สภาวิศวกร ลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งสร้าง “วิศวกรอาสา” ทำประโยชน์เพื่อสังคม

จันทร์ ๑๐ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๔:๕๓
ดร.กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร ลงนามข้อตกลงร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยมีนายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิก ,นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ,นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ลงนาม MOU เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมกันในการส่งเสริมและพัฒนา วิศวกรอาสา สถาปนิกอาสา และนายช่างอาสาที่จะลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนโดยไม่เรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพ

นายกมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า โครงการวิศวกรอาสา สภาวิศวกร มีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ ภัยพิบัติคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน พ.ศ. 2547 โดยในช่วงเวลานั้น สภาวิศวกรได้ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรมขึ้น โดยมีวิศวกรอาสาจากทั่วประเทศกว่า 100 คน ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของงานทางด้านวิศวกรรม เช่น การตรวจสอบอาคารที่ได้รับ ความเสียหายหรือ ได้รับผลกระทบ การให้คำแนะนาเพื่อการฟื้นฟูหรือซ่อมบำรุงอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย พ.ศ. 2557 สภาวิศวกร โดยคณะอนุกรรมการประสานงานด้านภัยพิบัติ ได้ ร่วมกับองค์กรวิชาชีพ และหน่วยงานราชการ จัดวิศวกรอาสาเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน และเข้า ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง พร้อมให้คำแนะนาด้านวิศวกรรม ล่าสุด เหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้ เมื่อ มกราคม 2560 สภาวิศวกรร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำทีม วิศวกรอาสาลงพื้นที่ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและโครงสร้างของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมเปิดรับ สมัครวิศวกรอาสาเพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารที่ได้รับความเสียหายตามรายการตรวจสอบที่สภาวิศวกรกำหนด และมีการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแก่วิศวกรอาสา ที่อำเภอทุ่งสง และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จากเหตุการณ์ดังกล่าว สภาวิศวกรจึงได้จัดตั้งโครงการวิศวกรอาสา สภาวิศวกรขึ้น โดยรับสมัครสมาชิก สภาวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ไม่เคยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณใดๆ ที่มี จิตอาสา เสียสละ มีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่มุ่งหวังค่าตอบแทน และไม่เป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเหตุร้ายต่อสาธารณชน หรือเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยใช้ความรู้ความสามารถตามหลักปฏิบัติวิชาการทางวิศวกรรม และไม่ปฏิบัติงานที่ เกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ จากกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการวิศวกรอาสา สภาวิศวกร นั้นมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเป็นหลัก ทำให้สภาสถาปนิก สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร และสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกล ไทย ได้ตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริมและพัฒนา วิศวกรอาสา สถาปนิกอาสาและนายช่างอาสาที่จะลงพื้นที่ในการ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน องค์กรสาธารณกุศล หน่วยงานรัฐ ที่ประสบภัยพิบัติ มีปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพแต่อย่างใด โดยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการดำเนินงานกิจกรรมวิศวกรอาสาและสถาปนิกอาสาและ นายช่างอาสา ซึ่งเป็นการขยายเครือข่ายจิตอาสาช่วยเหลือสังคม

นายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิก กล่าวว่า ปัจจุบันภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ สร้างความลำบากให้กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือหนาวอย่างรุนแรง ฝน ลูกเห็บ น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่าไม่ได้ อีกทั้งภัยทางสังคมที่สร้างความเดือดร้อนเช่นเดียวกันที่อาจเกิดโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่คาดคิด สถาปนิกเป็นวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ อาคาร ที่อยู่อาศัยทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิต จากเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ทำให้สภาสถาปนิกเล็งเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ควรมีผู้ที่เข้าไปเพื่อเยียวยาหรือ ปรับปรุง หรือแก้ไข เพื่อให้ความเป็นอยู่ที่ดีกลับคืนมาบนความปลอดภัยที่มากขึ้นในชีวิต สภาสถาปนิกจึงจัดตั้งกลุ่มที่เรียกตนเองว่า "สถาปนิกอาสา" โดยดำเนินการรับสมัครสมาชิกผู้ที่มีจิตอาสาและต้องการทำเพื่อส่วนรวม เป็นผู้มีความเสียสละและประสงค์ที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม โดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน โดยการจัดตั้งกลุ่มสถาปนิกอาสานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาปนิกอาสาได้เรียนรู้การจัดการภัยพิบัติและเป็นการสร้างกลไกความร่วมมือการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดคิดจากความร่วมมือระหว่างสถาปนิกอาสา ชุมชน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนและส่วนปกครองท้องถิ่น โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็นสถาปนิกอาสานั้นต้องมีคุณสมบัติ คือ 1) ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม 2) มีสถานภาพเป็นสมาชิกสภาสถาปนิก 3) ไม่เคยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณ 4) เป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละมีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่มุ่งหวังค่าตอบแทนและไม่เป็นผู้แสวงผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร กล่าวว่า นายช่างอาสา คือ วิศวกร ผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย ที่มีจิตอาสา ในการทำงานช่วยเหลือประชาชนทั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาปัญหาให้กับสังคมและสาธารณะ ในยามสภาวะปกติยังช่วยเหลือและให้ความรู้ประชาชน เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติภัยต่างๆ โดยมิได้มีค่าตอบแทนใดๆ จากผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ การช่วยเหลือจะมุ่งเน้นให้กับกลุ่มคนและสังคมที่ขาดแคลน ดังนั้น การทำบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จะทำเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนที่จะเกิดขึ้นจะมีประสิทธิผลและทำงานได้อย่างทันต่อเหตุการณ์โดยความช่วยเหลือจากบุคคลากรที่มีความสามารถทั้งในด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เมื่อสังคมต้องการการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และทำให้เกิดการสูญเสียที่น้อยสุดนอกจากนี้ยังที่เป็นยึดเหนี่ยวทางความคิดให้กับสังคมในการให้ข้อคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย กล่าวว่า โครงการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือประชาชน องค์กรสาธารณกุศล หน่วยงานรัฐ ที่ประสบภัยพิบัติ มีปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม เป็นโครงการ 4 หน่วยงานเห็นพ้องต้องกันผู้ประกอบวิชาชีพ งานวิศวกรรม และงานสถาปัตยกรรม ควรที่นำวิชาชีพที่มีความชำนาญได้ออกมาร่วมตอบแทนสังคม ช่วยบรรเทาให้ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการดูแลให้สามารถฟื้นฟูทรัพย์สิน ได้อย่างถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

ในส่วนของสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ในฐานะสมาคมฯ ที่มีผู้ประกอบการทางด้านการติดตั้ง รับเหมา ผลิต และจำหน่ายทางด้านระบบไฟฟ้าและเครื่องกล มีวิศวกร และช่างฝีมือที่อยู่ในสังกัดของสมาชิกเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้มีการยกระดับและพัฒนาวิศวกร และช่างฝีมือมาตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จนปัจจุบันสมาคมฯ ได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ทั้งหมด 4 สาขา ตั้งแต่ปี 2558 และได้จัดตั้งศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ ตามมาตรา 26/4(2) เพื่อทำการประเมินช่างที่ผ่านการทดสอบให้ได้หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ เพื่อไปประกอบวิชาชีพช่างไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้อง มีมาตรฐานรองรับ และการให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับผู้ประสบภัยพิบัติ วิศวกร สถาปนิก และช่างอาสา จะต้องผ่านการอบรบเพิ่มพูนความรู้ให้เข้าใจในเรื่องของการแก้ไขงานที่ได้รับความเสียหายในกรณี ต่างๆ ก่อนที่จะลงสนามให้ความแนะนำกับผู้ประสบภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง ดำเนินการพร้อมโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการจัดทำคู่มือของผู้ประสบภัยพิบัติให้สามารถช่วยเหลือตนเองในขั้นต้นได้อย่างปลอดภัย ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ช่วยให้เกิดการบูรณาการของทุกองค์กรเกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อเกิดประโยชน์โดยร่วมของสังคม และประเทศชาติสืบไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม