อาคารเพชรรัตน์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล : รศ.พญ.ธนันดา ตระการวนิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ร่วมกับสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เครือข่ายลดบริโภคเค็ม มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ชมรมเพื่อนโรคไตและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงปัญหา "อ้วนลงพุง" ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเพื่อกระตุ้นและเชิญชวนให้คนไทยรักสุขภาพ มีความมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพของตนเอง และห่างไกลจากภาวะอ้วนลงพุง และด้วยในเดือนมีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมวันไตโลก ซึ่งในปีนี้คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ได้จัดงานสัปดาห์วันไตโลกและสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม ประจำปี 2560 ขึ้น สำหรับโรคไตนั้น กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในระดับทั่วโลกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปัจจุบันพบว่าเด็กและผู้ใหญ่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปและมีภาวะเสี่ยง "อ้วนลงพุง" เป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะป่วยเป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังทำให้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ตามมาด้วย อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
ทั้งนี้ข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประชาชนทั่วไปควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน ซึ่งเป้าหมายของโลก คือต้องการลดการบริโภคเกลือ/โซเดียมลง 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ.2068 หรือ คศ.2025 ซึ่งในปัจจุบันมีกลายประเทศกำลังดำเนินการผลักดันในเรื่องนี้อย่างแข็งขัน เพื่อที่จะลดบริโภคเกลือ จะจะช่วยรักษาชีวิตจากการก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ซึ่งวิธีการง่าย ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การปรับสูตรอาหารให้มีปริมาณเกลือน้อยลง หรือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
รศ.พญ.ธนันดา กล่าวว่า กินเค็มมากไป เป็นอันตราย ในเบื้องต้นเกิดความดันโลหิตสูง เมื่อปริมาณเกลือโซเดียมที่มากเกินความพอดี จะทำให้ร่างกายเก็บน้ำมากขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูงในหลอดเลือด และเกิดโรคแทรกซ้อน ไตวาย อัมพฤกต์ อัมพาต หัวใจวาย ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตกว่า 7.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 17.5 เปอร์เซ็นต์ของโรคไม่ติดต่อที่สัมพันธ์กับการบริโภคเกลือของคนไทย นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยล้างไตเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ถึงปีละ 15,000 ล้านบาทจากโรคไตวายระยะสุดท้าย ทั้งนี้ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตทางช่องท้องหรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ยประมาณ 240,000 บาทต่อคนต่อปี โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายด้วยยา ค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่น ๆ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องใช้งบประมาณ 2558 สูงถึง 5,247 ล้านบาทและจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6,318 ล้านบาท ในปี 2559 ซึ่งถ้ารวมงบประมาณ สำหรับบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในสิทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการแล้ว รัฐจำเป็นต้องใช้งบสูงกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นการบริโภคเกลือและโซเดียมในระดับสูง จึงเป้นปัจจัยเสริมความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ถึงกว่าปีละ 78,976 ล้านบาทบาท
ปัญหาของผู้ป่วยโรคไต นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับชาติ ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้ป่วย ที่ป่วยเป็นโรคไตมีอายุเฉลี่ยที่น้อยลง รวมถึงพบว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไตในเด็ก เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด ขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่มักจะต้องเติมน้ำปลาหรือน้ำปลาพริกทุกมื้อ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยง จนเป็นสาเหตุในเรื่องของภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นภัยเงียบรสเค็ม ซึ่งเป็นภาวะที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบแต่ไตจะค่อยๆ เสื่อมและเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
สำหรับผู้ป่วยโรคไตนั้น มีหลากหลายสาเหตุและสามารถป้องกันได้ ถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ เช่น การควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดี แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษา ทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วจนเสียชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยโรคไต ควรปฏิบัติดังนี้ 1.พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ 2. ควบคุมความดันโลหิตน้อยกว่า 130 /80 และระดับน้ำตาลในเลือด 3.ควบคุมการทานอาหารรสเค็ม และจำกัดอาหารประเภทโปรตีน โดยให้บริโภคเกลือไม่เกินวันละ 5 กรัม ถ้าเทียบเป็นปริมาณโซเดียมก็ไม่ควรเกิน วันละ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา 4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ยาหม้อ ยาชุดโดยไม่ปรึกษาแพทย์4.เลิกบุหรี่และงดดื่มสุรา และ 5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ