ซีเอ็นเอช ส่ง “เคส ไอเอช” บุกตลาดรถตัดอ้อยและอุปกรณ์ในไทยเต็มตัว

จันทร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๗:๐๒
มร.มาร์ค บรินน์ กรรมการผู้จัดการส่วนงานเครื่องจักรกลการเกษตรประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปากีสถานและญี่ปุ่น บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เปืดเผยว่า เคส ไอเอช (Case IH) หนึ่งในแบรนด์ของซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล จะเข้ามาดูแลการดำเนินธุรกิจ และจัดจำหน่ายรถตัดอ้อยและอุปกรณ์รถตัดอ้อยโดยตรง เพื่อความเป็นผู้นำรถตัดอ้อยของตลาดในประเทศไทยผ่านสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อที่จะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าในตลาดให้มากขึ้น รวมทั้งตอกย้ำว่าเป็นแบรนด์ผู้นำระดับโลกที่นำนวัตกรรมใหม่ๆมาพร้อมกับโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากกว่าความคาดหวังจากลูกค้า

พร้อมกันนี้ เคส ไอเอช ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์รถตัดอ้อย Austoft 8000 ซีรีส์ และ 8800 ซีรีส์ ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความน่าเชื่อถือสูงสุด เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการผลผลิตสูงและมาพร้อมกับประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรที่เป็นรูปแบบบริษัท และกลุ่มที่เป็นผู้รับเหมาได้ นอกจากนี้ยังนำเสนอ Austoft 4000 ซีรีส์สำหรับเกษตรกรชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งออกแบบมาอย่างพิเศษสำหรับการทำไร่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือสำหรับการเพาะปลูกพื้นที่ขนาดใหญ่โดยลดระยะห่างของแถว

นางดวงหทัย พงษาพันธ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางรถตัดอ้อยในระดับภูมิภาค ด้วยการจัดการด้านการฝึกอบรมที่ครอบคลุมสำหรับผู้ใช้งานและลูกค้า รวมทั้งการบริการหลังการขายทีดี ซึ่งเคส ไอเอช นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานน้ำตาลทั่วโลก พร้อมกับการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมทางเทคนิคที่ดีเยี่ยม และการให้บริการหลังการขายที่เป็นเลิศ เพื่อตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว

นอกจากนี้เคส ไอเอช ยังมีความเข้าใจดีว่าผู้ใช้งานรถตัดอ้อย เป็นปัจจัยสำคัญในการนำความสำเร็จมาสู่การเก็บเกี่ยวโดยใช้ระบบเครื่องจักรกล จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้งานทุกระดับ เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถและช่วยเหลือลูกค้าในการพัฒนาโดยการนำระบบเครื่องจักรกลมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการสร้างผลกำไรเช่นกัน

สำหรับการเข้ามาดำเนินธุรกิจของ เคส ไอเอช ในไทยจะเพิ่มความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และสามารถเข้าถึงศูนย์กระจายอะไหล่ ศูนย์บริการ การสนับสนุนทางเทคนิคและการฝึกอบรม รวมทั้งการเป็นพันธมิตรที่ดีกับลูกค้าในธุรกิจอ้อยและโรงงานน้ำตาล อีกทั้งยังมีโปรแกรมจำลองระบบการเก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้วิธีการใช้และปรับแต่งให้เข้ากับสมรรถนะของเครื่องจักรที่เหมาะสมก่อนที่จะเริ่มนำไปใช้งานในไร่ นอกจากนี้ระบบยังสามารถใช้งานเพื่อแสดงรายการงานการบำรุงรักษาประจำวัน และแสดงแนวทางแก้ไขปัญหาและการวินิจฉัยสาเหตุของปัญหาให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ช่างเทคนิคมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์สามารถทำงานด้วยความน่าเชื่อถือสูงสุดและลดเวลาการหยุดอุปกรณ์โดยไม่คาดหมายให้น้อยที่สุด

มร.เอมเร่ คาราซลี ผู้อำนวยการส่วนงานเครื่องจักรกลการเกษตรประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปากีสถานและญี่ปุ่น บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เครื่องจักรกลทางการเกษตรของบริษัทฯมีความแข็งแกร่งและมีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะในตลาดรถตัดอ้อย ซึ่งสามารถนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์เสริมที่หลากหลายเข้ากับความต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลได้เป็นอย่างดี เพื่อการบริการในระดับชั้นแนวหน้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้เกินกว่าความคาดหวังของลูกค้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ