สภาวิศวกรแนะตรวจสอบความปลอดภัย “โครงสร้างอาคาร” หลังน้ำลด

พฤหัส ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๐:๒๓
สภาวิศวกร แนะนำ ตรวจสอบโครงสร้างอาคารหลังน้ำลดจากเหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้ พร้อม จัดตั้งโครงการวิศวกรอาสา ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลงพื้นที่ตรวจสอบระบบโครงสร้างและระบบไฟฟ้า ให้แก่ 21 ชุมชนในเทศบาลเมืองทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช เตือนประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง เพื่อความปลอดภัย

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร ในฐานะประธานโครงการวิศวกรอาสาสภาวิศวกร เปิดเผยว่า น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคใต้ในบางพื้นที่มีลักษณะเป็นน้ำที่ไหลหลากและมีความเร็วของกระแสน้ำ จึงอาจเกิดแรงปะทะกับโครงสร้างและได้สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่โครงสร้างได้ โดยแรงผลักจากน้ำที่ไหลแรง อาจทำให้โครงสร้างโย้ เอียง หรือเคลื่อนหลุดจากฐาน ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกร้าวตามมา จากข้อมูลการตรวจจากการลงพื้นที่ได้พบความเสียหายของโครงสร้างอาคารในหลายๆลักษณะ ซึ่งความเสียหายบางลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง สภาวิศวกรจึงได้จัดทำเช็คลิสต์รายการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร เพื่อให้วิศวกรหรือช่างท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบระบบโครงสร้างอาคารต่อไป โดยรายการตรวจสอบที่สภาวิศวกรแนะนำให้ต้องตรวจสอบได้แก่

1. ลักษณะรูปร่างภายนอกของอาคาร ให้ตรวจสอบด้วยสายตัวว่ามีการ ทรุด เอียง โย้หรือไม่

2. กำแพงรั้ว หรือ ผนังบ้าน ให้ตรวจสอบว่ามีการทรุด เอียง ล้ม แตกร้าวที่รอยร้าวทำมุมเอียง 45 องศา

3. พื้นบ้าน ให้ตรวจสอบว่ามีการแอ่นตัว แตกร้าว เนื้อคอนกรีตกะเทาะ ชำรุดเสียหาย

4. ชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ เช่น คาน เสา ให้ตรวจสอบรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นที่บริเวณปลายคาน และ โคนเสา ซึ่งหากพบรอยแตกร้าวที่ทำมุมเอียง 45 องศา จะเป็นรอยร้าวที่อันตราย

5. ตอม่อ ให้ตรวจสอบว่าตอม่อมีการแตกร้าวในเสาตอม่อ หรือมีการกะเทาะของเนื้อคอนกรีตหลุดออกจนเห็นเหล็กเสริม ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง

6. ฐานราก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นฐานรากแผ่ที่ฐานวางอยู่บนพื้นดินโดยตรง ไม่มีเสาเข็มรองรับ ให้ตรวจสอบว่า ดินใต้ฐานรากถูกน้ำชะออกไปหรือไม่ ซึ่งจะเห็นฐานรากลอยจากพื้น เป็นอันตรายเพราะอาจทำให้ฐานรากทรุดตัวตามมา

7. ข้อต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของโครงสร้าง เช่น ข้อต่อระหว่างคานกับเสา ให้ตรวจสอบว่ามีการแตกร้าว หลุดหรือแยกออกจากกันหรือไม่ หากพบการหลุดของข้อต่ออาจทำให้โครงสร้างพังถล่มตามมาได้

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากตรวจพบว่าโครงสร้างได้รับความเสียหายข้างต้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป ในส่วนของสภาวิศวกร จะขยายโครงการวิศวกรอาสาไปยังพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้คำแนะนำพื้นฐานที่จำเป็นแก่ประชาชนต่อไป ทั้งนี้สภาวิศวกรยังคงเปิดรับวิศวกรอาสาในภาคใต้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่จะเป็นวิศวกรอาสาได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกของสภาวิศวกร ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และไม่เคยประพฤติผิดจรรยาบรรณ สำหรับรายละเอียดรายการตรวจสอบทั้งระบบโครงสร้างและระบบไฟฟ้านั้น สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ของสภาวิศวกรhttp://www.coe.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๔๒ FWD ประกันชีวิต ครองใจคนรุ่นใหม่ คว้าสองรางวัลองค์กรน่าทำงาน พร้อมเปิดพื้นที่ให้เติบโตในแบบที่เป็นตัวเอง
๑๕:๕๔ ยันม่าร์ฯ คืนกำไรให้กับเกษตรไทย แจกส่วนลดซื้อผลิตภัณฑ์ มูลค่ารวมกว่า 117 ล้านบาท
๑๕:๐๐ กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ
๑๕:๕๒ กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ
๑๔:๔๓ อิเดมิตสึ ร่วมเปิดฉาก ARRC 2025 ผลักดันนักบิดเอเชียสู่ระดับโลก
๑๔:๐๔ หาดทิพย์ (HTC) จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 อนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายของปี 2567 ในอัตรา 0.57 บาทต่อหุ้น
๑๔:๒๖ Jeff Satur ชวนทุกคนให้ค้นพบตัวเองในเวอร์ชั่นที่สวยงาม ในซิงเกิลใหม่ ฉันก่อนเจอเธอ (Lost and Found)
๑๔:๐๒ คูลชาแนล ช่องภาพยนตร์ไทยคลาสสิค เปิดภาพยนตร์เก่าครบรส 25 วัน 25 เรื่องตลอดเดือนนี้
๑๔:๒๒ ผถห. FM โหวตหนุนจ่ายปันผลอีก 0.20 บ./หุ้น - รับเงิน 20 พ.ค.นี้
๑๔:๕๒ จังซีลอน เตรียมส่งแคมเปญต้อนรับนักท่องเที่ยว