ซึ่งในระยะแรกพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยมี บมจ.ปตท.สถาบันเครือข่ายภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมทุกแห่ง (ถ้าจำไม่ผิดมีอยู่ร่วม 10 สถาบัน) เครือข่ายผู้เชียวชาญภาคอุตสาหกรรม และผู้เกษียณจากภาคอุตสาหกรรม เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ร่วมโครงการ
รวมๆแล้วล้วนแต่เป็นกุนซือคนสำคัญในยุทธจักรอุตสาหกรรมทั้งสิ้น
คุณเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม ประธานกรรมการอุตสาหกรรมมูลนิธิ กล่าวว่าไว้อย่างน่าสนใจว่า MASCI Academyจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ในการสร้างมาตรฐานด้านการพัฒนาบุคคลากร ให้มีความเป็นเลิศ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การผนึกกำลังกับผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่างๆยิ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ ซึ่งการขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ เพื่อสร้างบุคลากรอุตสาหกรรม ยิ่งจะเป็นการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ความสำเร็จ จะทำให้ก้าวไปสู่ไทยแลนด์4.0 และอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างแท้จริง
สอดคล้องกับคุณปราโมท วิทยาสุข ประธานกรรมการ คณะกรรมการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอกล่าวว่า โครงการ MASCI Academy.จะเป็นศูนย์กลางในการยกระดับบุคลากรวิชาชีพด้านมาตรฐาน การบริหารจัดการและการตรวจสอบรับรอง ทั้งสถานประกอบการและผู้ให้บริการ โดยวางโครงการออกเป็น 3 ระยะ (60-64) ในปีนี้ตั้งเป้าที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยจะมีการยกระดับให้เกิดองค์ความรู้ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ ตลอดจนบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ วิทยากรหรือพี่เลี้ยงของผู้ประกอบการ การผนึกกำลังกับสถานประกอบการขนาดใหญ่ ผู้เชียวชาญที่เกษียณอายุจากภาคอุตสาหกรรม ยิ่งเป็นการเติมเต็มความรู้จากผู้รู้อย่างแท้จริง และในปีต่อๆไป เราจะขยายผลให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม คาดหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย ขับเคลื่อน SMEs ของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
คุณพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ขยายความเพิ่มเติมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกันว่า MASCI คือหน่วยงานด้านการรับรองมาตรฐาน หัวใจสำคัญคือการพัฒนามาตรฐานให้ดียิ่งขึ้น สำหรับการจัดตั้งMASCI Academy เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 มุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ/หรือ Health, Wellness & Bio-Med. โดยพัฒนาบุคลากรวิชาชีพด้านมาตรฐานการจัดการ ทั้งการฝึกอบรมภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบการSMEs/ในห่วงโซ่อุปทาน 2 กลุ่มหลัก คือ บุคลากรของสถานประกอบการระดับผู้บริหาร (Executive) และระดับผู้แทนฝ่ายบริหาร (Management Representative) รวม 150 คน และบุคลากรผู้ให้บริการที่จะเป็นวิทยากร (Trainer) และผู้ตรวจประเมิน (Auditor) รวม 20 คน
เป็นการจุดประกายครั้งสำคัญที่จะช่วยยกระดับให้ SMEs เกิดความเข้มแข็ง กลายเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย ภายได้แรงผลักดันของผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง เพราะการสร้างมาตรฐานคนภาคอุตสาหกรรม เท่ากับการสร้างแรงเหวี่ยงที่สำคัญให้แก่สังคม นำพาประเทศไทยก้าวไกลอย่างยั่งยืน