ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้คุณแม่ในจังหวัดหัวเมืองรองพร้อมทุ่มจ่ายสินค้าเพื่อลูก ปรับหลักการเลี้ยงลูกจากรุ่นสู่รุ่นผนวกความรู้ใหม่จากอินเตอร์เน็ต

พฤหัส ๐๔ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๒๓
ลงมาเองก็มีความน่าสนใจเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆรอบตัว วิถีชีวิต รวมถึงการเข้าถึงสื่อที่แตกต่างจากคนเมือง โดยในการทำวิจัยครั้งนี้เราเจาะจงศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่เรียกตัวเองว่า 'แม่' เนื่องจากเป็นผู้บริโภคที่มีความซับซ้อนและแตกต่างอย่างมีจุดร่วม ไม่เพียงแต่มีบทบาทหลักในการเลี้ยงดูลูก พวกเขายังต้องจัดการดูแลสิ่งต่างๆภายในบ้าน และนอกจากนี้พวกเขายังมักเป็นคนตัดสินใจหลักในการเลือกซื้อของเข้าบ้านอีกด้วย และด้วยอิทธิพลของอินเตอเน็ตที่เข้าไปสู่ชีวิตของผู้บริโภคในหัวเมืองรอง เราจึงอยากทำความเข้าใจว่าอินเตอเน็ตมาเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาในแง่ใดบ้าง

โดยสิ่งที่เราได้จากงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งได้ตามมิติดังนี้

1. มิติของความเป็นแม่ โลกเปลี่ยนไปแค่ไหนความเป็นแม่ก็ยังเป็น "แม่"

- ความสุขของคุณแม่ช่างเรียบง่าย แค่ลูกมีความสุช แม่ก็มีความสุข

- แม่ทุ่มเทสามารถเปลี่ยนตัวเองเพื่อลูก และ

- บทบาทของผู้หญิงกับความเป็นแม่ และความเป็นผู้นำเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นชัดมากขึ้น

2. เทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตคือสิ่งที่เปลี่ยนวิถีชีวิตแม่รุ่นใหม่ ในขณะที่ทีวีก็ยังสำคัญอยู่

- อินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะกับแม่มือใหม่ที่เวลาของเขาเปลี่ยนไปตั้งแต่มีลูก

- โทรทัศน์คือเพื่อนประจำบ้าน แต่คุณแม่จะเลือกดูเฉพาะรายการที่อยากดูเท่านั้น

3. มิติของการเลือกซื้อสินค้า

- จุดขายมีความสำคัญมากต่อผู้บริโภคกลุ่มแม่ในหัวเมืองรอง แม่ยังเชื่อในประสบการณ์ที่ได้รับจากการจับ สัมผัส อ่านฉลากสินค้า หรือแม้กระทั่งชิมและดม เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้ออยู่

ข้อคิดสำหรับนักการตลาดเมื่อต้องการสื่อสารผู้บริโภคกลุ่มนี้

1. โทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อสำคัญในการสร้างการรับรู้ต่อตราสินค้า (Brand Awareness) ในขณะที่หน้าจุดขายรวมไปถึงแพ็คเกจจิ้งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อมาก ดังนั้นในส่วนของการโฆษณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เพื่อดึงความสนใจยังเป็นส่วนสำคัญเพื่อเชิญชวนให้ไปที่จุดขาย

2. สำหรับสินค้าเด็ก คุณแม่ให้ความสนใจต่อคุณภาพและประสิทธิภาพ (Quality and Performance) ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในขณะที่กิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotion) อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณแม่หันมาซื้อสินค้ามากขึ้น แต่มีผลทำให้เกิดการซื้อเพื่อทดลองใช้

3. ในส่วนของความภักดีต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) ต่อสินค้าเกิดขึ้นได้จากตัวของสินค้าเอง โดยเฉพาะสินค้าสำหรับเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กต้องได้รับการรับรองจากจากคุณแม่ที่มีประสบการณ์ ส่วนสินค้าของเด็กที่โตขึ้นมา การยอมรับและชื่นชอบในผลิตภัณฑ์จากทั้งแม่และเด็กเองที่เป็นผู้ใช้งานตรงเป็นสิ่งที่แบรนด์ควรต้องตระหนัก เพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของคุณแม่

4. สำหรับการซื้อ-ขายทางอินเตอร์เน็ต หรือ e-Commerce นั้นยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นแต่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจมาก โดย ณ เวลาที่ทำการสำรวจและวิจัย ช่องทางนี้เป็นช่องทางสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ต้องการซื้อสินค้าที่หาไม่ได้จากในท้องถิ่น และเพื่อเป็นการสร้างความภูมิใจให้กับลูกที่ได้ใช้ของที่ไม่ได้มีในจังหวัดตน

5. ร้านสะดวกซื้อนับได้ว่าเป็นที่สำหรับความสนุกของเด็ก และนับเป็นร้านค้าที่หรูหราที่ไว้ซื้อของสำหรับคุณแม่ ในขณะที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตยังคงเป็นสถานที่สำหรับการไปฉลองในโอกาสพิเศษและซื้อของเข้าบ้านประจำเดือน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ