ภาพข่าว: ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย

พฤหัส ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๕:๐๐
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ที่ 4 จากซ้าย) ร่วมกับ ศ.พญ.อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ที่ 3 จากซ้าย) และนายหทัยวุฒิ ลำเทียน ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการโรคฮีโมฟีเลีย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมให้สัมภาษณ์พิเศษ เรื่อง "โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย" โรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูงและได้รับการดูแลรักษาจากรัฐบาล โดยคาดหวังให้ผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย ที่ลงทะเบียนเพื่อรับการรักษาทั่วประเทศอยู่ประมาณ 1,500 กว่าคน แต่ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการรักษา และในงานนี้ นายอภิชาติ ศรีปิ่นแก้ว (ที่ 2 จากซ้าย) ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวของตนในฐานะผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย ว่าการได้รับสิทธิการรักษาจากโรงพยาบาลและสปสช. นั้นสามารถทำให้เขาสามารถมีชีวิตที่ใกล้เคียงกับคนปกติ รวมถึงได้บอกเล่าถึงการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีความระมัดระวังตัวป้องกันการเกิดเลือดออกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ