ผลสำรวจแกรนท์ ธอนตัน เผยอัตราส่วนผู้บริหารหญิงในไทยยังคงติดสามอันดับแรกของเอเชียแปซิฟิก

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๕๓
เนื่องในวันสตรีสากลโลก ผลสำรวจธุรกิจประจำปีฉบับใหม่ของแกรนท์ ธอนตัน จากธุรกิจกว่า 5,500 ราย ใน 36 ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ เผยถึงสัดส่วนผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากร้อยละ 23 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 25 ในปี 2560 โดยแรงขับเคลื่อนหลักในครั้งนี้ มาจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีสัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 ในปีก่อน มาเป็นร้อยละ 29 ในปีนี้ ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงที่อยู่ที่ร้อยละ 13 อย่างไรก็ตามสัดส่วนของธุรกิจที่ไม่มีผู้หญิงในฐานะผู้บริหารระดับสูงเลยทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น กลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2560 อีกด้วย

ในประเทศไทยสัดส่วนของผู้บริหารหญิงในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 31 และถือเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรองจากอินโดนีเซีย (ร้อยละ 46) และฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 40) ตามลำดับ โดยในปีนี้ผลสำรวจยังพบว่ามีธุรกิจถึงร้อยละ 25 ในประเทศไทยที่ไม่มีผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเลย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21 ในปี 2559 ทั้งนี้ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ CEO (ร้อยละ 40) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินหรือ CFO (ร้อยละ34) เป็นตำแหน่งงานที่มีสัดส่วนผู้หญิงดำรงตำแหน่งมากที่สุดในผลสำรวจของประเทศไทย ขณะที่ผลสำรวจทั่วโลกพบธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวมีสัดส่วนผู้หญิงในผู้บริหารระดับสูงที่สุดถึงร้อยละ 37

โนเอล แอชโพล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชีของแกรนท์ ธอนตัน ในประเทศไทยกล่าวว่า "ในปีนี้ตัวเลขสัดส่วนของผู้หญิงในฐานะผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังต้องการความคืบหน้าที่มากกว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนธุรกิจที่ไม่มีผู้หญิงในทีมผู้บริหารระดับสูงนั้นเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง และนักธุรกิจเหล่านั้นจำเป็นต้องตระหนักและหันกลับมามองถึงศักยภาพของผู้หญิงที่ไม่ได้ถูกใช้ในการบริหารจัดการอย่างเต็มที่"

"สำหรับประเทศไทย แม้ว่าเราจะยังอยู่ในสามอันดับแรกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิกเอง แต่อาจมีแนวโน้มที่กำลังจะลดลง หากเราไม่พยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนผู้หญิงในโลกธุรกิจ เราอาจต้องเผชิญหน้ากับปัญหาแบบเดียวกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีสัดส่วนผู้บริหารหญิงแค่เพียงร้อยละ13 การสร้างความสมดุลระหว่างบทบาทการเป็นแม่ที่ดีและการประสบความสำเร็จในอาชีพยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้หญิงไทย สำหรับผู้หญิงไทยส่วนใหญ่แล้วแม้ครอบครัวมักเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเสมอ แต่ในบางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือกระหว่างการให้เวลากับครอบครัวหรือมีการมีหน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ เพียงเพราะขาดกระบวนการสนับสนุนที่เพียงพอ"

นอกจากนี้ ผลการสำรวจทั่วโลกของแกรนท์ ธอนตัน ได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนายังคงเป็นผู้นำในเรื่องของความหลากหลาย (Diversity) มากกว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยในปีนี้ ยุโรปตะวันออกมีสัดส่วนผู้หญิงในบทบาทผู้บริหารมากที่สุดถึงร้อยละ 38 และสัดส่วนธุรกิจที่ไม่มีผู้หญิงในทีมผู้บริหารระดับสูงเลยมีเพียงแค่ร้อยละ 9 เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มประเทศ MINT (เม็กซิโก อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และตุรกี) มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกมากที่สุด โดยมีสัดส่วนผู้หญิงในบทบาทผู้บริหารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 28 ในปี 2560 และสัดส่วนธุรกิจที่ไม่มีผู้หญิงในทีมผู้บริหารระดับสูงนั้น ลดลงจากร้อยละ 36 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 27 ในปี 2560

สิ่งนี้แสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่มเศรษฐกิจ G7 ซึ่งมีสัดส่วนผู้หญิงในบทบาทผู้บริหารคงที่อยู่ที่ร้อยละ 22 และสัดส่วนธุรกิจที่ไม่มีผู้หญิงในทีมผู้บริหารระดับสูงที่ร้อยละ 39 ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในอันดับรั้งท้ายของผลสำรวจเพราะมีสัดส่วนผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารระดับสูงเพียงร้อยละ 13 และสัดส่วนธุรกิจที่ไม่มีผู้หญิงในบทบาทผู้บริหารสูงถึงร้อยละ 54 ถือเป็นภูมิภาคที่มีผลสำรวจแย่ที่สุดอีกด้วย

โนเอล กล่าวเสริมว่า "ผลสำรวจจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักนั้นอาจดูแล้วทำให้ท้อใจ สาเหตุของความไม่คืบหน้าในเรื่องดังกล่าวนั้นมันมีมากมายและแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมทางธุรกิจของแต่ละองค์กร ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสังคมของประเทศหรือภูมิภาคที่พวกเขาอยู่อาศัย แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เรารู้สึกว่าปัญหาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แม้บริษัทอาจมองว่าความท้าทายเกี่ยวกับปัญหาด้านความหลากหลายนั้นได้รับการจัดการแล้ว แต่หลักฐานที่บอกเรามันไม่เป็นเช่นนั้น"

"หลายบริษัทในวันนี้จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิผล นวัตกรรม และพร้อมเปิดกว้างมากขึ้นหากพวกเขาต้องการที่จะเติบโต ความหลากหลายถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของพวกเขา องค์กรที่ไม่เปิดรับในเรื่องดังกล่าวอาจพาตัวเองไปสู่ความเสี่ยงในการปิดกั้นศักยภาพของตน และสูญเสียการเข้าถึงความคิดเห็นที่หลากหลายอีกด้วย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version