มรภ.สงขลา อบรมครูชายแดนใต้ใช้สื่อมัลติมีเดียพัฒนาการสอน-เพิ่มทักษะภาษา

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๒๘
สำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา จัดอบรมพัฒนาดิจิตอลและสื่อมัลติมีเดีย เรียนรู้วัฒนธรรม-ภาษาอาเซียน ชี้เหมาะเป็นเครื่องมือช่วยสอนยุคไทยแลนด์ 4.0 สอดรับนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาพื้นที่ชายแดนภาคใต้

นายเสรี ชะนะ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและงานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการพัฒนาดิจิตอลและสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาของประเทศอาเซียน ให้แก่บุคลากรทางการศึกษาและบุคคลทั่วไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (สะบ้าย้อย เทพา จะนะ และ นาทวี) จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 วันที่ 13-17 มี.ค. และ รุ่นที่ 2 วันที่ 3-7 เม.ย.60 ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา ว่า ตั้งเป้าผู้เข้าอบรมไว้ 110 คน ขณะนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมแล้ว 140 คน วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้งานดิจิตอลและสื่อมัลติมีเดียได้ ช่วยให้มีเครื่องมือ แหล่งข้อมูล และทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ตลอดจนตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่มีทักษะทางภาษาแตกต่างกันในยุค Thailand 4.0 ทั้งยังสอดคล้องตามประเด็นยุทธศาสตร์ มรภ.สงขลา เรื่องการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสันติสุข โดยจัดการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ของภาครัฐ

นายเสรี กล่าวว่า ประกอบกับสำนักวิทยบริการฯ เล็งเห็นถึงปัญหาการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันของสถานศึกษา ที่ควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนในด้านดิจิตอลและสื่อมัลติมีเดีย นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการสื่อสารได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สอดรับกับนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ที่ต้องการให้การศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษฯ มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีพลังในการขับเคลื่อนถึงนักเรียนและประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งเมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ ทุกฝ่ายได้เตรียมแผนงานการศึกษาที่มาจากการหารือร่วมกัน เพื่อให้เรื่องต่างๆ ที่จะดำเนินการเกิดความต่อเนื่องตามนโยบายสำคัญ เช่น พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยระบบ DLTV และ DLIT ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจร พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบ TEPE Online โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เป็นต้น

รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า หรือแม้แต่การจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้เป็นกรอบในการผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิดในทุกภาคส่วน การปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) กล่าวคือ สามารถสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และ ทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ