สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP ของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจากอุบัติเหตุจราจรในช่วง 7 วันอันตราย

พุธ ๒๖ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๒:๒๔
สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP ของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจากอุบัติเหตุจราจรในช่วง 7 วันอันตราย พบมีผู้ขอใช้บริการเกือบ 1 พันคน และเป็นผู้ป่วยเข้าเกณฑ์มากถึง 290 คน พร้อมเปิดสถิติ 5 จังหวัดที่มีการใช้บริการสูงสุด ขณะที่เลขา สพฉ. ย้ำประชาชน จำ 6 อาการฉุกเฉินให้ขึ้นใจ

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงการทำงานในช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายนที่ผ่านมา ว่า สถิติตัวเลขผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ถือว่าลดลงกว่าปี 2559 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่จำนวนการเกิดอุบัติเหตุยังคงสูง และมีผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในอาการที่เข้ารับการรักษามากที่สุดในช่วงสงกรานต์ คือ อุบัติเหตุจราจร

ทั้งนี้ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) หรือ UCEP Coordination Center ได้สรุปยอดรวมการใช้สิทธิ์ ตามนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มี สิทธิทุกที่" ในช่วง 7 วันอันตราย พบว่าสถิติผู้ขอใช้สิทธิในอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุจราจร มีทั้งสิ้น 744 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 290 ราย ซึ่งวันที่ประชาชนขอใช้สิทธิมากที่สุด คือ วันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงของการเดินทางและวันแรกของการเล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รองลงมาคือวันที่ 11 เม.ย. และ วันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางกลับมากที่สุด

ส่วนยอดรวมการใช้สิทธิ์ตลอด 17 วันที่ผ่านมาว่า พบว่ามีผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น 1,773 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 715 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 40.33 ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 471 ราย จากสิทธิประกันสังคม 106 ราย จากสิทธิข้าราชการ 115 ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก 23 ราย ขณะที่การใช้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีจำนวน 378 ราย ส่วนต่างจังหวัด 337 ราย โดย 5 จังหวัดที่มีการเข้ารับบริการมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร 378 ราย , ชลบุรี 38 ราย , พิษณุโลก 34 ราย , สมุทรปราการ 33 ราย , สมุทรสาคร 24 ราย และ นนทบุรี 19 ราย

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าวเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานตามสิทธิ UCEP ว่า ตั้งแต่เริ่มใช้นโยบายนี้มา เจ้าหน้าที่ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ไม่มีวันหยุด เพื่อให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤตที่เข้าข่าย คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ตนอยากให้ประชาชนจำให้แม่น ซึ่งหากประชาชนพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตาม 6 อาการ ให้รีบโทรสายด่วน 1669 เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมทันที และหากไม่เข้าใจ สามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่เบอร์ 02- 872- 1669 หรืออีเมล์[email protected] ซึ่งพร้อมในการให้บริการกับประชาชนตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ โบว์ เมลดา เปิดตัว สวยปัง ขายแปลก พร้อมประมูลตัวคณิกาน้องใหม่!!
๑๗:๐๐ เขตพระนครประสานเจ้าของพื้นที่-ผู้เช่าเร่งหาข้อยุติรื้อย้ายแผงค้าตลาดส่งเสริมการเกษตร
๑๗:๐๐ กทม. กำชับ รฟม. เข้มมาตรการลดผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ล้อมย้ายต้นไม้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
๑๗:๑๗ คุ้ย-ทวีวัฒน์ รุกหนักตลาดหนังสยองขวัญ-เปิด 13 สตูดิโอ ยิ่งใหญ่ ไลน์อัพหนังบิ๊กโปรเจค-ดึงดาราเอลิสต์ร่วมงาน 7 เรื่อง 7
๑๗:๐๗ Zelection Interior บริการอินทีเรียดีไซน์หรู จากเอสบี ดีไซน์สแควร์ ยกระดับงานตกแต่งภายในไปอีกขั้น ด้วยนวัตกรรมจากคอลเลกชันใหม่
๑๗:๔๔ SAM ยกระดับบริการ สายด่วน 1443 ตอบครบจบในเบอร์เดียว
๑๗:๕๒ บางกอกแอร์เวย์สชวนหอเจี๊ยะฉลองรับตรุษจีน เสิร์ฟเมนูมงคล ขนมหัวผักกาดกุ้ง ณ บลูริบบอนคลับเลานจ์ สนามบินสมุย
๑๗:๑๘ พิซซ่า ฮัท เสิร์ฟความฟิน Melts Fever ลดฟินเวอร์ เริ่มต้นเพียง 119 บาท
๑๗:๑๐ อิ่มอร่อยพร้อมรับโชคต้อนรับปี มะเส็ง ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับแมริออท บอนวอย ในประเทศไทย
๑๖:๐๓ บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจปัจจัยพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส ย้ำ! ลุยธุรกิจตามยุทธศาสตร์ LEO Go Green