กอช. เดินหน้า MOU ร่วมมือ สกช. เพิ่มโอกาสการออม 6 โซน ทั่ว กทม.

อังคาร ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๕๖
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. จัดพิธีลงนาม MOU โครงการส่งเสริมการออมอย่างยั่งยืนกับสมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร เพิ่มโอกาสเข้าถึงการออมของสมาชิกชุมชน ทั้ง 6 โซน ใน 50 เขต กทม.

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ร่วมกับ สมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร (สกช.) ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการส่งเสริมการออมอย่างยั่งยืนกับสมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเทพนม เมืองแมน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ, นายทฤษฎี ชุติวงษา ผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนการออมแห่งชาติ และ ดร.อนุสรณ์ รังสิโยธิน นายกสมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร, น.ส.ภัทราวดี คงวงศ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและประสานงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้

นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. กล่าวว่า ภารกิจสำคัญของ กอช. ในขณะนี้ ต้องเร่งผลักดันและสร้างสมาชิกการออมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการแห่งรัฐที่ส่งเสริมการมีหลักประกันยามชราภาพอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าสร้างภาคีเครือข่ายพันธมิตรองค์กร ในการขับเคลื่อนกลไกส่งเสริมการออมให้เข้าถึงประชาชนผู้เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งในครั้งนี้ กอช. ได้รับความร่วมมือจาก สกช. ภายใต้ "โครงการส่งเสริมการออมอย่างยั่งยืนกับสมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร" เพื่อให้สมาชิกในชุมชนภายใต้สมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร ทั้ง 6 โซน ใน 50 เขต กทม. มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงินเพื่อการชราภาพและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามกฎหมายของ กอช. การสร้างเครือข่ายผู้นำด้านการออมที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายการเงินระดับฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจของประชาชนอย่างเจาะลึกเข้าถึงในแต่ละชุมชน ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพ อันจะส่งผลต่อการขยายฐานจำนวนสมาชิก กอช. ให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้นต่อไป

ดร.อนุสรณ์ รังสิโยธิน นายกสมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร หรือ สกช. กล่าวว่า การจัดโครงการส่งเสริมการออมอย่างยั่งยืนกับสมาคมสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานครนี้ ถือเป็นโอกาสดีของสมาชิกในชุมชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงระบบการออมของภาครัฐ ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนากลุ่ม องค์กร และเครือข่ายองค์กรสวัสดิการชุมชนให้เป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน ตลอดจนเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง อันจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ โดย สกช. จะทำหน้าที่สร้างเครือข่ายให้กับ กอช. ผ่านสมาชิกในชุมชนเพื่อให้เกิดการสร้างวินัยการออมกับ กอช. อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการรณรงค์ให้สมัครสมาชิก กอช. อย่างทั่วถึง ทั้ง 6 โซน ใน 50 เขต กทม. อีกด้วย โดยคาดว่าภายในปี 2560 เขตกรุงเทพมหานครจะมีจำนวนผู้สมัครสมาชิก กอช. เพิ่มขึ้นอีกราว 100,000 คน

กอช. ยังคงเร่งผลักดันระบบการออมเพื่อการชราภาพให้สะดวกในการเข้าถึงและครอบคลุมในทุกพื้นที่ยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาคี เพื่อสร้างเครือข่ายการออม ที่จะมาช่วยกันสื่อสารประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนต่อไป

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนการออมแห่งชาติได้ที่ กอช. สายด่วนเงินออม 02-017-0789 ในวันและเวลาทำการ และติดต่อสมัครสมาชิกได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ... "กอช. ออมสบาย ได้บำนาญ" www.nsf.or.th

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร :

โทร. 02-017-0789 ต่อ 213, 224

Email : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ