การเปิดรับข้อเสนอโครงการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(4) ประจำปี 2560 ครั้งที่ 1

อังคาร ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๕:๕๘
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เห็นชอบการเปิดรับข้อเสนอโครงการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(4) ประจำปี 2560 ครั้งที่ 1 เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2560

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ตามที่ กกพ. เห็นชอบการเปิดรับข้อเสนอโครงการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(4) ประจำปี 2560 ครั้งที่ 1 โดยมีกรอบการจัดสรรเงินกองทุนจำนวนไม่เกิน 650 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนจำนวนเงินเป็นรายแผนงาน จำนวน 5 แผนงาน และมีกรอบการสนับสนุน และรูปแบบของการจัดสรรเงินกองทุน ดังนี้

1. กรอบการสนับสนุน

แผนงานที่ 1 ส่งเสริม และสาธิต การใช้พลังงานหมุนเวียนในการประกอบกิจการไฟฟ้า กรอบจำนวนเงินไม่เกิน 195 ล้านบาท

แผนงานที่ 2 พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กรอบจำนวนเงินไม่เกิน 195 ล้านบาท

โดยทั้งสองแผนงานเน้นโครงการที่มีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เช่น

(1) โครงการส่งเสริมสาธิตเพื่อศึกษาพัฒนาโรงไฟฟ้าต้นแบบขนาดเล็ก (Pilot Plant)

(2) โครงการพัฒนาระบบสะสมพลังงานสำหรับพลังงานหมุนเวียน (Energy Storage)

(3) โครงการพัฒนาระบบผลิตและระบบไฟฟ้าระดับชุมชน ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

(4) โครงการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

(5) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

แผนงานที่ 3 ศึกษา และวิจัยด้านพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กรอบจำนวนเงินไม่เกิน 162.50 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนและสามารถนำไปต่อยอดในการปฏิบัติได้จริง เช่น

(1) โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ชุมชนที่ระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง (off grid)

(2) โครงการศึกษาและวิจัยด้านนโยบายในการปรับปรุงเพื่อลดข้อจำกัดของระบบสายส่งหรือสายจำหน่ายไฟฟ้า การบริหารจัดการในการประกอบกิจการไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐ

(3) โครงการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

2. รูปแบบของการจัดสรรเงินกองทุน

2.1 เงินให้เปล่าเต็มจำนวน สำหรับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรไม่แสวงหากำไร

2.2 เงินให้เปล่าบางส่วน สำหรับผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการ โดยกำหนดสัดส่วนการขอรับสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(4) ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของงบประมาณในการดำเนินโครงการ

ผู้มีสิทธิยื่นขอรับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(4) ต้องจัดทำข้อเสนอโครงการตามแบบฟอร์มและคู่มือที่สำนักงาน กกพ. กำหนด โดยสามารถยื่นข้อเสนอโครงการผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ. ที่ http://www.erc.or.th/ หรือยื่นเอกสารด้วยตนเองในเวลาราชการ หรือนำส่งทางไปรษณีย์มายังที่อยู่

เรียน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 20 ถนนพญาไท

แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. เปิดรับข้อเสนอโครงการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2560

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ