เทรนด์การศึกษาโลกและไทย ในมุมมอง รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คนไทยคนแรกบนเวทีการศึกษานานาชาติด้านบริหารธุรกิจ

พฤหัส ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๖:๕๒
รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารด้านการศึกษา ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบัน AACSB (The Association of Advance Collegiate School of Business) ซึ่งเป็นสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งจากอเมริกา ให้เป็นกรรมการบอร์ดบริหารขององค์กร และเป็นชุดกรรมการวิชาการปฏิบัติหน้าที่คัดกรองและคัดเลือกในการรับรองมาตรฐานให้แก่สถาบันการศึกษาด้านธุรกิจทั่วโลก ในขณะเดียวกันยังได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการของ EFMD (European Foundation for Management Development) ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่สำคัญจากฝั่งยุโรป และปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ AAPBS สถาบันการศึกษาบริหารธุรกิจแห่งเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย

ในฐานะผู้บริหารทางการศึกษาระดับนานาชาติ รศ.ดร.พสุ เผยว่า "เทรนด์สถาบันการศึกษาบริหารธุรกิจในอนาคต จะเน้นให้นำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมแบบยั่งยืนมากขึ้น มากกว่าการสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว รวมถึงมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับตัวเพราะจะพบกับคู่แข่งที่ไม่คิดว่าเป็นคู่แข่งมาก่อน เช่น บริษัทที่ปรึกษา ที่เปิดคอร์สการเรียนการสอนภาวะผู้นำหรือทำวิจัยเอง ซึ่งแท้จริงควรเป็นบทบาทของสถาบันการศึกษา หรือแม้แต่บางบริษัทที่เปิดสถาบันอบรมเป็นของตัวเองเนื่องจากเห็นว่าสถาบันการศึกษาไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้"

สำหรับมุมมองด้านการพัฒนาการศึกษาของโลก รศ.ดร.พสุ กล่าวว่า "การพัฒนาทางด้านการศึกษาที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือฝั่งเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น ที่มีนโยบายเปิดเสรีให้มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกเข้ามาเปิดการเรียนรู้สอน จึงทำให้มหาวิทยาลัยในประเทศต้องเร่งพัฒนาตนเองมากขึ้น เพื่อสามารถรักษาหรือชิงส่วนแบ่งทางการตลาด"

ในด้านการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยนั้น รศ.ดร.พสุ ได้แสดงความเห็นว่า การศึกษาไทยขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทย ว่าจะตั้ง Position ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาหรือไม่ หรือพัฒนาคนของเราให้เป็นคนไทยยุค 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 อย่างไร รวมถึงทุกสถาบันการศึกษาต้องปรับตัวให้ทันกับกระแสโลก กระแสดิจิทัล และความเป็นนานาชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปรับตัวให้ทันกับความต้องการของภาคธุรกิจต่อบัณฑิตจบใหม่ ที่ต้องพลิกโฉม โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ต้องปรับทั้งโครงสร้าง ระบบ และพัฒนาคุณภาพของครูให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนไป

"ต้องมองการศึกษาของประเทศทุกระดับถือเป็นการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย เป็นการลงทุนระยะยาว และเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาผู้ดูแลส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง มักแก้ปัญหาเฉพาะส่วน ขาดวิธีการคิดทั้งระบบ ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น หลักสูตร เทคโนโลยี ครู พ่อแม่ เป็นต้น ถ้าหากเราอยากเพิ่มศักยภาพของคนไทยแข่งขันกับต่างชาติได้ ก็ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไม่ใช่เริ่มที่ระดับอุดมศึกษา" รศ.ดร.พสุ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version