ACAP ยืนยันปล่อยกู้ให้ “โอริออน ดีเวลลอปเม้นท์” โปร่งใส กระบวนการตรวจสอบชัดเจนตามกฎหมายทุกประการ

พฤหัส ๐๔ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๐๔
บมจ. เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป หรือ ACAP ย้ำการปล่อยสินเชื่อลูกค้ามีการเช็คข้อมูล และรายละเอียดเอการ สถานะอย่างเข้มงวดด้วยผู้ที่ได้มีการรับรองจาก ก.ล.ต. ทุกราย ด้าน ผู้บริหาร "สุกัญญา สุขเจริญไกรศรี" เผย กรณีที่มีบุคคลได้กล่าวอ้างการปล่อยกู้ให้กับ "โอริออน ดีเวลลอปเม้นท์" ไม่โปร่งใส ขอชี้แจงว่ากระบวนการพิจารณาให้กู้ของบริษัทดำเนินขึ้น ภายใต้ข้อกฎหมายการกู้ยืมเงิน การจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทุกอย่าง และบริษัทได้แจ้งให้ผู้กู้แก้ปัญหาภายในให้เรียบร้อยก่อน โดยสถานะปัจจุบันได้ระงับการให้กู้เงินก้อนที่เหลือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นางสาวสุกัญญา สุขเจริญไกรศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP เปิดเผยถึงกรณีที่มีบุคคลได้กล่าวอ้างถึงบริษัทฯ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อแบบไม่โปรงใส นั้น บริษัทฯ ขอยืนยันว่า การดำเนินการปล่อยกู้ของบริษัทนั้น บริษัทจะให้ลูกค้าส่งข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อดำเนินการตรวจสอบสถานะของลูกค้า โดยตรวจสอบยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลปัจจุบันของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทลูกค้า ข้อมูลของผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกค้า บริษัทฯ จะตรวจสอบความถูกต้องของหลักประกัน และให้ความสำคัญต่อหลักประกันว่าต้องมีมูลค่าคุ้มกับการให้วงเงินสินเชื่อ

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในรายชื่อที่ ก.ล.ต. รับรองเป็นผู้ทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าทุกราย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปล่อยวงเงินสินเชื่อ ซึ่งมั่นใจได้ว่าบริษัทดังกล่าวดำเนินการอย่างรอบคอบแน่นอน

"การอนุมัติวงเงินสินเชื่อของบริษัท จะพิจารณาโดยคณะกรรมการในรายละเอียด และอนุมัติวงเงินสินเชื่อตามระเบียบที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ เมื่อลูกค้าได้รับการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อแล้ว บริษัทฯ จะนัดหมายให้ลูกค้ามาลงนามในสัญญากู้เงิน, สัญญาค้ำประกัน, สัญญาจำนำหุ้น, และสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นหลักประกัน โดยการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินถูกต้องโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯ ถือเป็นขั้น ตอนและวิธีปฏิบัติในการปล่อยสินเชื่อกับลูกค้าทุกราย" นางสาวสุกัญญา กล่าว

ส่วน ในกรณีของ บริษัท โอริออน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ที่บริษัทฯ อนุมัติปล่อยสินเชื่อนั้น ได้มี นายเฑียร คล้ายมาลากุณ กรรมการผู้มีอำนาจทำสัญญากู้เงิน วงเงินสินเชื่อ 300 ล้านบาท โดยผู้กู้ได้รับเงินในวันทำสัญญา 115 ล้านบาท ส่วนเงินกู้ที่เหลือจะจ่ายตามงวดงานก่อสร้างในแต่ละงวด กำหนดชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดคืนแก่บริษัท และนายเฑียร คล้ายมาลากุณ ได้ทำสัญญาค้ำประกัน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 วงเงินค้ำประกัน 300 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นของ บริษัท โอริออน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ทำสัญญาจำนำหุ้น เพื่อค้ำประกันวงเงินตามสัญญากู้เงิน ประกอบกับ จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง เป็นโฉนดที่ดิน รวม 7 โฉนด รวมเนื้อที่ 2-0-43 ไร่ ซึ่งมีบริษัท โอริออน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเป็นที่ตั้ง โครงการคอนโดมิเนียมเพื่อเป็นหลักประกันในการกู้เงิน

โดยหลักประกันที่จดจำนองไว้ บริษัท ได้ทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559 มีมูลค่า ณ วันสำรวจ 234,680,000 บาท มูลค่าเมื่อแล้วเสร็จ 100% อยู่ที่ 1,278.23 ล้านบาท หลังจากทำสัญญากู้เงินแล้ว ผู้กู้ได้ทำการก่อสร้างคอนโดมิเนียม เบิกค่าก่อสร้างตามงวดงานจากบริษัทฯ รวม 1 งวด เป็นเงิน 7,490,000 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียม

ส่วนในกรณีที่กรรมการของบริษัท โอริออน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้แจ้งแก่บริษัทฯ ว่ามีกลุ่มบุคคลได้ปลอมแปลงเอกสารไปจดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้กู้ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ ซึ่งมิได้รู้เห็นและได้ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดพัทยา ขอให้ไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง คุ้มครองมิให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับผู้กู้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่ง อนุญาตตามที่ผู้กู้ยื่นคำร้องต่อศาลและอยู่ระหว่างการนำคำสั่ง ศาลไปดำเนินการจดทะเบียนต่อนายทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทฯ จึงได้แจ้งระงับการเบิกเงินส่วนงวดงานที่เหลือ และกำชับให้นายเฑียร คล้ายมาลากุณ ไปแก้ไขปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้กู้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัทฯ ปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทผู้กู้ และเป็นเรื่องภายในผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้กู้ที่บริษัทฯมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

"บริษัทฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า การทำสัญญากู้เงินและสัญญาอื่นๆ โดยเฉพาะการจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามกฎหมาย เป็นการทำนิติกรรมที่เกิดขึ้นและมีผลตามกฎหมายโดยเป็นการทำสัญญาก่อนจะมีการโต้แย้งระหว่างผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้กู้ และบริษัทฯ ในฐานะผู้ให้กู้ สามารถบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจากผู้กู้และผู้ค้ำประกัน รวมทั้งหลักประกัน คือ ที่ดินพร้อมคอนโดมิเนียม ซึ่งมีมูลค่ามากกว่ายอดหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย" นางสาวสุกัญญา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ