จับตา Rubber City สงขลา ชู นิคมอุตสาหกรรมยาง มั่นใจศักยภาพสู่การสร้างรายได้ในพื้นที่

อาทิตย์ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๔:๑๕
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามโครงการอุตสาหกรรมยาง หรือ Rubber City ของนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ 1,218 ไร่ มั่นใจ Rubber City มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งทั้ง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา อีกทั้งสามารถดึงผลผลิตยางในพื้นที่มาแปรรูปก่อให้เกิดการจ้างงานได้เพิ่มขึ้น

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเข้าไปเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ 1,218 ไร่ ในการรองรับอุตสาหกรรมนวัตกรรมยาง อุตสาหกรรมน้ำยางข้น อุตสาหกรรมยางคอมปาวด์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

ที่ผ่านมารัฐบาลได้ก่อตั้งและให้ความสำคัญกับนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มากเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องการให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน เพื่อให้สามารถดึงวัตถุดิบยาง ภายในประเทศมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ สามารถยกระดับมาตรฐานราคายางพาราให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยอยู่ได้ ไม่ประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมยางจะต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และต้องก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในการลงทุนอุตสาหกรรมยางพาราของผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นไม่น่าเป็นห่วงเรื่องการตลาด แต่ในกรณีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในระดับ SMEs จะต้องมองตลาดเป็นหลัก โดยผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยในเบื้องต้นหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเป็นพี่เลี้ยงและดูแล ควบคู่ไปกับผู้ประกอบการ

ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) กล่าวเสริมว่า สำหรับนิคมอุตสาหกรรมยาง ถือว่ามีความพร้อมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราไปต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดถึงมีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมระบบสาธารณูปโภค การจัดผังพื้นที่ ที่เป็นระบบ และมีการบริหารจัดการที่รองรับอุตสาหกรรมเชิงcluster ที่รองรับอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะมีความสะดวก สบายในการดำเนินธุรกิจ และคุ้มค่าต่อการลงทุน นับเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจและเป็นการสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมยางพารา

นอกจากนี้ นิคมอุตสาหกรรมยางพารา จะเน้นให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาลงทุน มีการเชื่อมโยงและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในระดับ SMEs เข้ามาลงทุนในพื้นที่ด้วย โดยในขณะนี้ นิคมการเกษตรรัตภูมิ จำกัด ได้มีแผนที่จะนำน้ำยางสดที่รับซื้อจากสมาชิกมาแปรรูปที่Rubber City และเน้นนำผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรม มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น รองเท้าบูท รองเท้าเด็กนักเรียน ยางรองส้นเท้า และจอกรองน้ำยางพารา เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version