โรงพยาบาลพญาไท2 แนะสร้างสุขภาพดีด้วยการปรับวิถีชีวิต (Total Lifestyle Modification หรือ TLM) ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

พฤหัส ๐๙ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๕๕
โรงพยาบาลพญาไท 2 จัดกิจกรรม "เคล็ดลับ...สร้างสุขภาพดีด้วยการปรับวิถีชีวิต" โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ด้านเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพญาไท 2 เพื่อมุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง หรือ Total Lifestyle Modification (TLM) ป้องกันและลดจำนวนผู้เสียชีวิตด้วย "โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง"ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยง คือ ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง สูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา เป็นต้น ที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี และมีรายงานสำรวจวิจัยที่ทำกับคนไข้อายุ 50 ปีขึ้นไป พบว่าคนไทย 1 ใน 3 เป็นความดันโลหิตสูง และอีกครึ่งหนึ่งตรวจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง

"การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ทั้งการทำงาน การออกกำลังกาย การนอน การรับประทานอาหาร รวมถึงการจัดการความเครียดอย่างเป็นระบบ เป็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการเลือกรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุโรคร้ายโดยไม่รู้ตัว จากงานวิจัยในต่างประเทศหลายชิ้นยืนยันเหมือนกันว่ามีอาหาร 7ประเภทที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ 1.ไส้กรอก แฮม 2.เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม 3.น้ำตาล 4.ไขมันอิ่มตัว5.ธัญพืชขัดสี (แค่เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ก็ดีต่อสุขภาพมากแล้ว) 6.เกลือ 7.ไขมันทรานส์ ได้แก่ครีมเทียม เนยเทียม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่ส่งผลร้ายในทางโภชนาการ ในอเมริกาถือเป็นอาหารผิดกฎหมาย แต่ในเมืองไทยยังอนุญาตให้ใช้อยู่

นพ.สันต์ ยังกล่าวต่อว่า ความดันโลหิต คือดัชนีชี้วัดสุขภาพที่แม่นยำที่สุด สำหรับคนที่มีความดันโลหิต ควรหันมา "เลือกรับประทาน"จะช่วยป้องกันดีที่สุด อาหารลดความดัน ได้แก่ เมล็ดธัญพืชจากธรรมชาติ (Flaxseed) รับประทานวันละ 2 ช้อนโต๊ะ บีทรูท ขึ้นช่าย กระเทียม ถั่ว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส่วนอาหารต้านมะเร็ง เป็นจำพวก หอม กระเทียม บล็อกโครี่ กะหล่ำปลี คะน้า ถั่ว 3 อย่าง และขมิ้นชัน แนะนำให้รับประทานทุกวันวันละ 2 ท่อนเล็ก โดยสรุปแล้วแนะนำให้รับประทานมังสวิรัติเพราะ ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดโปรตีน เนื่องจากยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ที่ระบุชัดว่าการขาดโปรตีนมีผลต่อคนที่เลยวัยเจริญเติบโตแล้ว ดังนั้นโปรตีนจากผักและผลไม้ถือว่าเพียงพอแล้ว

สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถทำได้ง่ายๆ เริ่มจาก การปรุงอาหารแบบแคลอรี่ต่ำ (Low Calorie Cooking Style) ได้แก่ การทอดด้วยลมร้อน (Air-Fryer)โดยใช้เครื่องทอดด้วยลมร้อนแทนการทอด ผัดแบบไม่ใช้น้ำมัน ผัดโดยใช้น้ำแทนน้ำมัน เน้นการใช้ผัก ธัญพืชทั้งเมล็ด และถั่วต่างๆ การอบถั่วและนัท (Baking nut) ไว้เป็นอาหารว่างรับประทานกับกาแฟ น้ำปั่นไม่ทิ้งกาก เป็นเครื่องดื่มซอฟท์ดริ๊งค์ เพราะส่วนที่มีคุณค่าที่สุดของผลไม้คือเมล็ดและผิวเปลือก และควรมีครบทุกรสชาติ ทั้ง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด ฝาด และ ขม จากหลักฐานวิทยาศาสตร์ พบว่า สารในพืชที่ลดอุบัติการณ์ของมะเร็งและโรคหลอดเลือดนั้นล้วนมีรสขม ฉุน และฝาดทั้งสิ้น

การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Training) หรือ การเล่นกล้าม คือ การออกกำลังกายที่มุ่งเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ ของร่างกาย โดยวิธีให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงไปทีละกลุ่มด้วยท่าออกกำลังกายแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละท่าใช้ฝึกกล้ามเนื้อแต่ละกลุ่ม แต่ละท่าจะใช้วิธีทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง โดยอาจมีหรือไม่มีอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เช่น สปริงยืด ดัมเบล ซึ่งแตกต่างจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic excercise) ที่มุ่งให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายได้ออกแรงพร้อมๆ กันแบบต่อเนื่องกันไปเพื่อเพิ่มสมรรถนะของระบบหัวใจหลอดเลือด เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือการเล่นกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนผู้สูงอายุ มีงานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ดีที่สุดคือการเดินเร็ว (brisk walking)

การสร้างและธำรงรักษาแรงบันดาลใจ (Self motivation )

ขั้นตอนติดตาม เป็นระยะหลังจากที่ทุกคนมีทักษะที่จะดูแลตนเองได้แล้ว และกลับไปใช้ชีวิตปกติที่บ้านแล้ว เป็นการติดตามกระตุ้นไม่ให้หมดแรงกลางคัน ผ่านกลไกการสื่อสารกันทางโทรศัพท์ อีเมลทุกเดือน โดยมีแพทย์ประจำตัวและพยาบาลประจำตัวเป็นศูนย์กลาง มีระบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นกลไกเสริม มีระบบฐานข้อมูลติดตามตัวชี้วัดรายบุคคล โดยขั้นตอนนี้จะทำไปอย่างต่อเนื่องตลอดไป แม้จะครบกำหนด

ด้านผู้ที่เข้าร่วมงานเวิร์คช้อป คุณวาสนา ข้าวบัว วัย 58 ปี กล่าวว่า ตนเป็นผู้ป่วยโรคไต จึงทำให้ต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดีมาตลอดอยู่แล้ว คุณหมอของโรงพยาบาลที่รักษาอยู่เขาห้ามคนโรคไตไม่ให้รับประทานข้าวกล้อง พอลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อยๆ จนวันนี้คุณหมอสันต์บอกว่า จากผลงานวิจัยยืนยันแล้วว่า ข้าวกล้องดีกับทุกคนจริงๆค่ะ แม้คนป่วยโรคไตก็สามารถรับประทานได้ ก็เลยคิดว่าจะรับประทานข้าวกล้องต่อไปแบบสบายใจได้แล้วค่ะ"

ส่วน คุณนิดา ปราชญ์วิทยา ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปอีกท่านเป็นผู้รักการดื่มนม เธอได้วิธีเลือกซื้อนมที่ถูกต้องกลับไป "เราเป็นคนชอบดื่มนมรสจืดอยู่แล้ว เพื่อบำรุงแคลเซียม วันนี้ก็ได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นจากคุณหมอ คือให้สังเกตป้ายข้างขวด คำว่า Low Fat ถือว่ายังมีไขมัน ที่ดีที่สุดจะต้องเลือกแบบไขมัน0%"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version