ไมโครชิพ เปิดตัว SAM R30 System in Package เพื่อตอบโจทย์การออกแบบอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สาย

จันทร์ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๑๐
SAM R30 คือการนำ MCU ที่ใช้พลังงานต่ำ ผนวกเข้ากับมาตรฐานการสื่อสารไร้สายแบบ 802.15.4 ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

SAM R30 System in Package (SiP) เป็น ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Single-chip RF ที่ถูกวางจำหน่ายโดย บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด [NASDAQ: MCHP] ในขณะนี้ โดยที่ SAM R30 SiP คือการผสมผสานกันระหว่าง ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้พลังงานต่ำเป็นพิเศษ กับ มาตรฐานการสื่อสารไร้สายแบบ 802.15.4 เพื่อยืดอายุการทำงานของแบตเตอรี่ ด้วยแพกเกจขนาด 5 มิลลิเมตร ที่แสดงถึงความยืดหยุ่นในการออกแบบและคุณภาพที่ผ่านการพิสูจน์แล้วในรูปแบบแพคเกจขนาดเล็ก จึงตอบโจทย์สำหรับโซลูชั่นบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ และการใช้งานในอุตสาหกรรม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SAM R30 SiP สามารถเข้าชมได้ที่ www.microchip.com/samr30

เนื่องด้วยความต้องการของระบบเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยแหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณสมบัติในการใช้พลังงานต่ำของ SAM 30R สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของพลังงาน พร้อมด้วยคุณสมบัติที่สามารถยืดอายุของแบตเตอรี่ให้ใช้งานอยู่ได้นานหลายปี โดย SiP รุ่นนี้พัฒนาขึ้นจาก SAM L21 MCU โดยอาศัยความสามารถของสถาปัตยกรรม Cortex(R) M0+ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม ARM® ที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในท้องตลาด ตัว SAM R30 ยังมีคุณสมบัติที่ใช้ไฟต่ำโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ Sleep/ Wake Mode ทำให้ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์กลับมาทำงานได้โดยการสื่อสารแบบอนุกรม หรือ General-Purpose Input/Output (GPIO) ในขณะที่ใช้พลังงานเพียง 500nA เท่านั้น

ด้วยความสามารถของ SAM R30 SiP ในการใช้งานในย่านความถี่ระหว่าง 769-935 MHz ส่งผลให้นักพัฒนามีความยืดหยุ่นในการออกแบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นแบบ Point-to-point แบบ Star topology หรือ แบบ Mesh network รวมถึงการช่วยเหลือจากไมโครชิพยังช่วยให้นักพัฒนาสามารถเริ่มพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นด้วย MiWi™ Point-to-Point/ Star network protocol stack ของไมโครชิพ ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และรวมถึงการใช้งานเครือข่ายแบบ Mesh Networking ที่จะตามมาทีหลังภายในปีนี้ สำหรับโหนดที่ติดตั้งร่วมกับ SiP สามารถวางห่างออกไปได้ไกลถึง 1 กิโลเมตร หรือ จะเพิ่มระยะเป็นสองเท่าเมื่อใช้งานเครือข่ายรูปแบบ Star topology และเมื่อมีการใช้งานเครือข่ายแบบ Mesh Networking ตัว SAM R30 สามารถส่งสัญญาณที่ครอบคลุมเป็นวงกว้างและคงที่ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับแสงไฟตามท้องถนน ฟาร์มกังหันลม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

"SAM R30 SiP นำเสนอทางเลือกใหม่ที่ยอดเยี่ยมในการผนวกเอา MCU และ โมดูลการสื่อสารไร้สาย ที่แยกส่วนกัน ไปสู่โซลูชั่นที่ทำงานครบวงจรด้วยชิพตัวเดียว เพื่อการออกแบบที่กะทัดรัดและคุ้มค่ามากขึ้น" สตีฟ คัลด์เวล รองประธานกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นไร้สายของไมโครชิพกล่าว "การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่เป็นที่ยอมรับในระดับอุตสาหกรรมเข้ากับการทำงานประสิทธิภาพสูงของ SAM L21 MCU นั้นก่อให้เกิดโซลูชั่นที่เชื่อถือได้และใช้พลังงงานต่ำเป็นพิเศษ"

การรองรับการพัฒนา

นักพัฒนาสามารถเริ่มพัฒนาต้นแบบได้ทันทีด้วยบอร์ด ATSAMR30-XPRO ซึ่งเป็นบอร์ดที่ใช้ในการพัฒนา ที่มาพร้อมกับ USB Interface เพื่อมอบความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ พร้อมทั้งรองรับการทำงานด้วย Atmel Studio 7 Software Development Kit (SDK) ที่ง่ายต่อการใช้งาน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือพัฒนาและการสนับสนุนการทำงาน สามารถเข้าชมได้ที่ www.microchip.com/DevelopmentTools/ProductDetails.aspx?PartNO=ATSAMR30-XPRO

การวางจำหน่าย

SAM R30 SiP พร้อมวางจำหน่ายในแพคเกจ QFN สองรูปแบบ โดยสามารถขอรับผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและสั่งซื้อในปริมาณมากได้แล้ววันนี้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตัวแทนขายหรือผู้แทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิพ สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุถึงในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่ microchipDIRECT ( www.microchipdirect.com/searchparts.aspx?q=samr30 ) ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ค้นหาผลิตภัณฑ์ง่ายขึ้น พร้อมรองรับการใช้งานผ่านมือถือ หรือติดต่อตัวแทนจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตของไมโครชิพ

แหล่งข้อมูลและภาพ

สามารถดูรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):

- ภาพกราฟิกชิป: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/34121000506/

- แผนภาพบล็อก: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/34121003026/

เกี่ยวกับไมโครชิพ เทคโนโลยี

บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์, วงจรรวมแบบผสมสัญญาณ, แอนะล็อก และ แฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และร่นระยะเวลาในการนำเสนอแอปพลิเคชันหลายพันรายการสู่ลูกค้าในตลาดทั่วโลก สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com

หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ Microchip และโลโก้ Microchip เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี อินคอร์ปอเรทเต็ด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ส่วน MiWi เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี อิงค์ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ สำหรับเครื่องหมายการค้าอื่นๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

Daphne Yuen (Microchip):

(+852) 2943 5115

(อีเมล: [email protected] )

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20170426/1834985-1

คำบรรยายภาพ - ไมโครชิพวางจำหน่าย SAM R30 SiP ผนวกการทำงานของ MCU กินไฟน้อย เข้ากับการสื่อสารวิทยุมาตรฐาน 802.15.4

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย