สภาวิศวกร แนะมาตรการป้องกันรถยนต์ตกจากอาคารจอดในห้างฯ วอนประชาชนอย่าประมาท และผู้ประกอบการก่อสร้างราวกันตกที่ได้มาตรฐาน

พุธ ๑๒ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๑:๓๐
สภาวิศวกรร่วมกับสถาปนิกเตรียมผลักดันมาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างที่กั้นกันรถตกในอาคารจอดรถ สรุปกรณีตัวอย่างผลการลงพื้นที่ กรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกจากอาคารจอดรถยนต์ ศูนย์การค้าชื่อดังอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เสนอแนะ ขับขี่โดยไม่ประมาท และผู้ประกอบการใส่ใจในมาตรฐานการก่อสร้างราวกันตก เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากการที่มีเหตุรถยนต์ตกลงมาจากอาคารจอดรถหลายแห่งจนมีผู้เสียชีวิต ว่าเหตุการณ์รถยนต์ตกจากอาคารจอดรถนั้นเกิดขึ้นทุกปี และในบางปีก็เกิดหลายครั้ง ซึ่งมีทั้งที่เป็นข่าวและปิดข่าวกัน สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุคือความประมาทของผู้ขับขี่เอง แต่สาเหตุหลักอีกประการหนึ่งคือความแข็งแรงของที่กั้นรถยนต์หรือที่เรียกว่า แบรีเออร์ (barrier) นั่นเอง โดย ศ.ดร. อมร พิมานมาศ ระบุว่าอาคารจอดรถหลายแห่งมีที่กั้นรถยนต์ที่ไม่ปลอดภัยนั้น เนื่องจาก การขาดกฎหมายบังคับใช้และไม่มีมาตรฐานการออกแบบที่กั้นรถยนต์ ทำให้ขาดการออกแบบและก่อสร้างที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม

"บริเวณที่อันตรายมากในอาคารจอดรถมีอยู่ 3 บริเวณด้วยกันคือ 1. บริเวณที่รถยนต์ถอยหลังเข้าจอด และ 2. บริเวณปลายทางวิ่ง และ 3. บริเวณทางวิ่งขึ้นลงระหว่างชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นบริเวณปลายทางวิ่งที่มีระยะทางเกิน 20 ม. ขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากรถยนต์ที่กำลังวิ่งจะเพิ่มความเร็วขึ้นตามระยะทางในขณะที่มีค่าอัตราเร่งที่สูงจะทำให้เกิดโมเมนตัมหรือแรงอิมแพคปะทะกับที่กั้นรถยนต์ที่ปลายทางวิ่ง ซึ่งหากออกแบบไม่แข็งแรงพอ ย่อมจะเป็นอันตรายและเสี่ยงที่จะตกลงไปกระแทกพื้นข้างล่าง" ศ.ดร. อมร ระบุ

ศ.ดร. อมร เปิดเผยเพิ่มเติมว่า "ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการออกแบบที่กั้นกันรถยนต์ตก แต่ในต่างประเทศ มีมาตรฐานดังกล่าวแล้ว เช่น มาตรฐาน IBC2006 (International Building Code) หรือมาตรฐาน AS/NZS 2890.1 ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยมาตรฐานดังกล่าวได้กำหนดค่าแรงกระแทกหรือแรงอิมแพคที่ใช้ในการออกแบบที่กั้นไว้เท่ากับ 3 ตันสำหรับที่กั้นที่กันรถยนต์ถอยหลังเข้าจอด และ 24 ตันสำหรับบริเวณปลายทางวิ่งที่มีระยะทางเกิน 24 ม."

"ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องมีมาตรฐานและกฎหมายบังคับใช้ให้การออกแบบและก่อสร้างที่กั้นรถยนต์ในอาคารจอดรถต้องแข็งแรงตามมาตรฐานสากล ขณะนี้สภาวิศวกรและสภาสถาปนิกกำลังเร่งผลักดันให้มีการออกมาตรฐานดังกล่าวอยู่ คาดว่าจะใช้เวลาแล้วเสร็จประมาณ 3 เดือน แต่ในส่วนการบังคับใช้กฎหมายต้องให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กทม. เป็นผู้ดำเนินการต่อไป"

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ ยังให้ข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการออกแบบและก่อสร้างที่กั้นรถยนต์ในอาคารจอดรถอย่างปลอดภัยไว้ 6 ข้อดังนี้

1. ที่กั้นควรมีความสูงไม่น้อยกว่า 1.3 ม. จากระดับพื้น

2. ไม่ควรใช้กำแพงอิฐก่อ หรือคอนกรีตบล็อก ทำเป็นที่กั้นรถยนต์ เพราะไม่แข็งแรง ไม่สามารถต้านแรงกระแทกได้

3. ที่กั้นรถยนต์ควรได้รับการออกแบบโดยวิศวกรที่มีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร โดยมีการคำนวณค่าแรงกระแทกตามมาตรฐานการออกแบบ

4. ที่กั้นที่ทำจากคอนกรีตหล่อในที่ ควรเสริมเหล็กฝังเข้ากับพื้นคอนกรีตเป็น 2 ชั้น ที่ผิวด้านนอกและผิวด้านใน อย่าเสริมเหล็กยืนชั้นเดียวตรงกลางผนัง

5. ควรใช้คอนกรีตที่มีกำลังรับแรงอัดสูงเกิน 280 กก./ซม.2 ขึ้นไป ซึ่งคอนกรีตที่มีกำลังรับแรงอัดสูงสามารถต้านทานแรงกระแทกได้ดีกว่า

6. ที่กั้นที่ทำจากแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะที่เป็นบริเวณจุดยึดกับพื้นซึ่งหากใช้เหล็กฉาก จะรับแรงกระแทกไม่ได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ