กรีนพีซกระตุ้นอาเซียน เร่งจัดการขยะพลาสติกในมหาสมุทร

พุธ ๒๖ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๕:๓๓
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยื่นจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องประชาคมอาเซียน ระหว่างการประชุมสุดยอดของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่จะมีขึ้นในกรุงมะนิลา ให้เร่งกำหนดมาตรการฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหามลพิษที่เกิดจากขยะพลาสติกในภูมิภาค กรีนพีซยังได้นำถุงพลาสติกจำลองขนาดใหญ่ ไปมอบให้กับตัวแทนสถานทูตอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และ เวียดนาม และกระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ ด้วย

จดหมายเปิดผนึกระบุข้อเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียน ประกาศห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและมลพิษจากขยะที่กระทบต่อชีวิตสัตว์น้ำ กรีนพีซได้เรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนกำหนดนโยบายที่เอาจริงในการจัดการของเสีย เพื่อลดปริมาณของเสียที่ทิ้งลงสู่มหาสมุทรก่อนจะถูกพัดพาออกสู่ทะเลหลวง

พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หมายรวมถึง ถุง ขวด หลอด และอื่นๆ ที่โยนทิ้งหลังจากใช้แล้วแค่ครั้งเดียว

การสำรวจเมื่อปี 2558 มีชาติสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ที่เป็นแหล่งก่อมลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และ มาเลเซีย [1]

"การผลิตและการใช้พลาสติกในภูมิภาคอาเซียน จนเกิดมลพิษในมหาสมุทร เป็นประเด็นที่ไม่สามารถเพิกเฉยได้อีกต่อไป และสถานการณ์ขณะนี้อยู่เหนือระดับการเตือนภัยแล้ว เรากำลังเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนตระหนักถึงความเร่งด่วน และเราต้องการให้ผู้นำของเราจริงจังในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกด้วยความร่วมมือกันทั้งภูมิภาค เข้มงวดกับความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ และให้การศึกษาสาธารณะอย่างเป็นเรื่องเป็นราว" อาบิเกล อะกิล่า ผู้ประสานงานรณรงค์โครงการปลอดสารพิษ กรีนพีซฟิลิปปินส์กล่าว

ความล้มเหลวของระบบจัดการวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ขยะพลาสติกไปกองอยู่ในมหาสมุทร นอกเหนือจากปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบ มีความเข้าใจไม่เพียงพอถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากพฤติกรรมของเรา ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล รวมทั้งขาดแหล่งเงินทุน [2]

กรีนพีซยังเรียกร้องให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะภาคสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้พลาสติกเป็นหลัก ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการใช้พลาสติกได้มาจาก "ต้นทุนทางธรรมชาติ" ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 7.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี หากคิดเป็นมูลค่าทางการเงิน ต้นทุนทางธรรมชาติของระบบนิเวศทางทะเลจากขยะพลาสติก มีมูลค่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า มีบริษัทเพียงครึ่งหนึ่ง จาก 100 บริษัทที่ถูกประเมินด้วยข้อมูลเชิงปริมาณในการใช้พลาสติก กล่าวได้ว่า ภาคธุรกิจมีโอกาสมากมายที่จะแสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อมลพิษ และ นำเสนอวิธีการลดปริมาณการใช้พลาสติก โดยเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ [3]

"ถึงเวลาที่อาเซียต้องทำงานและเปิดเผยข้อมูลสำคัญทั้งหมด จากบริษัทต่างๆแห่งใดก็ตามที่ได้ประโยชน์จากการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง บริษัทต่างๆ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและหาหนทางในการเปลี่ยนผ่านพฤติกรรมของตัวเองไปสู่การเป็นบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทานที่สะอาดมากขึ้น มาตรการเหล่านี้จะเป็นก้าวที่สำคัญในการลดขยะพลาสติกจากต้นทาง" อะกิล่า กล่าวเพิ่มเติม

มหาสมุทรหลายแห่ง เต็มไปด้วยขยะพลาสติก 275 ล้านตัน ปริมาณขยะพลาสติกที่มีอยู่รวมไปสู่มหาสมุทร จากพื้นดินรวมเป็นขยะที่คาดว่าจะเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับภายในปี 2568 ทุกปี ขยะพลาสติกขนาด 8 ล้านเมตริกตัน จะลอยเข้าไปในมหาสมุทร เทียบได้กับถุงช้อปปิ้งห้าใบที่เต็มไปด้วยพลาสติกวางเรียงต่อกันตามชายหาดทั่วโลก [4]

"ปริมาณขยะพลาสติกในมหาสมุทรของเรามาถึงระดับวิกฤตแล้ว อาเซียนต้องแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อออกกฎระเบียบและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจ ชุมชน และ ผู้บริโภค ร่วมกันปฏิบัติ" อะกิล่า กล่าว

หมายเหตุ:

[1] Jambeck, Jenna R., Roland Geyer, Chris Wilcox, Theodore R. Siegler, Miriam Perryman, Anthony Andrady, Ramani Narayan, and Kara Lavender Law. "Plastic Waste Inputs from Land into the Ocean." http://science.sciencemag.org/content/sci/347/6223/768.full.pdf?ijkey=BXtBaPzbQgagE&keytype=ref&siteid=sci

[2] โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ "Marine Litter: A Global Challenge (April 2009). ดาวน์โหลดได้ที่:http://www.unep.org/pdf/unep_marine_litter-a_global_challenge.pdf.

[3] UNEP (2014) Valuing Plastics: The Business Case for Measuring, Managing and Disclosing Plastic Use in the Consumer Goods Industry. http://plasticdisclosure.org/assets/files/Valuing_Plastic/Valuing_Plastic-Executive_Summary.pdf

[4] สภาเศรษฐกิจโลก "The New Plastics Economy – Rethinking the future of plastics". Industry Agenda (2016).http://www3.weforum.org/docs/WEF_The_New_Plastics_Economy.pdf

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๔ แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๑๓:๕๐ GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๑๓:๕๗ KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๑๒:๐๐ แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ