ออนดีมานด์ ปันน้ำใจให้ชาวใต้ ขยายเวลาเรียนให้เด็กในพื้นที่ประสบภัย พร้อมเปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้

พุธ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๒:๐๓
นายสุธี อัสววิมล ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนกวดวิชาออนดีมานด์ กล่าวว่า ออนดีมานด์มีความห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคใต้ จึงได้จัดโครงการ "OnDemand ปันน้ำใจ ให้ชาวใต้"เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับนักเรียนและผู้ปกครองที่ได้รับความเดือดร้อน โดยการขยายระยะเวลาสิ้นสุดคอร์สเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 เดือน สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบอุทกภัย ซึ่งนักเรียนสามารถติดต่อขอรับสิทธิ์ได้ที่ออนดีมานด์ สาขาภาคใต้ทุกสาขา ตั้งแต่วันนี้ - 12 เมษายน 2560

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนปันน้ำใจให้ชาวใต้ได้ที่ ออนดีมานด์ทุกสาขาทั่วประเทศ สำหรับน้องๆ นักเรียนออนดีมานด์ สามารถใช้คะแนน My Ondemand Reward ซึ่งได้จากการซื้อคอร์สและหนังสือเรียน ร่วมสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้เช่นกัน โดยทุกๆ 100 คะแนน มีค่าเท่ากับ 25 บาท และทางออนดีมานด์จะสมทบทุนเพิ่มให้อีกเป็น 2 เท่า ทั้งนี้ ผู้มี จิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคได้ตั้งแต่วันนี้-28 กุมภาพันธ์ นี้ หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.OnDemand.in.th หรือโทร 02-251-9456

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ