ความรุนแรง..ที่เกิดขึ้นในสังคม เหล้า..คือตัวการสำคัญที่ทำให้ครอบครัวล่มสลาย

อังคาร ๒๙ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๑:๓๐
กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--สถาบันครอบครัวรักลูก
“สุรา” ถือว่าเป็นสิ่งเสพติดอีกอย่างที่ทำให้ผู้ดื่มขาดสติ ทำร้ายร่างกายและจิตใจของคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว และคนที่เป็นที่รัก นอกจากนั้นยังส่งผลต่อสุขภาพของผู้ดื่มด้วย ดังนั้นโครงการครอบครัวเข้มแข็ง สถาบันครอบครัวรักลูก จึงร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาพิเศษในเรื่อง “เหล้า..กับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ชุมชน และสังคม”
คุณจะเด็ด เชาน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาผู้หญิงถูกละเมิดสิทธิ สาเหตุเกิดจากความไม่เท่าเทียมกัน การที่เกิดวัฒนธรรมที่ว่าผู้ชายต้องเป็นใหญ่ อยู่เหนือผู้หญิง ทำให้ผู้ชายมักจะมองผู้หญิงเป็นพียงวัตถุทางเพศ หรือเป็นสมบัติส่วนตัว ผู้ชายหลายคนเมื่อแต่งงานแล้วมักจะคิดว่า ผู้หญิงต้องทำงานบ้านทุกอย่าง และต้องปรนนิบัติสามี ซึ่งเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความรุนแรงตามมา เพราะฉะนั้นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้ จึงอยู่ที่ทัศนคติของคนในสังคม
สำหรับความรุนแรงเกิดขึ้นได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นทางกาย เช่น การทุบตี ลงไม้ลงมือทางจิตใจ เช่น การด่า ต่อว่าด้วยคำพูดไม่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ทำให้สามารถแก้ไขความรุนแรงได้ดีคือ ต้องทำให้ผู้หญิงมีพลังในการต่อรอง โดยการทำให้ผู้หญิงเห็นปัญหาของตัวเอง แล้วนำไปสู่การป้องกันสิทธิของตนเองให้มากกว่าการไปรณรงค์และเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ปัจจุบันผู้หญิงมีพื้นที่สาธารณะไม่มากนักมีบ้านกับที่ทำงาน ทำให้ผู้หญิงไม่มีการพัฒนาศักยภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อผู้หญิงใช้ความรุนแรงในครอบครัว สังคมก็จะมองว่า ฝ่ายหญิงทำตัวไม่ดี จึงเกิดความรุนแรงในครอบครัว
สำหรับการเปลี่ยนแปลงความคิดนี้คงจะต้องเปลี่ยนที่ทัศนคติของคนในสังคม เช่น จะทำอย่างไรคนในสังคมมองว่า ผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้วจะมีสิทธิเท่าเทียมผู้ชาย ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องทำงานบ้านฝ่ายเดียว ซึ่งการแก้ไขเรื่องทัศคติจะต้องแก้ที่ระดับรากหญ้าก่อน เช่น ถ้าจะให้เกิดความเสมอภาคทางเพศ จะต้องเริ่มที่คนที่ได้รับผลกระทบ มากกว่าที่จะไปเริ่มคนที่ไม่รู้เรื่อง เพราะเขาไม่เข้าใจปัญหาที่ลึกซึ้ง และคนที่ได้รับผลกระทบนี้จะเป็นปากเสียงของปัญหาเหล่านี้ วิธีการนำไปสู่สิทธิความเท่าเทียมกันนั้น ไม่ได้เพียงตั้งเป็นกฎหมายหรือข้อปฏิบัติในเชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่จะต้องให้ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ได้เรียนรู้ข้อกฎหมายเหล่านี้ในทางปฏิบัติด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมานั้น จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนชนบท ซึ่งปัญหาความรุนแรงต่างๆ สาเหตุหลักเกิดจากเหล้า ซึ่งผลกระทบของความรุนแรงต่อครอบครัวนั้นมีสูงมาก จากงานวิจัย เราพบว่า สาเหตุของการดื่มเหล้านำมาสู่ความรุนแรงในครอบครัว ประมาณ 70-80 % นอกจากนั้นก็จะมีเรื่องความรุนแรงทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการข่มขืน การทำอนาจาร มาจากเหล้าเช่นกัน
คนที่สามารถลด ละ เลิก เหล้าได้ สติเขาก็จะกลับคนมา โดยเฉพาะฝ่ายชาย จุดที่สำคัญคือ คนไหนที่สามารถลด ละ เลิกเหล้าได้เราจะเข้าไปพูดคุยกับเขาได้ง่าย และทำให้เรามองหาประเด็นปัญหา ผลกระทบได้ง่ายขึ้น เพราะหากเราไปพูดคุยกับคนที่ดื่มเหล้าเขาจะไม่มีสติ เขาจะไม่มีเหตุมีผล จะพูดคุยกันยาก และในการแก้ไขปัญหาเรื่องเหล้า ต้องให้ฝ่ายชายเข้ามามีส่วนร่วม การที่ให้ฝ่ายชายที่ลด ละ เลิกเหล้าได้เข้ามามีส่วนร่วมจะทำให้มีน้ำหนัก ชาวบ้านจะเชื่อว่าเขาเลิกเหล้าได้ ทำให้ครอบครัวเขาดีขึ้น เพราะการให้ผู้ชายที่ไม่เคยดื่มเหล้ามาพูดชาวบ้านก็จะไม่เชื่อ จะช่วยให้ปัญหาความรุนแรงลดลงได้ จากการสำรวจเราพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ชายเลิกเหล้าคือ ครอบครัว
ด้านคุณขวัญชนก ชูเกียรติ จากสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า สถานการณ์การบริโภคแอลกอฮอล์ ของคนไทยมีทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง โดยเฉพาะผลกระทบด้านความรุนแรงที่มีผลกับครอบครัว ในปี 43 ไทยเราอยู่ในอันดับ 5 ของโลก ที่บริโภคแอลกอฮอล์และจากการศึกษาต่อเราพบว่าคนไทยดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายในระยะเวลา 14 ปี
กลุ่มที่ติดแอลกอฮอล์มากที่สุดคือวัยทำงาน ช่วงอายุประมาณ 25-48 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ส่วนสถานการณ์ของแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชน อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 46.9 เริ่มทดลองดื่มสุรา ซึ่ง เยาวชนไทยในปัจจุบันดื่มเป็นอันกับ 2 รองจากวัยทำงาน
สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นลองดื่มนั้นเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบของคนในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการที่พ่อแม่หรือผู้นำในครอบครัวดื่มแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ 47.1 % การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ที่นำเสนอภาพออกมาอย่างสวยงาม ใช้คำชักจูงใจได้เป็นอย่างดี ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เยาวชน และคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หันมาทดลองดื่มแอลกอฮอล์ได้เช่นกัน เพราะเด็กเล็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ จากสื่อ หากเราไม่ได้สนใจวันหนึ่งลูกของท่านก็อาจจะไปแอบทดลองดื่มโดยที่เราไม่รู้เรื่องก็เป็นได้
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา จะต้องแก้ปัญหาที่ระดับพื้นฐานที่สุดคือ “ครอบครัว” การดูแลเอาใจใส่ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบันแก่พ่อแม่ รวมทั้งการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาที่มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนภาครัฐควรมีการดูแล ควบคุม การโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อต่างๆ ส่วนชุมชนเองก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยความร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็น ในการจัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช แต่งงาน หรืองานศพ ควรงดเหล้าในงานต่างๆ เหล่านี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการครอบครัวเข้มแข็ง
โสภิดา ธนสุนทรกูร(แบม)
โทรศัพท์ 0 2913 7555 ต่อ 4640 โทรสาร 0 2831 8499--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version