มูลนิธิไฟเซอร์เปิดตัวโครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข”

พฤหัส ๓๐ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๕๖
เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "Pfizer Healthy Aging Society" หรือ "ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข" ปฏิบัติการความรู้เชิงรุก กระตุ้นคนไทยตั้งแต่วัยก่อนเกษียณ (45-59 ปี) ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ซึ่งเป็นภัยคุกคามผู้สูงวัยไทย และรณรงค์เตรียมความพร้อมตั้งแต่วัยก่อนเกษียณ เพื่อกายฟิต-จิตดี-มีออม เดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ

ภายในงานได้จัดกิจกรรมเสวนา หัวข้อ "สังคมผู้สูงวัย ไม่ใช่แค่เรื่องของคนสูงวัย แต่คือความท้าทายของสังคมไทยในอาเซียน" ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์วิมล บ้านพวน รองผู้อำนวยการ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการสถาบันคีนันแห่งเอเซีย และ ภ.ญ.ศิริวรรณ ชื่นชมสกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสนทนาสาระบันเทิง สุขลืมวัย สดใสลืมอายุ กับ "ป้าแป๋ว" กาญจนา พันธุเตชะ คุณป้าแบ็คแพ็ค ผู้สูงวัยที่แปกเป้เที่ยวรอบโลกในวัยเกษียณ จนกลายเป็นขวัญใจโลกออนไลน์ กับเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณ

โครงการ "ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข" นับเป็นโครงการแรกที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุ ด้วยการสร้างรูปแบบสังคมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่มีความยั่งยืน สามารถประยุกต์และปรับใช้กับบริบทของสังคมไทยได้ ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2557 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งมีแนวโน้มที่อัตราของผู้สูงวัยจะเพิ่มสูงจนถึงร้อยละ 30 ภายใน 15 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) อย่างสมบูรณ์" และจะเป็นความท้าทายต่อเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเมตาบอลิค (หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน) หรือ NCDs โครงการนี้จึงมุ่งพัฒนาศักยภาพและสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ประชากรก่อนวัยสูงอายุ และผู้สูงอายุ เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพให้เป็นไปในเชิงบวก เพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตแบบมีคุณภาพอย่างแท้จริงในอนาคต โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (สิงหาคม 2559 - สิงหาคม 2562) ในสองพื้นที่ดำเนินงานได้แก่ กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตยและบางขุนเทียน) ซึ่งได้เริ่มดำเนินโครงการแล้ว และจะเริ่มขยายขอบเขตการดำเนินโครงการไปยังจังหวัดอุบลราชธานี (อ.เมือง และ อ.วารินชำราบ) ต่อไป

มร.เซลิม เซสกินประธานกรรมการมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย กล่าวว่ามูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัดมีการดำเนินภารกิจที่ต่างกันด้วยเป้าหมายเดียวกัน (2 Missions : 1 Goal) คือการมุ่งที่จะมอบ "คุณภาพชีวิตที่ดี" สำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ตั้งแต่ในระดับโลก อาทิ การดำเนินโครงการเก็ท โอลด์ (Get Old) ของบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านการรับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ (Good Health and Well-Being) ด้วยการการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับองค์กรต่างๆ ระดับโลกระหว่างการประชุม World Economic Forum ณ กรุงดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู่กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นภัยคุกคามของสังคมผู้สูงวัย โดยจะร่วมกันลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ให้ได้ในอัตรา 1 ใน 3 ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)

ภ.ญ.ศิริวรรณ ชื่นชมสกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย กล่าวว่า "มูลนิธิฯ และสถาบันคีนันฯ ตั้งใจให้โครงการนี้เป็นการทำงานบนฐานความรู้ สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุผู้สูงวัยของไทย ซึ่งแม้ว่าจะมีมาตรการกลไกของภาครัฐที่กำกับดูแลอยู่โดยตรง แต่ความร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วนก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น โดยมูลนิธิฯ จะมีการทำงานอย่างสอดประสานไปกับภาครัฐ และทุกภาคส่วนในสังคม บูรณาการความรู้ความเชี่ยวชาญและทรัพยากรระหว่างกัน เกื้อหนุนส่งเสริมเพิ่มศักยภาพซึ่งกันและกัน ในการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมสู่คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยไปพร้อมๆ กัน ซึ่งมูลนิธิฯ คาดหวังว่าโครงการนี้ จะมีส่วนช่วยเตรียมความพร้อมสู่คุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สร้างสังคมผู้สูงอายุผู้สูงวัยที่มีคุณภาพ และจะสามารถสร้างต้นแบบ (Model) ของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างแต่ละภาคส่วนที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ