“ภูเก็ต” จัดงาน “นครภูเก็ตวิชาการ เปิดโลกสัมมาชีพไทยแลนด์ 4.0” เดินหน้าจัดแนะแนวการศึกษาต่อสายอาชีวะ ตอบโจทย์ “การมีงานทำ”

ศุกร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๓๖
จังหวัดภูเก็ต โดยเทศบาลนครภูเก็ต สถาบันอาชีวศึกษาในจังหวัดภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต มูลนิธิสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต มูลนิธิเพื่อการพัฒนาธุรกิจและชุมชน BCL และสมาคมโรงแรมภาคใต้ ร่วมกันจัดงาน "นครภูเก็ตวิชาการ 2017" และ "กิจกรรมเปิดโลกสัมมาชีพไทยแลนด์ 4.0" เพื่อประกวดและแข่งขันผลงานด้านวิชาการ และจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลหรือไทยแลนด์ 4.0

นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่าการจัดงานนครภูเก็ตวิชาการ 2017 และกิจกรรมเปิดโลกสัมมาชีพไทยแลนด์ 4.0 เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในจังหวัดภูเก็ตที่เห็นความสำคัญการศึกษาและตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยมุ่งเน้นไปในด้านสายอาชีพเพื่อก้าวสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ

"การจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาหรือเปิดโลกสัมมาชีพไทยแลนด์ 4.0 จัดขึ้นเพื่อเป็นการแนะแนวการศึกษาต่อในสายอาชีพสาขาวิชาต่างๆ ในสถาบันการอาชีวศึกษาในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้มีองค์ความรู้และมีข้อมูลออย่างเพียงพอในการประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อให้ตรงกับความถนัดและความสนใจของตนเอง"

โดยในเวที "เปิดโลกสัมมาชีพไทยแลนด์ 4.0" ได้มีการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์และปัญหาของการศึกษาไทยในปัจจุบันว่า มีผู้จบปริญญาตรีเป็นจำนวนมากแต่ต้องตกงานเพราะเรียนจบไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งต้องการกำลังงานในสายอาชีพ และเปิดภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตว่ามีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ โดยมีโรงแรมมากกว่า 1,000 แห่ง มีห้องพักมากกว่า 1 แสนห้อง และในอนาคตเมื่อการขยายและพัฒนาสนามบินภูเก็ตเสร็จสมบูรณ์ รวมไปถึงการเกิดโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชื่อมจากตัวเมืองไปสู่สนามบินในอนาคต ก็จะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในด้านการศึกษาต่อในสาขาอาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ในการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "เส้นทางการศึกษาสู่อาชีพ" โดย นายชัยโรจน์ เตชะเกสรี นักธุรกิจด้านยานยนต์จาก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาธุรกิจและชุมชน BCL ได้นำเสนอทางเลือกต่างๆ เพื่อตัดสินใจศึกษาต่อในสายอาชีวะและสายสามัญ โดยระบุว่ามีเด็กจบ ม.3 กว่า 7 หมื่นคนต่อปีที่ไม่ได้เรียน ต้องออกไปขายแรงงานแข่งกับแรงงานต่างชาติ กินเงินรายวัน ดังนั้นถ้าเราไม่อยากจะอยู่ในกลุ่มนี้เราจะต้องรู้ว่าชีวิตของเรามีทางเลือก 2 ทางคือการเรียนต่อในสายสามัญและสายอาชีวะ ถ้าเรียนต่อสายสามัญจะต้องเรียนต่ออีก 3 ปีจนจบ ม.6 แล้วเรียนต่ออีก 4 ปีจบปริญญาตรี รวมเป็น 7 ปี แล้วจะมีคนที่เรียนจบเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นถึงจะมีงานทำ

"แต่ถ้าเรียนสายอาชีวะเรียน ปวช.ไป 3 ปี เท่ากับ ม.6 จบแล้วทำงานไปก่อน ทำงานเสร็จแล้วถ้าชอบหรือสนใจในเรื่องอะไรก็ไปเรียนต่อ ปวส.อีก 2 ปี จบแล้วทำงานก่อน แล้วจะไปต่อปริญญาตีอีก 2 ปี ก็ทำได้ ซึ่งสามารถที่จะมีรายได้ตลอดเวลาที่เรียน วันนี้การเรียนปริญญาตรีในหลายๆ สาขาวิชาอย่าเชื่อว่าจบแล้วจะมีงานทำ โดยเฉพาะสาขาด้านการบริการ เช่นโรงแรมซึ่งต้องการทักษะและประสบการณ์ในการทำงานเพราะเป็นการปฏิบัติงานล้วนๆ ซึ่งไม่สามารถสู้กับเด็กที่จบ ปวช. 7 ปี ที่เรียนหนังสือมา ไม่มีทางที่จะมีทักษะความรู้และประสบการณ์เท่ากับคนที่จบ ปวช. หรือ ปวส. ที่ได้ลงมือทำงานมาก่อน"

นายรุ่งวิทย์ เติมวิทยาเวช กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอลด์มูน จำกัด รุ่นพี่อาชีวะที่ประสบความสำเร็จจากการออกแบบเครื่องจักรเพื่อผลิตเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงระดับโลก กล่าวในการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "จาก ปวช.สู่เจ้าของโรงงานชั้นนำของประเทศ" ว่าการเรียนต่อในสายสามัญหรือสายอาชีวะไม่ว่าจะในสาขาวิชาอะไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราอยากที่จะเป็น ต้องการที่จะทำหรือมีอาชีพอะไร หาเป้าหมายของชีวิตตัวเองให้เจอ

"เวลาที่เราจะคิดอะไร ต้องตั้งเป้าหมายว่าต้องทำให้ได้ก่อน เป็นจุดเริ่มต้น แล้วก็นำไปสู่การค้นหาข้อมูล เพื่อหาทางให้เราไปถึงจุดหมายให้ได้ ดังนั้นไม่ว่าเราจะคิดและทำอะไร ต้องเริ่มต้นจากการทำ ทำอย่างมีเป้าหมาย หาประสบการณ์ พัฒนาต่อเนื่อง เราก็จะประสบความสำเร็จได้ในทุกอาชีพ"

ด้าน นางสาวธันว์ธิดา วงค์ประสงค์ นักวิชาการ สสค. กล่าวว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นหนึ่งใน 14 จังหวัดที่ทำงานร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ในการปฏิรูปการศึกษา ภายใต้ โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ Area-based Education (ABE) และยังร่วมกับ สสค. และ สพฐ. ในขับเคลื่อน "โครงการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพระดับจังหวัด" เพื่อเตรียมพร้อมด้านแรงงานในเด็กและเยาวชนให้สอดรับกับทิศทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ให้แต่ละจังหวัดมีขีดความสามารถที่จะดำเนินการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพได้เองในระยะยาวอีกด้วย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม