สัตวแพทยจุฬาฯย้ำหมู ไก่ไทยปลอดภัยต่อการบริโภค

อังคาร ๓๑ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๒:๒๒
สัตวแพทย์จุฬาฯย้ำการใช้ยาในการเลี้ยงทั้งหมู-ไก่ของไทย ระบุโดยภาพรวมทำถูกต้อง ระบุหลักการใช้ยาเฉพาะที่จำเป็น ยืนยันหมู-ไก่ไทยปลอดภัยต่อการบริโภค

ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ รศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จุฬาฯ และรศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ จุฬาฯ แถลงข่าวเรื่องเชื้อดื้อยากับการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ ณ อาคาร60ปี สัตวแพทยศาสตร์จุฬาฯ

ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้ยาปกติชีวนะในสุกรการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากปศุสัตว์ในฟาร์มอยู่ร่วมกันเป็นฝูงต่างจากคนและสัตว์เลี้ยง จึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม หากภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค โดยมีสัตวแพทย์เป็นผู้ควบคุมการใช้ยาในฟาร์ม ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม มีระยะเวลาในการหยุดยา และมีการพักเล้าเพื่อให้ปลอดเชื้อ ก่อนจะนำสัตว์รุ่นใหม่เข้าเลี้ยง โดยภาพรวมทำได้ถูกต้อง

รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ว่าเป็นการ ศึกษาย้อนหลังเชื้อแช่แข็งจาก 6พื้นที่ใน 28ฟาร์ม รวม 337ตัวอย่าง พบเชื้ออีโคไลย์ที่มียีนดื้อยา mcr-1 เพียง 6.8% โดยพบในสุกรขุนระยะแรก และลดลงเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่ระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์ ส่วนตัวอย่างที่ได้จากเนื้อสุกรไม่พบอีโคไลย์ที่มีmcr-1 ทั้งนี้ในประเทศไทยพบเชื้อดังกล่าวในเวลา ใกล้เคียงกันในปี 2555 แต่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันและยังไม่พบหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างสัตว์สู่คนในประเทศไทย

รศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผอ.ศูนย์ติดตามการดื้อยาของโรคอาหารเป็นพิษ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เนื้อสุกรที่มีจำหน่ายภายใต้การดูแลของกรมปศุสัตว์ปลอดภัยต่อการบริโภค เพราะโดยปกติสุกรที่เข้าสู่กระบวนการเชือดชำแหละเป็นสุกรที่มีสุขภาพดี ผ่านกระบวนการในโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน และนำมาปรุงให้สุกก่อนบริโภค

"การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาเพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาไม่ได้จำกัดที่ยาปฏิชีวนะ การลดการใช้ยาคอลิสตินอาจลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ระดับหนึ่งซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะลดได้แค่ไหน และยังมียาปฏิชีวนะอื่นๆที่ทำให้เกิดการคัดเลือกร่วมหรือดื้อข้ามได้ จุดสำคัญอยู่ที่การควบคุมการใช้ยาให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมีความจำเป็นทั้งในยาคนและยาสัตว์" รศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ