ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จับมือไอ-สปริ้นท์ อินโนเวชั่น รุกตลาดซิเคียวริตี้ไทย ขานรับนโยบาย Thailand 4.0

พุธ ๐๘ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๔๗
บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการที่ปรึกษาและวางแผนออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ จับมือไอ-สปริ้นท์ อินโนเวชั่น ผนึกกำลังนำเสนอโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนดิจิทัล (Digital Identity) มุ่งขยายตลาดเจาะครอบคลุมกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย รองรับการเติบโตด้านไอทีจากแนวนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทย และ Digital Transformation

นายอดิศร แก้วบูชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ดาต้าวัน เอเชียมีความยินดีที่ได้เป็นพันธมิตรกับไอ-สปริ้นท์ อินโนเวชั่น ผู้นำด้านระบบรักษาความปลอดภัยการยืนยันตัวตนที่สมบูรณ์แบบครบวงจร เพื่อร่วมกันขยายตลาดการใช้งานระบบซิเคียวริตี้ในองค์ธุรกิจให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย ทั้งกลุ่มการเงิน และการธนาคาร กลุ่มประกันชีวิต ธุรกิจโทรคมนาคม สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน กลุ่มเฮลธ์แคร์ และอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ อย่างเต็มที่

ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงปริมาณความต้องการในการใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน การมาถึงของ Digital Transformation และนโยบายเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ทำให้องค์กร และอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนแนวการบริหารจัดการ และการดำเนินธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน และธุรกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการระบบการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยืนยันตัวตนในการเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กรมีความต้องการสูงยิ่งขึ้น

นายพูลสุข วัฒนายิ่งเจริญชัย ผู้อำนวยการ บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในด้านการทำตลาดไอที โซลูชั่น และเป็นที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยแบบครบวงจรนั้น ดาต้าวัน เอเชีย ในฐานะของผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบเครือข่าย และระบบรักษาความปลอดภัย พร้อมให้บริการโซลูชั่นผ่านคู่ค้าที่มีจำนวนมากกว่า 100 รายทั่วประเทศ และยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและวางระบบ การติดตั้งการบริการ ฝึกอบรม และให้การสนับสนุนทางเทคนิคหลังการขายตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปี จึงทำให้บริษัท ดาต้าวันฯ ได้รับความไว้วางใจ จากองค์กรต่างๆ ทุกภาคส่วน ด้วยศักยภาพของวิศวกรดูแลระบบที่มีความชำนาญ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากล โดยมีฐานกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (End User) หลากหลายองค์กร คือ กลุ่มการเงินและการธนาคาร กลุ่มประกันชีวิต กลุ่มโทรคมนาคม กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต สหกรณ์ กลุ่มเฮลธ์แคร์ องค์กรภาครัฐและเอกชนทุกขนาด รวมถึงสถาบันการศึกษา

มร.ดัช อึง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอ-สปริ้นท์ อินโนเวชั่น กล่าวว่า ประเทศไทยคือหนึ่งในตลาดสำคัญของไอ-สปรินท์ จากความแข็งแกร่งของเราในภาคธุรกิจธนาคาร ธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงเป็นลูกค้าในการใช้ระบบซีเคียวริตี้ของไอ-สปริ้นท์ ด้วยเป้าหมายในการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทุกภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มการเงิน การธนาคาร เราต้องการพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งที่มีศักยภาพมหาศาลในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในประเทศได้เป็นอย่างดี

"เราเชื่อมั่นในศักยภาพของดาต้าวัน เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านไอทีมาเป็นเวลากว่า 20 ปี และมีเครือข่ายการทำธุรกิจทั้งในส่วนบริษัทคู่ค้า(Partner) และฐานลูกค้าองค์กร (End User) เป็นจำนวนมากที่จะช่วยให้ไอ-สปริ้นท์สามารถเข้าถึงพร้อมทั้งขยายส่วนแบ่งทางการตลาดธุรกิจไอทีในประเทศไทยได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับเรา ดาต้าวัน เอเชีย คือพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุดสำหรับเป้าหมายในการที่จะพิชิตกลุ่มธุรกิจธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มเฮลธ์แคร์ องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เราจึงมั่นใจว่าความรู้ที่ได้ถ่ายทอดข้อมูลให้กับทีมงานที่มีคุณภาพของทาง ดาต้าวันฯ ในการจัดการโซลูชั่นไอ-สปริ้นท์ การยืนยันตัวตน สามารถทำให้ ดาต้าวันฯ ให้บริการโซลูชั่น และให้คำปรึกษา คำแนะนำการใช้งานระบบให้แก่บริษัทคู่ค้า และลูกค้าองค์กรได้อย่างยอดเยี่ยม" มร.อึง กล่าว

การขยายฐานธุรกิจในประเทศไทยครั้งนี้สนองตอบต่อนโยบาย Thailand 4.0 ที่เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนา และขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม (value-based economy) ที่เน้นการบริหารจัดการด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กก้าวสู่การเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่านโยบายดังกล่าว จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้นในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า โดยไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) จะส่งผลมหาศาลต่อการใช้จ่ายด้านไอทีในประเทศไทย โดยในปี 2016 ตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศอยู่ที่ราว 4.15 แสนล้านบาท และเป็นที่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นถึง 5 แสนล้านบาทในปี 2020 ซึ่งเป็นที่เชื่อมั่นว่านอกเหนือธุรกิจด้านการเงินและการธนาคารแล้ว ในกลุ่มประกันชีวิต สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ กลุ่มเฮลธ์แคร์ และอุตสาหกรรมการผลิตจะเป็นฐานลูกค้าองค์กรในกลุ่มธุรกิจหลักต่อไปที่จะผลักดันให้การใช้งานไอทีในธุรกิจเติบโตสูงขึ้น

"ที่สำคัญ การเกิดขึ้นของ Thailand 4.0 จะเป็นตัวกระตุ้นความต้องการใช้งานระบบซิเคียวริตี้ที่มีความแข็งแกร่งเพื่อลดปัญหาการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับและระบบภายในโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความอ่อนแอของระบบ ด้วยประสบการณ์ในการให้บริการผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น และการพิสูจน์ตัวตน (versatile authentication) มากว่า 16 ปี ลูกค้าของไอ-สปริ้นท์ครอบคลุมสถาบันการเงินทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมการผลิต เฮลธ์แคร์ การศึกษา องค์กรข้ามชาติ และอื่นๆ" มร.ดัช อึง กล่าว

ทั้งนี้ ไอ-สปริ้นท์ออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และประเทศจีน (ปักกิ่ง และจูไห่) พร้อมด้วยพนักงานมากกว่า 200 คน วิศวกรและนักพัฒนามากกว่า 120 คนในภูมิภาคเอเชีย ทำให้บริษัทมีความคล่องตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และปรับแต่งโซลูชั่นให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด

ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่น ไอ-สปริ้นท์ อินโนเวชั่น เพื่อทำตลาดในประเทศ

• AccessMatrix Universal Authentication Server (UAS) คือ ระบบยืนยันตัวตนที่ออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อกับการยืนยันตัวตนชนิดอื่นๆ ได้ง่าย อาทิ การยืนยันตัวตนแบบรหัสผ่านที่ใช้ได้ครั้งเดียว การยืนยันตัวตนแบบไบโอเมทริก เป็นต้น โดยที่รองรับการระบบการยืนยันตัวตนที่หลากหลายโดยใช้การทำงานลักษณะ Pluggable Authentication Module (PAM) โดยกมีลักษณะทำงานการเชื่อมต่อสำเร็จรูปไว้แล้ว เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับการยืนยันตัวตนแบบอื่นได้ง่าย สะดวก

• AccessMatrix™ Universal Sign On: โซลูชั่น Secure Enterprise Single Sign-On สำหรับพนักงานในองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการการรับรองตัวบุคคล และการบังคับใช้รหัสผ่านให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กรทั้งยังช่วยลดความซับซ้อนในการเข้าใช้แอพพลิเคชั่น ด้วยการยืนยันตนเพียงครั้งเดียว ซึ่งใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพ และได้รับรับรองว่ามีความปลอดภัยสูงสุด

• AccessMatrix™ Universal Access Management (UAM): ระบบ Single Sign-On (SSO) แบบมีเอเจนต์ อย่างครอบคลุม การจัดการการเข้าใช้งานเว็บ ระบบ Single Sign-On (SSO) แบบรวมศูนย์ การจัดการการอนุญาตจากภายนอก และระบบการบริหารจัดการ ระบบที่มอบอำนาจตามลำดับขั้น การต่อยอดเทคโนโลยี AccessMatrix™ จะช่วยให้ UAM มีระบบความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่นที่เข้มงวดมากที่สุดด้วยการจัดเตรียม การดูแลระบบ การรับรองความถูกต้อง และบริการการตรวจสอบภายใน (4As) ที่ปลอดภัย ให้กับแอปพลิเคชั่นของธุรกิจภายในองค์กร UAM จะช่วยให้แอปพลิเคชั่นทางอินเทอร์เน็ต / แอปพลิเคชั่นขององค์กรที่กำหนดเองสามารถเข้าใช้งานบริการต่างๆ ของ IAM (Identity & Access Management) ไดร่วมกันและลดต้นทุนด้านการบูรณาการ ของระบบลง ซึ่งจัดทำขึ้นตามข้อกำาหนดทางกฎหมายและมาตรฐานของภาคธุรกิจ ธนาคารและการเงิน

• AccessMatrix™ Universal Credential Manager (UCM): คือ โซลูชันการจัดการบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ในการใช้งานในระดับต่างๆ (Next Gen Privileged Account Activity Management (PAAM)) โดยไม่ต้องใช้เอเจนต์ และ สามารถบันทึกภาพและใช้งานร่วมกับ Single Sign on (SSO) มีคุณสมบัติ ยืดหยุ่นและสะดวกในการจัดการสิทธิ์การใช้งาน รองรับการดูแลระบบและการกระจายสิทธิ์อำนาจ แบบหลายระดับชั้น สอดคล้องกับการกำหนดกฎเกณฑ์มีการแบ่งแยกหน้าที่ต่าง ๆ สำหรับ ผู้ดูแลระบบ ไม่ว่าจะเป็น ผู้สร้าง / ผู้ตรวจสอบ และจำกัดสิทธิ์ตามหน้าที่) การติดตั้งและจัดการระบบได้ง่าย การจัดการสิทธิ์ แบบแยกตกลุ่มในการใช้งานแตกต่างกันของผู้ดูแลระบบ การนำเข้าข้อมูลจากที่อื่นได้หลากหลาย สามารถใช้งานร่วมกับไดเร็กทอรีผู้ใช้เดิมที่มีอยู่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ