ผู้ว่าฯ อภิรักษ์บรรยาย “การพัฒนาระบบสาธารณสุข กทม.”

ศุกร์ ๒๒ เมษายน ๒๐๐๕ ๐๙:๕๙
กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--กทม.
เมื่อวันที่(20 เม.ย. 48) เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมเฉลิม พรหมมาส ตึก อปร. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “การพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร” ให้แก่ชมรมมินิ เอ็มบีเอ อินเฮลท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.เกียรติคุณ พ.ญ.เพ็ญศรี พิขัยสนิธ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น.พ.ประวิทย์ ภัทรวิชา ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ น.พ.สิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ศ.น.พ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล คณะบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกชมรมฯ ร่วมรับฟัง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองใหญ่มีประชากรตามข้อมูลทะเบียนราษฎร 6 ล้านคนประชากรแฝงประมาณ 4 ล้านคน และประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตปริมณฑลที่เข้ามาประกอบอาชีพในกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ล้านคน รวมประชากรที่เข้ามาอาศัยและเข้ามาทำงานในแต่ละวันจำนวนประมาณ 12 ล้านคน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายที่มีผลกระทบถึงปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ปัญหามลพิษ ความเครียดจากการจราจร ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจากภาวะความเครียดในการดำรงชีพ เป็นต้น ดังนั้นกรุงเทพมหานครซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกทม. ทั้งนี้กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลในสังกัด 9 แห่ง มีศูนย์บริการสาธรณสุข 65 แห่ง และมีศูนย์สาธารณสุขชุมชน 83 แห่ง กระจายอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และหน่วยบริการด้านสาธารณสุขสังกัดอื่นๆ อีกประมาณ 250 แห่ง ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ กรุงเทพมหานครจึงได้ มีนโยบายพัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งในส่วนโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา รวมถึงหน่วยบริการของต่างสังกัดด้วย
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังมีนโยบายพัฒนาระบบสาธารณสุข 4 ด้าน ได้แก่ 1.การส่งเสริมสุขภาพคนในเมือง เพื่อให้ชาวกรุงเทพฯ มีสุขภาพร่างกายดีทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการลดปัญหาที่ส่งผลกระทบถึงปัญหาสุขภาพของประชาชน เช่น การแก้ปัญหาจราจร ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการออกกำลังกายทั้งในสวนสาธารณะ และลานกีฬาต่างๆ ในกทม. 2. การควบคุมป้องกันโรคและการเฝ้าระวังโรค กรุงเทพมหานครยังได้พัฒนาหน่วยบริการสาธารณสุข ของกทม. เอง โดยจัดตั้งคลินิคบริการสาธารณสุขเฉพาะด้านในโรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุข เช่น คลินิกครอบครัวสมานฉันท์ คลินิกครอบครัวอบอุ่น เพื่อบริการให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาครอบครัว คลินิคสุขภาพสตรี เพื่อให้บริการด้านสุขภาพที่เป็นปัญหาเฉพาะของสตรีทุกเรื่อง จัดทำโครงการกรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคติดเชื้อจากอาหาร เป็นต้น ปฏิรูป สาธารณสุข ใช้ระบบ GIS ป้องกันโรคระบาด 3. การให้บริการด้านการสาธารณสุข โดยการยกระดับมาตรฐานการบริการของ โรงพยาบาลกทม.ให้รวดเร็วและได้มาตรฐาน และ 4. การฟื้นฟูสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในกรุงเทพฯ โดยการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน อันเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางด้านร่างกายและจิตใจผู้สูงอายุทางหนึ่งด้วย--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ