“ครูอ๊อด” เผยเป็น “โรคเนื้องอกในสมอง” เหนื่อยแค่ไหนก็ทน เร่ขายของมือสองหวังเปลี่ยนชีวิตเด็กกำพร้า “บ้านนกขมิ้น”

จันทร์ ๐๖ มีนาคม ๒๐๑๗ ๒๑:๒๘
หากพูดถึง "บ้านนกขมิ้น" ก็คงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นมูลนิธิที่คอยดูแลเด็กกำพร้า เร่ร่อน ซึ่งมีนานร่วม 26 ปี โดยการนำของ "ครูอ๊อด-สุรชัย สุขเขียวอ่อน" ผอ.มูลนิธิบ้านนกขมิ้น แต่มาวันนี้ "บ้านนกขมิ้น" กำลังประสบปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร เสื้อผ้า ค่าเล่าเรียน ที่มีไม่เพียงพอ จน "ครูอ๊อด" ต้องออกมานั่งเร่ขายเสื้อผ้ามือสองซึ่งขอรับบริจาคมาจากผู้ใจบุญ เพื่อนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายให้เด็กๆ แม้ว่าตัวเองจะป่วยเป็น "โรคเนื้องอกในสมอง" ครูเองยังไม่ยอมหยุดพัก และวันนี้รายการ "ปากโป้ง" ทาง ช่อง 8 เข้มทุกเรื่องราว สุดทุกอารมณ์ โดยมี "หนุ่ม-กรรชัย กำเหนิดพลอย" เป็นพิธีกร ขอเจาะลึกถึงเรื่องดังกล่าว

บ้านนกขมิ้นเกิดขึ้นมาได้ยังไง ?

"เมื่อประมาณ 27 ปีที่แล้วเราพบว่าในกรุงเทพมีเด็กเร่ร่อนจำนวนเยอะมาก ตอนนั้นผมเรียนอยู่ที่รามคำแหง แล้วมีคนมาชวนให้ผมมาเป็นครูอาสาสมัครข้างถนน แล้วก็มีโอกาสได้เจอเด็กข้างถนนเยอะ แต่ว่าไม่รู้จะพาเขาไปที่ไหน อันนี้คือจุดเริ่มต้น คือ เด็กเนี่ยกลับบ้านไม่ได้ เพราะว่าผู้ปกครองไม่ยอมรับบ้าง ผู้ปกครองเสียชีวิตไปบ้าง หรือผู้ปกครองติดเหล่าติดยา เราก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็ต้องหาบ้านสำหรับเด็กเหล่านี้ ก็ได้ไปเจอกับคุณพ่อวินซ์ เป็นชาวสวิซเซอร์แลนด์ ตอนนั้นท่านก็มาทำบ้านหลังเล็กๆ เป็นบ้านเด็กกำพร้า สาเหตุที่ท่านมาทำก็เพราะว่าท่านไปเจอเด็กเร่ร่อนแล้วอยากจะช่วย แต่ว่าก็มีเด็กแค่ 4-5 คนที่อยู่กับท่าน ท่านเป็นฝรั่ง ท่านไม่รู้จะไปหหาเด็กเร่ร่อนที่ไหนมาอยู่ที่นี่ ก็เลยมารู้จักกับผม และผมก็ได้พาเด็กหลายคนมาอยู่ที่บ้านนกขมิ้น"

ครั้งแรกบ้านนกขมิ้นมีเด็กในบ้านกี่คน ?

"ครั้งแรกๆ เลยมี 10 คนได้ครับ ตอนนั้นเป็นเด็กเร่ร่อนล้วนๆ เลยครับ เด็กจรจัด เด็กเหลือขอคนเขาเรียกอย่างนั้น เขาอยู่ไม่เป็นที่ไม่เป็นทาง เขาไม่สามารถอยู่ในครอบครัวได้ครับ บางครั้งครอบครัวทอดทิ้งเขา ไล่เขาออกจากบ้าน หรือว่าพ่อแม่ติดยาเสพติด พ่อแม่ติดคุก พ่อแม่เสียชวิต ไม่มีครอบครัวจะอยู่ เด็กบางคนที่ผมเห็นต้องเก็บอาหารในถังขยะกิน"

ทำไมตั้งชื่อบ้านนกขมิ้น ?

"ถ้าเคยได้ยินเพลงกล่อมเด็ก เนื้อเพลงว่านกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนไหนดี ถ้าใครเคยได้ฟังเพลงกล่อมเด็กจะจำได้ เพราะฉะนั้นเด็กพวกนี้ก็เหมือนนกขมิ้นที่ไม่มีรังนอน ค่ำไหนนอนนั่น ก็เลยตั้งชื่อว่าบ้านนกขมิ้น เป็นบ้านของเด็กที่ไม่มีที่นอน"

บ้านนกขมิ้นเริ่มเติบโตมาเหมือนทุกวันนี้ได้ยังไง ?

"ผมเป็นครูข้างถนนด้วยนะครับ โอกาสที่จะเจอเด็กข้างถนน และเครือข่ายครูข้างถนน และเครือข่ายคนที่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก หลายคนก็ส่งเด็กมาให้กับเราก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จากบ้านในกรุงเทพ เราก็ขยายไปบ้านสุโขทัย เชียงใหม่ เชียงราย และหลายๆ ที่ ที่ต้องขยายไปต่างจังหวัดก็เพราะว่าเราต้องการหาพื้นที่ที่จะทำเกษตรพอเพียงเพื่อจะเลี้ยงดูพวกเขาด้วย"

บ้านกขมิ้นไม่ได้มีแค่ในกรุงเทพ ?

"ไม่ได้มีที่เดียวครับ มีสาขาอยู่เชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย อุทัยธานี ประจวบฯครับ"

แล้วครูอ๊อดดูแลที่ไหน ?

"ทั้งหมดเลยครับ แต่จะมีเจ้าหน้าที่แต่ละบ้านที่ผมต้องดูแลเขาด้วยครับ ตัวผมเองประจำอยู่ที่กรุงเทพ ในกรุงเทพมีเด็กอยู่ประมาณ 40 คน ใน 40 คนนี้จะแยกออกเป็นครอบครัว มีครอบครัวอื่นๆ มาช่วยดูแล มี 4 ครอบครัวที่มาช่วยดูแลเด็ก ครอบครัวผมดูแลเด็ก(ส่งเสียค่าเล่าเรียน) 14 คน และยังมี ครอบครัวคุณกำพล ครอบครัวคุณไก่ ครอบครัวคุณปัญญา เราเป็นสถานสงเคราะห์ที่มีรูปแบบแปลกหน่อยนะครับ เราใช้ระบบครอบครัว ระบบบ้าน ภาพใหญ่คือสถานสงเคราะห์กรุงเทพมีเด็ก 40 คน ภาพย่อยคือมีครอบครัวเล็กๆ ในการดูแลเด็กอีก"

ค่าเล่าเรียน เสื้อผ้า อาหาร ของเด็กที่กรุงเทพครูอ๊อดเป็นคนหา ?

"ทั้งหมดครับ คือบ้านนกขมิ้นทั่วประเทศ 200 คน"

ได้เงินมากจากไหน ?

"มากจากกล่องบริจาคที่เราไปขอวางตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟในปั้มน้ำมัน แต่ต่อมาก็วางไม่ค่อยได้ เพราะอาจจะมีขโมยเข้าไปขโมยอาจจะทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทำให้ผู้ประกอบการก็ไม่อยากให้เราวาง ผมไม่ทราบว่ายังไงบ้างนะครับ จริงๆ ผมขอความช่วยเหลือตามที่ต่างๆ อยู่นะครับ ถามว่าตามร้านสะดวกซื้อได้ไปขอวางมั้ย ก็ขอครับ แต่ว่าเขาก็ไม่ได้ให้วางครับ เพราะว่ามันอาจจะรกหูรกตารึป่าวผมไม่เข้าใจเหมือนกันนะครับ มันไม่ค่อยสวยงามหลายที่เลยไม่ให้วาง"

มันเกินตัวไปไหมกับการดูแลเด็กเยอะขนาดนั้น ?

"ถามว่ามันเกินตัวไหมมันเป็นความตั้งใจของผมที่อยากจะดูแลเด็ก ผมเคยเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก และก็เคยเป็นเด็กเร่ร่อนมาก่อน แต่มีคนให้โอกาส สังคมให้โอกาส มีโอกาสได้เรียนหนังสือจนมีวันนี้ก็อยากจะช่วยพวกเขาเราก็พยายามทำให้มากที่สุด ปัญหาของเด็กในปัจจุบันมันก็เยอะขึ้น ปัญหาสังคมเศราฐกิจเราหลีกเลี่ยงไม่ได้"

เด็กที่เข้ามาอายุเท่าไหร่ แล้วต้องดูแลไปถึงอายุเท่าไหร่ ?

"แรกรับเข้ามานี่ 3 ขวบ ถึง 10 ขวบ แต่เราเลี้ยงดูเขาไปจนถึงเขาอายุ 18-20 ปี คือถ้าเขาเรียนจบแล้ว และอยากจะออกไปใช้ชีวิตตัวเองเราก็ให้ไปได้ แต่ถ้าอยากเรียนต่อเราก็ส่งเสียให้เขาจบมหาวิทยัย จบปริญญาตรีก็มีหลายคนแล้วนะครับ ออกไปทำงานก็มีหลายคนแล้ว"

ไม่เกินกว่าแรงครูเหรอ ?

"จะบอกว่าเหนื่อยมันก็เหนื่อยนะครับ แต่ก็ต้องขอบคุณที่สังคมช่วย เขาเห็นผมทำงานด้านนี้มา เขามาเยี่ยม เขาก็อยากมีส่วนช่วยในการที่จะเข้ามาบริจาคสิ่งของ หรือบริจาคเงินทุนทรัพย์ในการส่งเด็กเรียนหนังสือ"

ได้ยินมาว่าครูเองก็ป่วยเป็นเนื้องอกในสมอง ผ่าตัดมา 2 ครั้งแล้ว แต่ไม่ยอมพัก ?

"ผมเป็นเนื้องอกในสมอง และก็ผ่าตัดมา 2 ครั้งแล้ว ถามว่าเป็นนานแค่ไหนก็ประมาณซัก 5 ปีภรรยาป่วยเป็นโรคหัวใจ ที่รอผ่านตัดเปลี่ยนหัวใจแต่ยังเปลี่ยนไม่ได้ แต่คนก็ถามว่าทำไมผมถึงยังทำ ก็เพราะว่าผมเป็นพ่อของเด็กด้วย ไม่ใช่แค่เป็นครูอย่างเดียว ภรรยาของผมเขาก็เป็นแม่คนหนึ่งในการดูแลเด็ก "

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ