รายงานวิจัยเผย ระบบไอทีแบบไฮบริดกำลังกลายเป็นมาตรฐานของรูปแบบองค์กร แต่การบริหารจัดการและการถ่ายโอนข้อมูลคือกุญแจสู่ความสำเร็จ

พุธ ๑๒ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๑:๔๐
บริษัทไดเมนชั่น ดาต้า บริษัทผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลก เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ซึ่งเปิดเผยสถานะปัจจุบันของแนวทางการนำระบบไอทีแบบผสมหรือไฮบริดมาใช้ รวมถึงเรื่องของความต้องการหลัก และปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งมีส่วนกำหนดแนวทางการตัดสินใจในการกำหนดปริมาณงาน

งานวิจัยซึ่งสำรวจจากผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที 1,500 คน จากหลากหลายภาคอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน ทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย-แปซิฟิค และแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่า ระบบไอทีแบบไฮบริดกำลังกลายมาเป็นมาตรฐานของรูปแบบองค์กร แต่ก็ยังไม่มีตำราปฏิบัติเล่มใดที่เข้าถึงได้จริง เมื่อมองถึงแรงจูงใจระดับต้น ๆ ในการผลักดันองค์กรไปสู่ระบบไอทีแบบไฮบริดโดยแยกตามประเทศ พบว่า บริษัทในฮ่องกง สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา จะเน้นที่ความต้องการของผู้ใช้งาน (end-user) บ่อยที่สุด ขณะผู้ตอบแบบสอบถามจากฝรั่งเศส สิงคโปร์ และแอฟริกาใต้ จะสนใจเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่ายบ่อยที่สุด ส่วนบริษัทธุรกิจของมาเลเซียกลับเป็นด้านความท้าทายในการว่าจ้าง และบริษัทธุรกิจในเยอรมันกล่าวถึงประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูลที่ยังมีข้อจำกัดเป็นปัจจัยจูงใจร่วมมากที่สุด

รายงานเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการระบบไอทีแบบไฮบริด หรือ "The Success Factors for Managing Hybrid IT report" ยังชี้ให้เห็นความจริงที่ว่า การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของระบบไอทีแบบไฮบริด (ซึ่งมีผู้ตอบถึง 41%) คือหนึ่งในสามความท้าทายระดับต้นของการนำไปสู่การใช้งาน

นายเจสัน กู๊ดออลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า กล่าวว่า "การถ่ายโอนข้อมูลและกระบวนการทำงานที่ข้ามไปมาระหว่างสภาพแวดล้อมด้านไอทีทั้งที่เป็นคลาวด์และไม่ใช่คลาวด์ได้อย่างหลากหลาย คือ วิธีการใหม่ในการบริหารจัดการ ผู้จัดการด้านไอทีจะอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างหนักในการค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการหรือดูแลความปลอดภัยสำหรับสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบที่ทำงานได้แบบอัตโนมัติจึงมีความสำคัญเพราะมีส่วนช่วยในการลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติงาน และความลำบากที่มีสาเหตุมาจากความซับซ้อนของกระบวนการทางธุรกิจและงานบริหารที่มากขึ้น คงไม่มีทางที่เราจะสามารถจัดการงานเหล่านี้ให้เกิดการใช้งานทรัพยากรที่มีประสิทธิผลหรือเหมาะสมได้ด้วยมือหรือวิธีแมนนวลอีกต่อไป"

การถ่ายโอนข้อมูล คือ อีกหนึ่งความท้าทายร่วมในการนำสู่การปฏิบัติ ซึ่ง 44% ของผู้ตอบแบบวิจัย กล่าวว่า นี่คือความท้าทายเมื่อต้องระบุว่าทางเลือกใดที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการปริมาณงานที่เฉพาะเจาะจง และเหมาะที่สุดสำหรับการถ่ายโอนปริมาณงานไปไว้ในที่ตั้งใหม่

ขณะที่ 38% ขององค์กรที่เราสำรวจอ้างว่า พวกเขาได้ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเร่งการถ่ายโอนแอปพลิเคชัน 48% กล่าวว่า การถ่ายโอนระบบงานในองค์กรของเขาเป็นการทำด้วยมือและใช้แรงงานคนเป็นหลัก หรือโดยการใช้ทรัพยากรที่มีในองค์กร การถ่ายโอนแอปพลิเคชันและข้อมูลทุกวันนี้ยังมีความซับซ้อนและราคาสูงสำหรับองค์กรส่วนใหญ่

นางสาวเคลลี่ มอร์แกน รองประธานด้านบริการงานวิจัย ของบริษัท 451 รีเสิร์ช กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการระบบไอทีคือองค์ประกอบสำคัญในการส่งผ่านบริการข้ามผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชันต่าง ๆ "ผู้ให้บริการที่สามารถนำเสนอผลงานการบริการด้านการบริหารจัดการระบบไอทีได้อย่างครอบคลุมผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่มีให้เลือกได้กว้างขวางที่สุด ถือว่าอยู่ในจุดที่สามารถบรรลุความต้องการการใช้งานคลาวด์ขององค์กรได้เต็มรูปแบบ" นางมอร์แกน กล่าว

เนื้อหาที่น่าสนใจอื่น ๆ ในรายงานปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการระบบไอทีแบบไฮบริดของไดเมนชั่น ดาต้า ยังรวมถึง

• นอกจากการให้ความสนใจในเรื่องประเด็นความปลอดภัย การกำกับการทำงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด และการบูรณาการทำงานของระบบ องค์กรยังตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมของเทคโนโลยีด้านเครือข่ายยุคถัดไป เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการเครือข่าย หรือ เอสดีเอ็น และฟังก์ชั่นการทำงานแบบเสมือนจริงของระบบเครือข่าย

• องค์กรธุรกิจต่างกำลังใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมหรือที่มีให้เห็นอยู่ เช่น คอนเทนเนอร์ โซลูชันบิ๊กดาต้า และ เอสดีเอ็น ในการจำลองเหตุการณ์การดำเนินงาน

• องค์กรธุรกิจกำลังใช้เงินงบประมาณด้านไอทีในสัดส่วนที่มีความสำคัญร่วมกับผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สามในการจัดหาบริการด้านการบริหารจัดการระบบระดับมืออาชีพเพื่อรองรับเหตุผลที่แตกต่างกัน – เช่น เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไอทีว่างพอที่จะให้ความสนใจกับงานโครงการอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงระบบความปลอดภัย และนำไปสู่ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเป็นพิเศษ งานวิจัยยังเปิดเผยอีกว่า 41% ขององค์กรทำงานร่วมกับผู้ขายหลายรายและบริหารจัดการผู้ขายเหล่านั้นด้วยตัวเอง อีก 37% ทำงานกับผู้ขายรายเดียวที่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการในการสร้างหรือบริหารจัดการระบบได้อย่างกว้างขวาง

คลิ๊กที่นี่ เพื่อลงทะเบียนและร่วมการสัมมนาทางเว็บไซต์ถึงผลที่ได้จากงานวิจัย ดำเนินการสัมมนาโดย เคลลี่ มอร์แกน จากบริษัท 451 รีเสิร์ช และ เควิน ลีไฮ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูล บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า การออกอากาศทางอินเทอร์เน็ตจะมีขึ้นในวันที่ 4 เมษายน เวลา 23:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสิงคโปร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย