ประชาชนร้อยละ 71.02 ระบุ social media live ทำให้รับรู้ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆได้รวดเร็วขึ้น มากกว่าครึ่งหนึ่งยอมรับว่า social media live ทำให้ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์น้อยลง แต่ 69.15% เกรงว่าผู้ไม่หวังดีจะใช้เผยแพร่ข่าวสารที่บิดเบือน

อังคาร ๓๑ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๐:๐๙
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการติดตามข่าวสาร-สถานการณ์ต่างๆผ่านระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 ถึง 25 มกราคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,180 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ในปัจจุบันผู้ให้บริการระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์มีการนำเสนอบริการใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งบริการหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานคือระบบการถ่ายทอดสดหรือ Live เช่น Facebook live ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ลำดับต้นๆที่นำเสนอบริการดังกล่าวให้กับผู้ใช้งานทั่วโลกรวมถึงผู้ใช้งานในประเทศไทยที่มีมากกว่า 19 ล้านบัญชี โดยในปัจจุบันระบบดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อเผยแพร่ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้คนได้รับรู้ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆรวดเร็วขึ้น ขณะที่มีผู้มีชื่อเสียงในสังคม เช่น นักการเมือง ดารานักร้อง หรือสื่อมวลชนที่ใช้ระบบดังกล่าวจัดรายการส่วนตัวเพื่อเผยแพร่ข่าวสารหรือรายงานสถานการณ์ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนในสังคมได้แสดงความห่วงใยถึงการใช้ระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่าอาจถูกใช้เผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคมหรืออาจใช้นำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมให้สาธารณะได้รับชม

จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการติดตามข่าวสาร-สถานการณ์ต่างๆผ่านระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำแนกเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.59 และร้อยละ 49.41 เป็นเพศชาย สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านพฤติกรรมการติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่างๆผ่านระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์กับการติดตามข่าวสารผ่านสื่อประเภทอื่นๆนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.53 ร้อยละ 59.07 และร้อยละ 54.92 มีความคิดเห็นว่าการติดตามข่าวสาร/การรายงานสถานการณ์ต่างๆผ่านระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่งผลให้ตนเองรับชมข่าวสารต่างๆทางโทรทัศน์ อ่านข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ และรับฟังข่าวสารทางวิทยุน้อยลงตามลำดับ

ในด้านความคิดเห็นต่อการใช้ระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เผยแพร่ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.02 มีความคิดเห็นว่าการใช้ระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เผยแพร่ข่าวสาร/รายงานสถานการณ์ต่างๆมีส่วนทำให้ผู้คนในสังคมรับรู้ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆได้รวดเร็วขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 66.53 มีความคิดเห็นว่าการใช้ระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เผยแพร่ข่าวสาร/รายงานสถานการณ์ต่างๆมีส่วนทำให้ผู้คนในสังคมสามารถรับรู้รายละเอียดของข่าวสารสถานการณ์ต่างๆได้มากกว่าการติดตามข่าวสารผ่านช่องทางอื่นๆ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.12 มีความคิดเห็นว่าการมีระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ผู้คนรับรู้ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.15 มีความคิดเห็นว่าการมีระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนทำให้ผู้ไม่หวังดีใช้เป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวสารที่บิดเบือนไม่ถูกต้องเพื่อสร้างความวุ่นวายตื่นตระหนกให้กับผู้คนได้ง่ายขึ้น และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.63 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกกลัวว่าการมีระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะทำให้มีการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสม/น่ากลัวเกี่ยวกับข่าวสารสถานการณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้น

ส่วนในด้านการติดตามการจัดรายการส่วนตัวของผู้มีชื่อเสียงในสังคมผ่านระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.54 ระบุว่าตนเองเคยติดตามชมการจัดรายการส่วนตัวรายงานข่าวสารสถานการณ์ต่างๆผ่านระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้มีชื่อเสียงในสังคม เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ ดารา/นักร้อง สื่อมวลชน เป็นต้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.66 ระบุว่าเคยติดตามบ้างเป็นบางครั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.8 ยอมรับว่าไม่เคยติดตามเลย และกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.12 มีความคิดเห็นว่าการที่กลุ่มผู้มีชื่อเสียงในสังคม เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ ดารา/นักร้อง สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ระบบถ่ายทอดสดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จัดรายการส่วนตัวเผยแพร่ข่าวสาร/รายงานสถานการณ์ต่างๆมีส่วนทำให้ตนเองเข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์บ่อยขึ้น ศ.ดร. ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ