กรมประมง…ระดมทีมลงพื้นที่สำรวจความเสียหายภาคประมงจากเหตุอุทกภัยภาคใต้ พร้อมเร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย

พฤหัส ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๐:๐๒
นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยหลังติดตามคณะนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันโอชา) ลงพื้นที่ให้กำลังใจพร้อมมอบเงินเยียวยาและถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาว่า จากสภาวะฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2559 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันในเขตพื้นที่

12 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นการเร่งด่วน โดยในส่วนของกรมประมงนั้นได้มีการระดมทีมลงพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหาย

ด้านการประมง ล่าสุดพบพื้นที่เพาะเลี้ยงประสบอุกภัยแล้วรวม 31,022.50 ไร่ 92697.75 ตารางเมตร เกษตรกรได้รับความเสียหาย 19,989 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 2,001,781,362.53 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ม.ค. 60 )

สำหรับพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบความเสียหาย 4,825.42 ไร่ เกษตรกรได้รับความเสียหายจำนวน 1,928 ราย มูลค่าความเสียหาย 110,596,312.59 บาท โดยแบ่งเป็นกุ้งทะเล จำนวน 67 ราย พื้นที่ 397.20 ไร่ ปูทะเล 34 ราย พื้นที่ 153.5 ไร่ ปลาในบ่อดิน 1,514 ราย พื้นที่ 1,882.68 ไร่ และปลาในกระชัง 313 ราย พื้นที่ 40,492.44 ตารางเมตร ซึ่งทางจังหวัดได้มีการติดตามสถานการณ์

อย่างใกล้ชิด และได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายของเกษตรกรในเบื้องต้นแล้ว และกำลังเร่งสำรวจความเสียหายที่แท้จริงหลังน้ำลดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2560 ในทุกพื้นที่ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ

ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ นอกจากนี้ ยังดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าตามความสามารถและศักยภาพของหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย โดยออกเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรในการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะระเบียบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของทางราชการ พร้อมประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ประสบภัย

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ทางกรมฯ ยังได้เตรียมผลิตลูกพันธุ์ปลาคุณภาพ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรตามความต้องการหลังสภาวะน้ำเข้าสู่สถานการณ์ปกติ และยังมีแผนในการฟื้นฟูช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในระยะยาว โดยจัดทำโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนในบ่อกุ้ง โครงการเลี้ยงปลาดุก และกบในกระชังบก พร้อมทั้งผลักดันให้เกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงเข้าสู่ระบบให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป ซึ่งจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติของจังหวัดต่าง ๆ ที่ประสบอุทกภัยด้วย

ทั้งนี้ หากเกษตรกรประสบปัญหาต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำหรือขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานประมงอำเภอ/ สำนักงานประมงจังหวัด/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงในพื้นที่ หรือ กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง โทรศัพท์ 0 2558 0218 และ 0 2561 4740

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย