึงมีระดับความเสี่ยงน้อยที่สุด จนถึงค่า 5 หมายถึง มีความเสี่ยงมากที่สุด และสามารถให้คะแนนเป็นค่าครึ่งคะแนนได้ เช่น 1.5, 3.5 คะแนน ที่ได้ในแต่ละประเทศจะมีการตรวจสอบและเทียบเคียงโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกครั้งก่อน จะนำไปเผยแพร่ ทั้งนี้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ จะนำค่า GI scores ประเมินเป็นค่าคะแนนเต็ม 100 คะแนน เพื่อนำไปประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริตในแต่ละประเทศต่อไป

ค่าคะแนน CPI ของไทยจากแหล่งข้อมูล GI 4 ครั้งหลังสุด

ปี ๒๕๕5 ๒๕๕6 ๒๕๕7 ๒๕๕8

คะแนน 42 32 42 42

การที่ IHS เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นรายงานการวิเคราะห์ค่าคะแนน GI โดยเฉพาะรายงานความเสี่ยงของปัจจัยในแต่ละด้านที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจจะจำกัดการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะลูกค้า ของบริษัทเท่านั้น ส่วนค่าคะแนน GI ที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเปิดเผยนั้น เป็นค่าคะแนนที่นำมาประเมินใหม่ และไม่ได้มีการอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวแต่อย่างใด

แนวทางการยกระดับค่าดัชนี GI

จากข้อมูลประเด็นคำถามในการประเมินค่าคะแนน GI นั้น แสดงให้เห็นว่า การประเมินให้ความสำคัญกับปัญหาการคอร์รัปชันที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก การขอใบอนุญาตทางธุรกิจที่ต้องประสบปัญหาการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐจนถึงระดับการคอร์รัปชันทางการเมืองหรือในระดับนโยบาย ซึ่งในปัจจุบันการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการกำหนดให้มาตรการทางกฎหมาย อาทิ การประกาศใช้พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กฎหมายเรื่องความรับผิดของนิติบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวของ กับการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งเสริมให้นิติบุคคลจัดทำมาตรการป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐ ตามบทบัญญัติมาตรา 123/5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 รวมทั้งการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ก็มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

ดังนั้นในการยกระดับค่าดัชนี GI รัฐบาลและทุกภาคส่วนจะต้องขับเคลื่อนกฎหมายและมาตรการส่งเสริมการป้องกันการให้สินบนใหเกิดความเปลี่ยนแปลงอยางเปนรูปธรรม และจะตองอาศัยความรวมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาชนในปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือค่านิยมที่ไม่ดีในการให้สินบนหรือค่าน้ำร้อนน้ำชาสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและการรับรู้ที่ถูกต้องว่า การดำเนินธุรกิจโดยสุจริตปราศจากการใหสินบน จะทำใหธุรกิจพัฒนาและคงอยูไดอยางยั่งยืน ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การยกระดับค่าดัชนี GI ให้สูงขึ้นได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ