ประชาชน 69.34% ระบุอาหารริมทาง (street food) ช่วยให้หาซื้ออาหารรับประทานได้ง่ายขึ้น แต่ร้อยละ 65.07 ยอมรับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้ตนเองซื้ออาหารริมทางน้อยลง ขณะที่ 3 อันดับเมนูอาหารริมทางที่นิยมซื้อคือ ข้าวราดแกง อาหารประเภทเส้น และข้าวผัดต่างๆ

พฤหัส ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๕:๐๗
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการซื้ออาหารริมทาง (street food) ของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,171 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า การซื้ออาหารริมทาง (street food) ถือเป็นวัฒนธรรมการซื้ออาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยทั่วไปโดยเฉพาะในสังคมเมืองอย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและมีการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ เนื่องจากอาหารริมทางมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปทั้งตามริมถนนสายหลักและภายในตรอกซอกซอยต่างๆซึ่งผู้คนหาซื้อได้อย่างสะดวก ประกอบกับอาหารริมทางมีราคาที่ไม่แพงเกินไป มีปริมาณที่เหมาะสม หาซื้อได้ตลอดทั้งวัน รวมถึงมีประเภทของอาหารให้เลือกได้อย่างหลากหลาย จึงทำให้อาหารริมทางได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วไปในการซื้อหามารับประทาน และในปัจจุบันอาหารริมทางในกรุงเทพมหานครได้กลายเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติจากการสำรวจของนิตยสารด้านการท่องเที่ยวต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามผู้คนในสังคมได้วิพากษณ์วิจารณ์และแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับคุณภาพและความสะอาดปลอดภัยของอาหารริมทางที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปรวมถึงราคาที่อาจสูงเกินไปและมีปริมาณน้อยเกินไปไม่เหมาะสมกับราคาจำหน่าย

จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการซื้ออาหารริมทาง (street food) ของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ศ.ศรีศักดิ์กล่าวว่าจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.81 และเพศชายร้อยละ 49.19 อายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านพฤติกรรมการซื้ออาหารริมทางรับประทานนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 34.59 นิยมซื้ออาหารริมทางในช่วงเวลา 18:00 – 21:59 น. บ่อยที่สุด รองลงมานิยมซื้อในช่วงเวลา 10:00 – 13:59 น. และ 06:00 – 09:59 น. บ่อยที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.73 และร้อยละ 19.13 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.72 นิยมซื้ออาหารริมทางในช่วงเวลา 22:00 – 05:59 น. บ่อยที่สุด และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.83 นิยมซื้อในช่วงเวลา 14:00 – 17:59 น. สำหรับประเภทของอาหารริมทางที่กลุ่มตัวอย่างนิยมซื้อรับประทานมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ ข้าวราดแกง/ข้าวหน้า/ข้าวมันต่างๆคิดเป็นร้อยละ 85.23 อาหารประเภทเส้นต่างๆคิดเป็นร้อยละ 82.75 ข้าวผัดประเภทต่างๆคิดเป็นร้อยละ 80.36 ข้าวต้ม/โจ๊กคิดเป็นร้อยละ 77.71 และอาหารประเภทขนมหวานคิดเป็นร้อยละ 73.95

เมื่อเปรียบเทียบสถานที่ในการรับประทานอาหารริมทางกลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 49.36 ระบุว่าตนเองนิยมรับประทานที่ร้านเลยมากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.84 ระบุว่าตนเองนิยมซื้อนำกลับไปรับประทานในที่พักมากกว่า โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.8 ระบุว่านิยมรับประทานทั้งสองสถานที่พอๆกัน และสำหรับค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการซื้ออาหารริมทางรับประทานนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 35.44 มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารริมทางโดยเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 30 – 60 บาท รองลงมามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 61 – 100 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.01 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.85 และร้อยละ 11.44 มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 101 – 150 บาท และต่ำกว่า 30 บาทตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.26 มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยมากกว่า 150 บาท

ในด้านความคิดเห็นและความรู้สึกต่อการซื้ออาหารริมทางรับประทานนั้น กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.3 มีความคิดเห็นว่าในปัจจุบันอาหารริมทางส่วนใหญ่มีราคาแพงเกินไป อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.14 มีความคิดเห็นว่าในปัจจุบันอาหารริมทางส่วนใหญ่มีปริมาณต่อจาน/ถุง/แก้วไม่น้อยเกินไป ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 64.73 มีความคิดเห็นว่าในปัจจุบันอาหารริมทางส่วนใหญ่ไม่มีความสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัยเพียงพอ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 66.18 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกกลัวอันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพจากการซื้ออาหารริมทางรับประทาน

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.34 มีความคิดเห็นว่าอาหารริมทางมีส่วนช่วยให้ตนเองสามารถซื้ออาหารรับประทานในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.07 มีความคิดเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ตนเองซื้ออาหารริมทางรับประทานน้อยลง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.08 ระบุว่าการเพิ่มขึ้นของห้างสรรพสินค้า/ร้านสะดวกซื้อในปัจจุบันไม่ส่งผลให้ตนเองซื้ออาหารริมทางน้อยลง และกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 71.22 เห็นด้วยที่จะมีการจัดพื้นที่เป็นการเฉพาะให้สามารถจำหน่ายอาหารริมทางได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลย ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO