ที่สุดแห่งการประชันดนตรีแจ๊สในโครงการ “Thailand Jazz Competition 2017 ”

พฤหัส ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๕๒
ที่สุดแห่งการประชันดนตรีแจ๊สในโครงการ "Thailand Jazz Competition 2017 " กับการรวมสุดยอดขุนพลนักดนตรีแจ๊สทั่วประเทศ โดยวงดนตรี Atavistic จาก คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่โชว์ความสามารถคว้ารางวัลอันทรงเกียรติ ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเงินรางวัล 70,000 บาท

กลับมาอีกครั้งสำหรับโครงการ "Thailand Jazz Competition 2017" ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดโดย คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กับสุดยอดเวทีการแข่งขันดนตรีแจ๊สประเภทวง เวทีเดียวในประเทศไทย โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภท คือ Jazz Ensemble Competition เป็นแข่งขันประเภทวง ที่มีสมาชิกในวง 4-7 คน Jazz Vocal Competition เป็นการแข่งขันขับร้องเพลงแจ๊ส และ Jazz Big Band Competition คือการแข่งขันวงใหญ่ไม่เกิน 23 คน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ได้แสดงความสามารถการเล่นดนตรีแจ๊สในประเภทบิ๊กแบนด์ โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางดนตรีแจ๊สของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อีกทั้งยังเป็นการสร้างมาตรฐานดนตรีแจ๊สในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติ

อาจารย์ วุฒิชัย เลิศสถากิจ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ประธานดำเนินงาน โครงการ Thailand Jazz Competition กล่าวว่า โครงการ Thailand Jazz Competition 2017 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นกิจกรรมที่ทางคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความภาคภูมิใจในการจัดการประกวดดนตรีแจ๊สที่ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานกว่า 12 ปี โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาการเล่นดนตรีแจ๊สของคนไทย ซึ่งทางคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพื่อยกระดับความสามารถ ทางการบรรเลงดนตรีแจ๊สของเยาวชน และนักดนตรีชาวไทย ให้ทัดเทียมกับระดับสากล

สำหรับผลการแข่งขันประเภท Jazz Ensemble Competition รางวัลชนะเลิศได้แก่ วง Atavistic จาก คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรคว้ารางวัลอันทรงเกียรติ ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเงินรางวัล 70,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1คือวง Jigsaw Handsome and Friends จากวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนวง Spirit of Kritky จาก คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลพิเศษสำหรับการแข่งขันประเภทนี้คือ รางวัล Outstanding Musician คือรางวัลนักดนตรีที่มีความสามารถโดดเด่นจำนวน 5 รางวัล ซึ่งทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรและบัตรกำนัลซื้อเครื่องดนตรีมูลค่า รางวัลละ 10,000 บาท สนับสนุนโดย บริษัท ธีระมิวสิค จำกัด ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่

- Outstanding Musician (Drums) นายปรีดิพัทธ์ คำพันธ์

- Outstanding Musician (Bass) นายชนะพล พุทธเศวตศรี

- Outstanding Musician (Horns) นายชาติสยาม คีรีพัฒน์

- Outstanding Musician (Piano) นายกนกพงศ์ ตันติเสวี

- Outstanding Musician (Guitar) นายพีรชัช กี่ศิริ

ส่วนประเภทที่สอง Jazz Big Band Competition เป็นการแข่งขันวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยจะต้องเลือกบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง และ เพลงแจ๊ส 1เพลง โดยรางวัลชนะเลิศรับเงินรางวัล 100,000 บาทได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง,ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินสด 50,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนหอวังได้รับเงินรางวัลจำนวน 50,000 บาท และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินสด 20000 บาท ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตบางแก้วได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท,รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ได้แก่ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง

และประเภทสุดท้าย Jazz Vocal Competition เป็นการแข่งขันประเภทร้องเพลงแจ๊สและการแสดงความสามารถในการร้องสแคท (Scat Singing) ในบทเพลงแจ๊สจากเพลงบังคับเลือก โดยมีวงดนตรีรับเชิญร่วมบรรเลงประกอบ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวเมตตา วศินสิทธิสุข จากคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ,รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่นายพงษ์ภัส ร่วมวงศ์จากคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร,รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ด.ช.ทีปกร คำสุรีย์ จากโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

เยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขัน มองว่าทุกครั้งที่มีการแข่งขันเปรียบเสมือนการพัฒนาตัวเองไปด้วยพร้อมพร้อมกัน และถือว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย เพราะทุกคนจะต้องเตรียมตัว จะต้องฝึกซ้อม เพื่อทำให้ผลงานออกมาดีที่สุด การอยู่บนเวทีนอกจากจะต้องแสดงความสามารถในการร้องสแคทที่ใช้เทคนิคการด้นสด ยังจะต้องควบคุมความรู้สึกตื่นเต้นอีกด้วย คิดว่าการแข่งขันแบบนี้ถือเป็นกิจกรรมดีดีที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเล่น การฟังดนตรีแจ๊สของคนไทยให้สู่ระดับสากล

อาจารย์ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ กรรมการวิชาการด้านดนตรี ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า เยาวชนที่เข้าร่วมแข่งขันในโครงการ Thailand Jazz Competition โชว์ฝีมือได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งพัฒนาการทางด้านการแสดงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันนี้เยาวชนไทยหันมาสนใจเรียนดนตรีเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่มีความกล้าแสดงออก และมองหาเวทีที่จะแสดงความสามารถทางด้านดนตรีมากขึ้น อีกทั้งดนตรีมีส่วนช่วยในการพัฒนาอีคิวและไอคิว เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ ผ่อนคลายความตึงเครียด และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ปกครองให้การสนับสนุนบุตรหลานมาเรียนดนตรีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจัดการแข่งขันถือเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการเล่นดนตรีแจ๊สได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น การแข่งขันประเภท Jazz Big Band Competition เป็นการแข่งขันวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งการแข่งขันประเภทนี้จะทำให้มีผลต่อเนื่องแก่เยาวชนที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันยังถือเป็นช่องทางหนึ่งให้เยาวชนไทยเข้าหาดนตรีมากขึ้นอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ