“รพีภัทร สำเร” ศิษย์เก่าออกแบบประยุกต์ศิลป์ มรภ.สงขลา เจ้าของผลงานชุดประจำชาติยอดเยี่ยม Miss International Queen

อังคาร ๑๘ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๓:๓๓
ความอลังการของชุดพญานาคที่สาวงามจากประเทศลาว ใส่ขึ้นประกวดบนเวที Miss International Queen 2016 ส่งให้เธอได้รับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบื้องหลังความยิ่งใหญ่งดงามของชุดที่เธอสวมใส่นั้นเป็นฝีมือคนไทย "รพีภัทร สำเร" ศิษย์เก่าออกแบบประยุกต์ศิลป์ มรภ.สงขลา

นายรพีภัทร สำเร หรือ "คำภีร์" อายุ 27 ปี อดีตนักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เล่าถึงที่มาที่ไปของการมีโอกาสได้ออกแบบชุดประจำชาติให้นางงามจากประเทศลาว ว่า ปกติตนทำชุด เครื่องประดับ งานศิลปะ ที่มีไอเดียและเอกลักษณ์เฉพาะตัวลงขายทางอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว โดยใช้ชื่อแบรนด์ "คำภีร์ อลังการ" บังเอิญทางผู้ส่งสาวงามจากประเทศลาวเข้าประกวด Miss International Queen 2016 เห็นผลงานในเฟสบุ๊คและชอบสไตล์ผลงานของตน จึงติดต่อให้ทำชุดประจำชาติของนางงามประเทศลาว คอนเซ็ปต์สะท้อนถึงความเชื่อของชาวลาวกับสัตว์ในตำนานแม่น้ำโขงอย่างพญานาค ตนจึงหยิบยกเล่าเรื่องราวของพญานาคผ่านเสื้อผ้า โดยออกแบบชุดด้วยเทคนิคงานประดิษฐ์ต่างๆ ให้คล้ายงานประติมากรรมสามมิติ เน้นความอลังการและสามารถสื่อสารเรื่องราวผ่านเครื่องแต่งกายได้

นายรพีภัทร กล่าวว่า กลุ่มคนที่ติดตามผลงานของตนทางอินเทอร์เน็ตจะรู้ว่าชุดที่สาวงามจากประเทศลาวใส่ขึ้นประกวดเป็นฝีมือการออกแบบของตน เนื่องจากมีสไตล์เฉพาะตัว แต่สำหรับกลุ่มคนในสังคมวงกว้างอาจจะไม่รู้จักงานของตนมาก่อน อยากให้ทุกคนมองว่าร้านเล็กๆ ที่ไม่ได้โด่งดังมากนัก ไม่มีชื่อเสียงมากมาย ก็สามารถสร้างผลงานดีๆ ได้ ขอแค่เพียงมีเวทีให้ได้นำเสนอผลงาน และอยากขอโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ๆได้มีเวทีจัดแสดงผลงาน เพราะทุกคนมีฝีมือและความพร้อมที่จะแสดงศักยภาพ ขาดเพียงพื้นที่ให้พวกเขาแสดงผลงานเท่านั้น เช่นเดียวกับที่ตนได้รับโอกาสให้ออกแบบชุดประจำชาติในครั้งนี้ ดังนั้น เมื่อชุดพญานาคได้รับรางวัลจึงรู้สึกภูมิใจมาก คุ้มค่ากับความตั้งใจและความพยายาม ซึ่งความสำเร็จจากรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมทำให้ลูกค้าในต่างประเทศสนใจผลงานของตนมากขึ้น แต่ตนมองว่าชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการทำงานในเส้นทางนี้ ทว่า การสร้างงานที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์ต่างหากจึงจะสำคัญอย่างแท้จริง

ศิษย์เก่าโปรแกรมวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ กล่าวอีกว่า ความรู้จากการเรียนที่ มรภ.สงขลา มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการทำงาน ซึ่งดปรแกรมวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์สอนตั้งแต่เนื้อหาทางทฤษฎีจนถึงภาคปฏิบัติ การได้ทดลองลงสนามและเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สอนให้รู้จักระบบและกระบวนการในการทำงาน การแก้ไขงานไปพร้อมๆ กัน เป็นเหมือนการสร้างภูมิคุ้มกันในการที่จะจบการศึกษาไปแล้วสามารถประกอบวิชาชีพและนำไประยุกต์ในการทำงานได้จริง อย่างไรก็ตาม การสร้างผลงานใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผ่านการเรียนรู้วิชาชีพหลากหลายแขนง เช่นเดียวกับที่ตนนำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนมาใช้ออกแบบชุด ผ่านเทคนิคงานศิลปะสาขาต่างๆ ที่ได้เรียนมา ซึ่งต้องขอขอบคุณ อาจารย์โชติพงษ์ บุญฤทธิ์ และ อาจารย์อมรรัตน์ บุญสว่าง ที่ให้คำปรึกษาตลอดการทำผลงานชิ้นนี้ รวมถึงการให้คำแนะนำเรื่องการทำงานในวิชาชีพมาโดยตลอด

"สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคนทำงานศิลปะ คือการพัฒนาฝีมือให้งานมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และขยันคิดงานใหม่ๆ นอกจากนั้น ต้องมีจิตนการและความฝัน ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่ท้อที่จะสู้กับการสร้างงาน แต่ทั้งนี้ จินตนาการต้องอยู่ภายใต้ความจริงที่สามารถจับต้องและสร้างได้ ไม่เช่นนั้นจะเป็นแค่ความฝัน โดยอาศัยความตั้งใจ และความพยายามที่ที่จะสร้างจินตนาการให้สำเร็จ" นายรพีภัทร กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ