มรภ.สงขลา ชวนคนไทยมองเมียนมาอย่างมิตร

จันทร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๗ ๐๙:๒๘
มรภ.สงขลา ชวนคนไทยเข้าใจเมียนมาในฐานะมหามิตร ชี้ภาพรับรู้การเสียกรุงศรีอยุธยาในอดีตกลายเป็นประวัติศาสตร์บาดหมางจนถึงปัจจุบัน ดึงนักศึกษาเข้ารับภูมิรู้ที่ถูกต้อง

นายวสิน ทับวงษ์ รองประธานคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรม เข้าถึง เข้าใจ อาเซียน : มองเมียนมา มหามิตร ณ ห้องประชุมคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เมื่อไม่นานมานี้ว่า มีที่มาจากการเล็งเห็นว่าแม้ประชาคมอาเซียนซึ่งมีสถานะเป็นประชาคมโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.58 แต่ความเข้าใจในมิติต่างๆ ของประชาคมที่มีประเทศสมาชิกถึง 10 ประเทศ ยังไม่ทั่วถึงและรอบด้าน อีกทั้งการเรียนการสอนภาคบังคับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยังถูกกำหนดด้วยนโยบายการศึกษาจากส่วนกลาง ภาพการรับรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านดำเนินไปในทิศทางที่สะท้อนความดีกว่า พัฒนากว่าของประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมส่งผลต่อโลกทัศน์อันเป็นแนวทางชาตินิยม กระทั่งกลายเป็นกรอบความคิดซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่แท้จริงของคนไทยในฐานะพลเมืองอาเซียน ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาในระดับประชาชน ภาพการรับรู้เรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 ยังคงถูกบรรจุว่าเป็นความโหดร้ายทารุณของชาวพม่า จนกระทั่งบางส่วนรู้สึกรังเกียจและชิงชังแรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย ทั้งที่เป็นชุดความคิดที่ถูกสร้างขึ้นในยุคที่ประเทศสยามถูกคุกคามด้วยจักรวรรดินิยมตะวันตก จนต้องสร้างจุดศูนย์รวมและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปยุคอาณานิคมจบสิ้นไป ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายได้รับเอกราชครบถ้วน แต่ชุดความคิดดังกล่าวยังคงถูกตราตรึงและแทบจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ กลายเป็นประวัติศาสตร์บาดหมาง ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไปในที่สุด

นายวสิน กล่าวว่า คณาจารย์ผู้สอนรายวิชาวิถีอาเซียน กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ตระหนักดีว่าหนึ่งในพันธกิจหลักนอกจากจะสอนและบรรยายเนื้อหาของรายวิชาฯ แล้ว ยังจำเป็นจะต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาดังกล่าว รวมถึงนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่มีความสนใจ ตลอดจนบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่สนใจจะได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาตนเอง โดยร่วมกับคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาฯ จัดโครงการเข้าถึงเข้าใจอาเซียน ในปีการศึกษา 2558 โดยเน้นประเด็นไทย-อินโดนีเซีย และประสบความสำเร็จมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในปีการศึกษา 2559 คณะทำงานฯ เล็งเห็นถึงกรณีแรงงานจากประเทศเมียนมาที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ประมง เกษตรกรรม การค้า ตลอดจนธุรกิจการก่อสร้าง ใน จ.สงขลา จึงตระหนักว่านักศึกษาจำเป็นจะต้องมีภูมิรู้ที่ถูกต้อง และเห็นความสำคัญของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกับคนไทย จึงได้จัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านพม่าศึกษามาบรรยายพิเศษ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ บันเทิงไทยในพม่า และบันเทิงพม่าในไทย ซึ่งเป็นสื่อสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่ายที่สุด โดยสื่อละคร เช่น เพลิงพระนาง และภาพยนตร์ เป็นเสมือนการบรรจุชุดความคิดและสร้างกระแสการรับรู้ อันจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version