ผู้ว่าฯอภิรักษ์ปราศรัยชี้สมาชิก ปชร.กทม.เป็นแกนนำสำคัญป้องกันชาติ

ศุกร์ ๒๙ เมษายน ๒๐๐๕ ๑๕:๓๔
กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--กทม.
เมื่อวานนี้ (28 เม.ย.48) เวลา 13.00 น. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวปราศรัยในงาน “ผู้ว่าฯกทม. พบ ปชร. (ประชาชนมีส่วนร่วม) ช่วยกันพัฒนากรุงเทพมหานคร” แก่สมาชิกประชาชนมีส่วนร่วม (ปชร.) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,500 คน โดยมี พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน พลโทจงศักดิ์ พานิชกุล ผู้อำนวยการส่วนงานมวลชนและกิจการพิเศษ สำนักเลขาธิการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ร่วมพิธี พร้อมชมการสาธิตการปฏิบัติงานของปชร. (ประชาชนมีส่วนร่วม) ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
กทม.จับมือ กอ.รมน. สร้างสมาชิกเครือข่ายแก้ไขปัญหาร่วมพัฒนาชาติ
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จัดกิจกรรม “ผู้ว่าฯกทม. พบ ปชร. (ประชาชนมีส่วนร่วม) ช่วยกันพัฒนากรุงเทพมหานคร” ขึ้น เพื่อให้สมาชิก ปชร. ซึ่งผ่านการอบรมโครงการประชาชนมีส่วนร่วมของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ปชร.กอ.รมน.) ได้พบปะและรับฟังนโยบายจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อีกทั้งรวมตัวกันสร้างเครือข่ายประชาชนมีส่วนร่วมเขตกรุงเทพมหานคร ให้มีข้อมูล ข่าวสาร ข่าวกรอง ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง โดยสมาชิกปชร. จะมีส่วนสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศโดยสร้างเครือข่ายประชาชน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ นำมาซึ่งความอบอุ่น ความเอื้ออาทร สมานฉันท์ และขจัดความขัดแย้งในสังคม อันจะทำให้สังคมและประเทศชาติมีความน่าอยู่และมีความสุขยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร มีจำนวนสมาชิกประชาชนมีส่วนร่วม (ปชร.) เขตกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 43 เขต จำนวน 1,500 คน ซึ่งจะดำเนินการอบรมสมาชิกปชร. ให้ครบทั้ง 50 เขต ภายในปีงบประมาณ 2548 โดยอีก 7 เขตที่เหลือ ได้แก่ พระโขนง วัฒนา วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม สายไหม และบางคอแหลม
กทม. สนับสนุนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมในทุกด้าน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. ตระหนักถึงบทบาทของประชาชนทุกหมู่เหล่า ในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนงานของทางราชการ โดยเฉพาะด้านความมั่นคง ซึ่งมีสมาชิก ปชร.เป็นแกนนำสำคัญ ที่จะร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน และความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ อันก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
ทั้งนี้ การดำเนินงานของสมาชิกปชร. สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล ที่มุ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญและนับเป็นหัวใจหลักในการพัฒนากรุงเทพมหานครเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการสร้างสรรค์งานพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้ปัญหาตามความต้องการของชาวกทม. โดย กทม.ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการมีส่วนร่วมชาวกรุงเทพมหานครสู่เมืองน่าอยู่ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายทุกด้านของกทม.เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
“ปชร.” สมาชิกบ้านหลังใหญ่“บ้านเลขที่ 173”
นอกจากนี้ กทม.ยังได้จัดทำโครงการ “ครอบครัวบ้านเลขที่ 173” ซึ่งได้รวบรวมสมาชิกชาวกทม. เพื่อร่วมในโครงการป้องกันยาเสพติดในชุมชน ซึ่ง ณ วันนี้ สมาชิก ปชร.ทุกคน นับเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน คือ ครอบครัวบ้านเลขที่ 173 โดยทุกคนมีสิทธิที่จะทำให้บ้านเมืองของเราน่าอยู่ อีกทั้งมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลให้บ้านเมืองของเราสงบสุข มีความมั่นคง ปลอดภัย จากภยันตรายต่างๆ ทั้งจากภัยยาเสพติด ภัยจากอาชญากรรม ภัยจากการก่อการร้าย ส่งผลให้บ้านของเรา ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนประเทศชาติปลอดภัย ลูกหลานเติบโตขึ้นเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ