มทร.ธัญบุรี ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา ใช้เทคนิคชีวภาพแก้ปัญหาเกษตรกร

พุธ ๐๕ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๕:๐๙
ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี บริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ชุมชนหมู่ 7 ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนด้วยการใช้เทคนิคทางชีวภาพในการแก้ปัญหาการเกษตร ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นายวิรัช โหตระไวศยะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ผลิตผลทางการเกษตรในปัจจุบันมีสารพิษตกค้างในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลกับสุขภาพ การทำเกษตรอินทรีย์ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนของ มทร.ธัญบุรี สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ทางมหาวิทยาลัยมีการขับเคลื่อน เพื่อให้ชุมชนหมู่ 7 ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนต่างๆ โดยทีมผู้วิจัย และอาจารย์ได้เข้ามาถ่ายทอดการพัฒนาการปลูกข้าวอินทรีย์ การแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสารอาหารเสริมร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ของ มทร.ธัญบุรี ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรชาวนาในชุมชนสามารถลดต้นทุนการปลูกข้าวต่อไร่ เพิ่มผลผลิต ผลผลิตคุณภาพดีตามใบรับรองมาตรฐาน GAP และอุดมไปด้วยสารอาหารเสริม/วิตามิน/เกลือแร่สูงกว่าการปลูกด้วยปุ๋ยเคมีและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพิ่มรายได้มากกว่าปกติ 2-3 เท่า นอกจากนี้ได้นำนักศึกษาของทั้ง 10 คณะ 1 วิทยาการแพทย์แผนไทยได้ลงพื้นที่ ได้เรียนรู้ชุมชน เกิดการเรียนรู้และเห็นในคุณค่าวิถีชีวิตชาวนากว่าที่จะได้ข้าวแต่ละเม็ด

ทางด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ ผู้ดำเนินโครงการ เล่าว่า โครงการบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาการปลูกข้าวอินทรีย์ด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน มทร.ธัญบุรี ให้กับกลุ่มเกษตรกรชุมชน โดยการนำวัสดุเหลือใช้จากการทำนามาแปรรูปด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน สำหรับการปรับสภาพดินกรดให้เหมาะสมกับการปลูกข้าว ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตข้าวที่ปลอดภัยและอุดมด้วยสารอาหารเสริมเกลือแร่และวิตามินสูงกว่าข้าวที่ปลูกด้วยปุ๋ยเคมีต่อผู้บริโภค ในการนี้คณะวิชาชีพ 10 คณะ 1 วิทยาลัย ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ในการพัฒนาการปลูกข้าวอินทรีย์ การแปรรูปและการบริหารจัดการดำเนินการด้านตลาดของวิสาหกิจชุมชน อาทิ การลงแขกหว่านสารอาหารเสริมจุลินทรีย์นาโน การแปรรูปผลผลิต ตลอดจนจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมการลงแขก/วิถีไทยแบบมีส่วนร่วมชุมชน สถานประกอบการ มหาวิทยาลัย เครือข่ายภาครัฐและเอกชน ผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ประกอบไปด้วยอาจารย์ของคณะวิชาชีพต่างๆ 10 คณะ 1 วิทยาลัย นักศึกษา เจ้าหน้า เครือข่ายชุมชนบึงกาสาม เครือข่ายชุมชนบึงบา องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาสาม องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาและเจ้าหน้าที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี

"เซ้นซ์" นายก้องปภณ สังข์รุ่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่าว่า "กว่าที่จะได้ข้าวมากิน ต้องเหนื่อยมาก ชีวิตชาวนา" ในการมาทำกิจกรรมในวันนี้ เป็นสิ่งที่ดีมาก ได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ซึ่งตอนเด็กๆ ตนเองไปวิ่งที่ทุ่งนาของคุณตา ที่จังหวัดปราจีนบุรี แต่ไม่เคยทำนา พื้นที่บึงกาสามเป็นชุมชนต้นแบบที่มีการทำนาเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

เช่นเดียวกับ "ไออ้อน" นางสาวสิริรักษ์ บุญมา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่าว่า เป็นลูกชาวสวนที่จังหวัดขอนแก่นเคยช่วยยายใส่ปุ๋ยผักหลังบ้าน วันนี้มาช่วยหว่านปุ๋ยให้กับชาวบ้าน เป็นจิตอาสาที่ดี เข้าใจชีวิตชาวนาต้องทำนาตากแดด ถ้ามีกิจกรรมอีกจะเข้าร่วม นอกจากนี้ยังได้รับความรู้จากวิทยากรอีกด้วย

โครงการบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ชุมชนหมู่ 7 ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีแบบมีส่วนร่วมระยะที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนด้วยการใช้เทคนิคทางชีวภาพในการแก้ปัญหาการเกษตร สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จะสร้างความเข้มแข็งแบบยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ