เบื้องหลังรางวัลแห่งความสำเร็จ กับนักศึกษาหญิงแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มือขับรถยนต์ประหยัดน้ำมันจากสนาม เชลล์ อีโค-มาราธอน

พฤหัส ๒๐ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๕:๓๙
จากผลสำรวจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศโดยสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ประจำปี 2559[1] พบว่าความเท่าเทียมทางเพศในระดับโลกจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2729 หรืออีก 169 ปีข้างหน้า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภายใต้ช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันในปัจจุบัน ผู้หญิงจำนวนมากก็มีความสามารถทัดเทียมกับผู้ชาย ตัวอย่างเช่นนางสาวสุธารัตน์ มัชฌิกะ หรือน้องปลา นักศึกษาหญิงอายุ 21 ปี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นักขับรถหญิงหนึ่งเดียวจากประเทศไทย ทีม NSTRU Eco-Racing จากการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2017 ที่คว้ารางวัลที่ 3 จากการแข่งขันประเภท Prototype (รถต้นแบบแห่งอนาคต) ด้วยเชื้อเพลิงแบตเตอรี่ โดยทำสถิติความเร็ว 391.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังเคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากประเภทเดียวกันและรางวัลการออกแบบรถยอดเยี่ยมประจำปีประจำปี 2016 อีกด้วย

นางสาวสุธารัตน์ มัชฌิกะ หรือน้องปลา นักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวถึงประสบการณ์การได้เข้าร่วมเป็นนักขับหญิงว่า "การเป็นนักขับหญิงเพียงหนึ่งเดียวในทีมจากประเทศไทย นับเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะการแข่งรถถือเป็นกิจกรรมที่เป็นความถนัดของผู้ชาย เพราะการขับรถแข่งต้องมีความอดทนและต้องใช้สมาธิในการแข่งขัน มีสติและมีความกล้าซึ่งเหมือนการแข่งขันรถยนต์ประหยัดพลังงานครั้งนี้ นอกจากความภูมิใจที่ได้เป็นผู้ขับขี่หญิงแล้ว ยังภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบเทคโนโลยีด้านการควบคุมความเร็วและดูแลด้านทัศนวิสัยในด้านความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำความรู้ด้านเครื่องกลที่เป็นบทเรียนในมหาวิทยาลัย มาปรับใช้กับงานจริง ทั้งยังได้เรียนรู้เรื่องการวางกลยุทธ์ในการแข่งขันและการทำงานร่วมกันเป็นทีมให้เกิดผลลัพธ์ออกมาอย่างดีที่สุด ซึ่งจากประสบการณ์ครั้งนี้ พิสูจน์ได้ว่าผู้หญิงก็มีความสามารถที่ทัดเทียมกับผู้ชาย และการพัฒนาเทคโนโลยีรวมทั้งอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่ความถนัดของผู้ชายอีกต่อไป"

"สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้หญิงในโลกแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือต้องเชื่อมั่นในความคิดและความสามารถของตนเอง พร้อมที่จะท้าทายตนเองเพื่อที่จะเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น การเป็นวิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการออกแบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้การทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี" นางสาวสุธารัตน์ มัชฌิกะกล่าวสรุป

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2482 ในระดับโลก และเริ่มจัดที่เอเชียในปี พ.ศ. 2553 สำหรับปีนี้ การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2017 จัดขึ้นปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวทีการแข่งขันระดับโลกที่เปิดโอกาสให้แก่เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 16-28 ปี ได้กระตุ้นตนเองให้เกิดความคิด การสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมกับสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ใช้การเรียนรู้ด้านวิศวกรรม คิดค้นเพื่อที่จะทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท Prototype เป็นการออกแบบและสร้างสรรค์รถต้นแบบแห่งอนาคต มุ่งเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางด้านเทคนิค เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และ ประเภท Urban Concept มุ่งเน้นการออกแบบรถประหยัดเชื้อเพลิงโดยคำนึงการใช้งานจริงบนท้องถนน ตัวรถยนต์จะมีลักษณะใกล้เคียงกับรถยนต์ในปัจจุบัน

รถยนต์ประหยัดพลังงานประเภท Prototype ของทีม NSTRU Eco-Racing นั้น มีความโดดเด่นด้วยการพัฒนาตัวรถที่ถูกต้องตามหลักกลศาสตร์ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีน้ำหนักเบาและทนทาน พร้อมเครื่องทดสอบมอเตอร์คุณภาพสูงที่สามารถคาดคะเนประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 90% ตามแนวความคิดในการเน้นพัฒนาระบบขับเคลื่อนให้ได้ระยะทางดีที่สุด โดยทุกส่วนประกอบในการพัฒนานวตกรรมที่นำมาใช้ ทางทีมได้แสดงฝีมือสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ